ความเห็น: 0
ประยุกต์ใช้เครื่อง Spectrophotometer วัดแผ่นฟิล์ม
เมื่อหลายวันที่แล้ว นักศึกษา ป.โท สาขาเทคโนโลยีการประมงชาวเวียดนามเดินมาหา เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการวัดบางอย่างในแผ่นฟิล์มใสและแบบมีสีกับตนเอง (ไม่ได้ถ่ายภาพแผ่นฟิล์มไว้ จึงหาจากในอินเตอร์เน็ตมาประกอบความเข้าใจ)
หลังจากพูดคุยกันจนรู้เรื่อง (ภาษาอังกฤษ การวาดรูปและภาษามือ) ก็ได้ความว่า เค้าทำมีวิจัยส่วนหนึ่งที่ใช้แผ่นฟิล์มใสและสีกรองแสงแดดบนบ่อเลี้ยงสาหร่าย เพื่อวัดว่าแผ่นฟิล์มแบบใดจะทำให้สาหร่าย (algae) เติบโตได้ดีที่สุด
ประเด็นที่เค้าสนใจอย่างหนึ่งคือ แผ่นฟิล์มแต่ละสี จะกรองแสงในช่วงความยาวคลื่นใดได้บ้าง ตนเองจึงบอกว่า มาเลย ทดลองใช้กับเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ชนิด UV-Vis ดับเบิ้ลบีมที่ตนเองมี (เพราะรังสีในแสงพระอาทิตย์ที่ฉายมาถึงพื้นโลกมากกว่า 90% เป็นรังสี UV และ Visible) ซึ่งเราจะเปลี่ยนจากการใช้ Cell บรรจุของเหลว เป็นแผ่นฟิล์มในตำแหน่งเดิมนั่นเอง ทั้งนี้ให้ใช้อากาศเป็น blank เลย
เมื่อสรุปได้เช่นนั้น ก็ทำการวัดกัน โดยเริ่มจากวัดแบลงค์อากาศก่อน แล้วจึงตัดแผ่นฟิล์มกว้างประมาณ 1 cm สอดเข้าไปในตำแหน่ง Cell holder และใช้โหมด Scan wavelength วัดในช่วงที่สนใจออกมา (200-900 nm)
-ภาพแผ่นฟิล์มใส มือ และเครื่องสเปกโตรของเรา-
ผลที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ เมื่อทดลองวัดแผ่นใส พบว่าค่า UV ในช่วงต่ำกว่า 300 ถูกดูดกลืนแสงไว้เกือบทั้งหมด ซึ่งแม้ว่าจะเป็นทฤษฎีพื้นฐานที่นักวิทยาศาสตร์รู้ แต่ก็เพิ่งได้พิสูจน์และเห็นของจริงกับตาเป็นครั้งแรกนี่เอง ลองดูครับ ว่าแผ่นฟิล์มใส สามารถกรองแสงยูวีตัวร้ายได้มากขนาดไหน (แกน y เป็น % Transmittance)
เรื่องราวของแผ่นฟิล์มเหล่านี้ยังไม่จบ ค่อยมาว่ากันใหม่คราวหน้าครับ วันนี้ดึกแล้ว...
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « สรุปงานวันแรกของปี 2558 [5 Jan 2...
- ใหม่กว่า » ถ้าเจอสิ่งนี้...ถือว่ามาถูกทาง [...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้