ความเห็น: 0
การเตรียมตัวอย่างทางการเกษตรวิเคราะห์หาโพแทสเซียม
ธาตุโพแทสเซียม เป็นธาตุอาหารหลักของพืชพรรณไม้ จากบรรดาสามธาตุที่เราท่องมาแต่เด็ก คือ N P และ K
ดังนั้น จึงมีกระบวนการในการวิเคราะห์ทดสอบหาปริมาณโพแทสเซียมในตัวอย่างด้านการเกษตรส่งเข้ามาในแลบเราเป็นประจำ ทั้ง ดิน ใบพืช ผล ปุ๋ยจากธรรมชาติ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ หรือขี้เถ้า ก็ตาม
ซึ่งการวิเคราะห์หาปริมาณโพแทสเซียมมีเครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ คือ Atomic Absorption Spectrometer หรือถ้าจะพูดให้ถูก ก็ต้องหมายถึงวิธี Atomic Emission Spectroscopy เพราะธาตุโพแทสเซียมมีคุณสมบัติในการเปล่งแสง (Emission) ซึ่งมี spectrum ที่เหมาะสมในการวัด มากกว่าวิธี ดูดกลืนแสง (Absorption) นะครับ
แต่สิ่งที่แตกต่างกันในการวิเคราะห์ตัวอย่างแต่ละชนิด คือการสกัดหรือการเตรียมตัวอย่าง ให้ได้มาซึ่งโพแทสเซียมจากในตัวอย่างแต่ละประเภท
ซึ่งวิธีมาตรฐาน ก็มีแตกต่างกันไป ดังนี้ครับ
Wet digest ด้วยกรด เช่น H2SO4+H2O2 หรือ HCl หรือ HNO3 หรือ กรดผสม
Dry Ash แล้วละลายด้วยสารละลายกรด ซึ่งนิยมใช้ HNO3
สกัดด้วยสารละลาย Ammoniumacetate
สกัดด้วยน้ำร้อน 65 องศาเซลเซียส
(ทั้งนี้ ตัวอย่างใดที่มีตะกอน ก็อาจมีกระบวนการกรองเพิ่มเข้าไปด้วย จิงจิงนะ)
แล้วตัวอย่างแบบไหน ใช้วิธีเตรียมตัวอย่างไหน ใครรู้บ้างละเนี้ย
เราทิ้งคำถามท้ายบันทึกแบบน้าซะเลย อิอิ
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ทักษะความเป็นลูกน้องสูง
- ใหม่กว่า » วันว่างสบายๆ ที่ทำงาน - 1
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้