![]() |
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณคณะผู้บริหารทุกท่านที่ให้ความสำคัญกับชุดพนักงานและขอแสดงความยินดีกับพนักงานมหาวิทยาลัยทุกท่านด้วยค่ะ
เขียนได้น่าอ่านจังค่ะ...ได้อรรถรส เห็นภาพ...และเห็นด้วย...เขียนบ่อยๆ นะคะจะตามอ่าน
แม่...หนาวจัง...ลูกขอไม่อาบน้ำได้มั้ย...
ได้ค่ะ...แต่ต้องแปรงฟัน...ล้างหน้า...ล้าง...นะคะลูก...
ประโยคนี้ถูกใจผมจังเลย เวลาหนาวๆ ผมบอกตัวเองประมาณนี้ทุกที
ขอบ่นนิดนึงได้มั้ยค่ะ ว่าทำไมตำแหน่งชำนาญการของนักวิจัยมันหินมากเลยค่ะ งานที่จะพิจารณามี 6 ชิ้น เป็นงานที่เป็นหัวหน้าโครงการ 4 ชิ้น และงานที่ทำคนเดียว 2 ชิ้น แล้วต้องตีพิมพ์ด้วยนะคะ นั่นหมายถึงว่าเราจะต้องเป็นชื่อแรกของทั้ง 6 ชิ้นค่ะ
เคยคุยกับเพื่อนๆ ที่เป็นอาจารย์ เค้าบอกว่ายากกว่าการขอ ผศ. ซะอีก
ตอนนี้เริ่มท้อแล้วหล่ะค่ะ ก็ไอตอนที่ตีพิมพ์นี่สิคะ ยากมากค่ะ กำลังคิดขอเปลี่ยนชื่อตำแหน่ง (ดีมั้ยค่ะ) ว่าจะหาเวลาว่างๆ แวะไปปรึกษาที่ กจ.ค่ะ
อารมณ์นี้เกิดขึ้นได้กับหลายๆคนค่ะ แต่ต้องหาอะไรมาทำแก้เครียดบ้าง เช่น ฟังเพลงที่เราชอบ ก็แก้เครียดได้นะคะ
ขอบคุณมากค่ะคุณอัมพร ที่ติดตามอ่านและให้กำลังใจตั้งแต่งานเขียนชิ้นแรก จนถึงปัจจุบัน...จำได้ว่าพี่เป็นคนแรกเลยค่ะที่ตอบมาให้กำลังใจ ตอนแรกคิดว่าจะไม่มีใครอ่าน เพราะเนื้อเรื่องขาดความบันเทิง
แล้วก็ตามคำเรียกร้องนะคะ วันนี้พยายามศึกษาวิธีการนำรูปลง แต่ขาดประสบการณ์หน่ะค่ะ รูปที่ลงเลยใหญ่มาก ทนดูไปหน่อยก็แล้วกันนะค่ะ (ข้อดีคือเห็นชัดมากเลยค่ะ)
คุณสารภีคะ จากแปลงที่ทดลองปลูก ผักบุ้งจีนและแตงกวา จะมีความกรอบมากกว่าที่ปลูกกับดินค่ะ อันนี้ไม่กล้ารับรองนะคะ ยังต้องการงานวิจัยค่ะ แต่จากการกินมาแล้ว แตงกวากรอบและเปลือกเหนียวกว่าปกติค่ะ ครั้งหน้าอาจเอารูปแตงกวาที่เก็บจากแปลงมาให้ยลโฉมกัน (ขอเวลาหาก่อนนะคะ...แบบว่างานยุ่งค่ะ)
สำหรับคุณ AsiO เอ่อ หนักใจมากเลยค่ะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์มาเป็นภาษาอังกฤษ แต่เข้าใจว่าคงอ่านภาษาไทยได้ (ถึงแสดงความคิดเห็นได้) ขอตอบเป็นภาษาไทยนะคะ เพื่อว่าผู้อ่านคนอื่นจะได้เข้าใจร่วมกัน (จริงๆ แล้วเป็นข้อแก้ตัวของคนที่อ่อนแอในภาษาหน่ะค่ะ) ข้อแรกคือ (คิดว่า) จุดคุ้มทุนในการผลิตแปลงผักในเชิงเศรษฐกิจไม่คุ้มค่ะ เนื่องจากการนำผักตบชวาขึ้นมาจากลำน้ำต้องใช้รถเฉพาะค่ะ (รูปร่างคล้ายรถแทรคเตอร์ตีนตะขาบแต่ลอยน้ำได้) ของกรมชลประทาน (ราคาสูงมากค่ะ) อีกอย่างผักตบชวามีน้ำหนักของน้ำในเส้นใยสูงมาก ไม่คุ้มค่าขนส่งอีกนั้นแหละค่ะ ทางเดียวที่จะคุ้มทุนก็คืออัดเป็นแปลงผักในที่ที่มันอยู่นั่นแหละค่ะดีแล้ว เมื่อมันย่อยสลายก็ง่ายในการนำขึ้นมาเพื่อทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ต่อไปค่ะ
ส่วนจะนำไปส่งเสริมในพื้นที่น้ำเค็ม อย่างที่คุณ AsiO บอกนั่นแหละค่ะว่าผักตบชวาเป็นพืชน้ำจืด ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในพื้นที่น้ำเค็ม สำหรับพืชน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยคงจะต้องหาผักที่ลอยน้ำได้ และมีปริมาณมากพอที่จะอัดเป็นแปลงผักได้ค่ะ ซึ่งในตอนนี้สำหรับประเทศไทย ยังไม่เห็นช่องทางนี้เลยค่ะ แต่ไม่แน่นะคะ อาจจะมีท่านอื่น ในพื้นที่อื่นมีประสบการณ์นวัตกรรมใหม่แบบนี้ค่ะ
ขอนิดนึงก่อนจบค่ะ เป็นเกร็ดภาษาอังกฤษเล็กๆ น้อยๆ ...ผักตบชวา ภาษาอังกฤษเรียกว่าWater Hyacinth (อ่านว่า วอเธอร์ ไฮยะซินธ์) ค่ะ
![]() |
![]() |
Congratulations! It is wonderful to see the results of the great work by researchers and planners at CORIN. This can truely benefit the local people in the area.
I am very curious and interested in the improvization of Water Hyacinth. I wonder if there has been any studies to use the highly fibrous structure of this plant in a "green material" applications. I am not an expert on this subject, but with some chemical improvements and lamination, the fiber of Water Hyacinth may be used to form panels and light beams similar to glulam. This may be an interesting topic to collaborate with the Department of Material Science and Department of Engineering. The green material and sustainable development is a fast growing subject now. Water Hyacinth may be a good source of materials.