ความเห็น: 4
เมื่อวันนึงเราเป็นลูกพี่ (รุ่นพี่) และมีรุ่นน้อง
ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาหลัก ขอเริ่มบันทึกด้วยนิยามคำว่า ลูกพี่ ก่อน ตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๒ ในระบบออนไลน์ ให้ความหมายไว้ ดังนี้
ลูกพี่ (ปาก) น. คำที่ลูกน้องหรือลูกสมุนเรียกเพื่อยกย่องผู้ที่เป็นหัวหน้านักเลง เป็นต้น
ส่วนคำว่าลูกน้อง รู้สึกว่ามีความหมายไม่ค่อยสอดคล้องกับความเป็นลูกพี่เท่าไหร่ ดังนี้
ลูกน้อง (ปาก) น. บริวาร, ผู้อยู่ในปกครองหรือใต้บังคับบัญชา, ผู้ใกล้ชิดเป็นกำลังสำคัญในการทำงาน
โดยส่วนตัว ชอบความหมายหลังมากที่สุด คือ "ผู้ใกล้ชิดเป็นกำลังสำคัญในการทำงาน"
ส่วนคำว่า "รุ่นน้อง" ไม่มีนิยามความหมายให้ในพจนานุกรมออนไลน์ฉบับนี้ครับ แต่คิดว่า ตนเองน่าจะใช้คำว่า "รุ่นน้อง" ได้สนิทใจกว่าคำว่าลูกน้องครับ
กลับมาดูที่ตัวเราเองต่อ ว่าตนเองเพิ่งมีอายุงานครบ 8 ปี ไปไม่กี่วันมานี้ และวันนี้เราก็มีน้องใหม่เพิ่งเรียนจบเข้ามาร่วมงานด้วย แล้วหัวหน้ายกให้เป็นลูกน้องของเราซะนี่ ให้อยู่ในการดูแล เพื่อช่วยเหลือทำงานด้านต่างๆ ของศูนย์เครื่องมือกลาง คณะวทท. ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ
จะเห็นได้ว่า ผู้บริหารมอบหมายให้เรา "ดูแล" และให้น้อง "ช่วยเราทำงานเรื่องๆ ต่าง" ดังนั้น ในความรู้สึกของเรา น้องของเราคนนี้ อาจไม่ได้เป็น ลูกน้องหรือรุ่นน้องของเราเสียทีเดียว เพราะส่วนหนึ่งเค้าก็คือเพื่อนร่วมงานของเรามากกว่า แต่หากมองอีกด้านหนึ่ง เราก็รู้สึกอยากเป็นลูกพี่ของน้องเขาไปด้วยเพราะลูกพี่ กับ เพื่อนร่วมงาน มันอาจมีความต่างกันอยู่บ้างประมาณนึง
แล้วบทบาทของลูกพี่ที่ดีล่ะ มันเป็นยังไง...บันทึกนี้ขอบอกตามความคิดส่วนตัวแล้วกัน ถูกผิดตามหลักตรรกหรือไม่ หรือ ถูกใจใครหรือไม่อย่างไร ค่อยว่ากัน
- "ลูกพี่" ไม่ใช่ "หัวหน้า" ดังนั้นเราไม่ได้สั่งงาน แต่เราจะสอนงาน ขอความช่วยเหลือ และแบ่งเบางานกันทำมากกว่า โดยเราอาจร่วมคิดและตัดสินใจในการทำงานไปด้วยกัน
- "ลูกพี่" ต้องรับผิดแทน "รุ่นน้อง" ก่อนเสมอ เพราะเรามาก่อน หากมีข้อผิดพลาด คนผิดคนแรกคือเรา ที่ไม่ดูแลน้อง ไม่สนใจงานน้อง หรือ บางครั้งสิ่งที่น้องทำผิดอาจมาจากการทำงานแบบผิดๆ เดิมๆ ของเราก็เป็นได้
- เมื่องานได้รับความชอบ ก็ควรยกให้รุ่นน้องก่อน (ถ้าเป็นไปได้) ไม่จำเป็นว่าเราต้องเข้าไปเอาหน้าก่อนเสมอไป เพราะการที่รุ่นน้องทำงานได้ดี สำเร็จ ส่วนหนึ่งมันก็สะท้อนมาจากลูกพี่ดูแลดีอยู่แล้ว ที่สำคัญ เราก็ทำงานมานานแล้ว รู้ร้อนรู้หนาวมามาก ได้ดิบดีได้มาก็บ่อย (โดนด่าก็ไม่น้อย...อิอิ) ให้รุ่นน้องเค้าได้รับความสุขจากการทำงานมากๆ เค้าจะได้ภูมิใจในงาน และมีความตั้งใจในการทำงานชิ้นต่อๆ ไปด้วย "ทุกคน happy องค์กรพัฒนา ชีวามีสุข"
- ลูกพี่ต้องสามารถทำงานเล็กๆ น้อยๆ หรือ งานกระหยุมกระหยิมร่วมกับรุ่นน้อง หรือทำแทนได้ ไม่เกี่ยงว่าเราอยู่มานาน แล้วจะทำบางงานไม่ได้ เพราะงานบางครั้ง ก็ต้องช่วยกันทำ ถึงจะเสร็จเร็ว ไม่ใช่ว่าจะนั่งวางแผนอย่างเดียวแล้ว ให้รุ่นน้องปฏิบัติฝ่ายเดียว หรือบางครั้ง เมื่อน้องไปฝึกอบรมข้างนอก (ต้องส่งไปบ่อยๆ ในช่วงปีแรก) เราก็ต้องแบ่งเบางานของน้องมาช่วยทำด้วย ตามความเหมาะสม และความรับผิดชอบ ประหนึ่งว่า งานเล็กงานใหญ่ ฉันทำได้หมด
- ลูกพี่ต้องเสียสละเสมอ ไม่ว่าจะเรื่องความทุ่มเทในการทำงาน เวลาในการทำงาน เงินทอง หรือความสะดวกสบายของตนเอง ให้น้องเห็นเป็นแบบอย่างที่ดี แล้วทำตาม ไม่ใช่ว่าให้น้องเสียสละ ให้น้องขยันทำงาน แต่ตัวเองขี้เกียจ เพราะถือว่ามีคนมาช่วยงานแล้ว
- ลูกพี่ต้อง ส่งงานที่ยากและมีความท้าทายเพิ่มขึ้นเรื่อยไปให้ลูกน้องทำด้วย ตามเวลา ความเหมาะสม และศักยภาพของรุ่นน้อง เพื่อให้น้องได้มีการพัฒนาตนเอง มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น มีการวางแผนมากขึ้น เพื่อสักวันเค้าจะได้ขึ้นมาเป็นลูกพี่ได้อย่างเต็มตัว เต็มภาคภูมิ เหือนอย่างที่เราเป็น
เพราะความเป็นลูกพี่ ไม่ได้มีแค่ในนิยามที่เอ่ยไว้ตอนต้นบันทึก แต่มันมีความหมายลึกซึ้งเกินอธิบายให้ครบถ้วนได้ด้วยข้อความ หลายคนคงเข้าใจดี เพราะเป็นมาแล้ว เป็นมามานาน และทำตัวเป็นลูกพี่ที่ได้น่าชื่นชมอยู่แล้ว จึงขอจบบันทึกเรื่อง "เมื่อวันนึงเราเป็นลูกพี่ (รุ่นพี่) และมีรุ่นน้อง" สั้นๆ ไว้เพียงเท่านี้แล้วกัน
บันทึกนี้ อุทิศแด่ ลูกพี่ของผมทั้งหลายครับ....อิอิ
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ยุทธจักรกว้างใหญ่ อันดับของสำนัก...
- ใหม่กว่า » การหาปริมาณเกลือในบูดู
ความเห็น
ที่กล่าวมาก็คล้าย ๆกับการ coaching อยู่นะครับ และต้องตามด้วย follow up ด้วยครับ สอน บอก ตักเตือน แนะนำ ต่อไปครับ
เป็นพี่เลี้ยงนั้นเป็นอยู่แล้วครับ แต่ที่มากกว่าพี่เลี้ยง คือเราอาจต้องรับผิดชอบเค้าด้วย ดังนั้น เป็นทั้งพี่เลี้ยง และ ลูกพี่ไปด้วยกันแล้วกันครับ
แล้วก็ชอบคำว่า coaching ด้วยครับ จะนำไปใช้ = สอนบอก ตักเตือน แนะนำ
แค่ใครเรียกเราพี่ก็คงพอใจแล้วครับ ใช้มั้ยครับพี่ทดแทน
เอิ้ก เอิ้ก
"ใจสั่งมา"
02 สิงหาคม 2556 13:21
#91286
"พี่เลี้ยง"
"พี่"
คำนี้มีความหมายอยู่ในตัวเอง ในเชิง "ดูแล"
อิ...อิ...