ความเห็น: 9
ลุ่มน้ำย่อยอ่างศรีตรัง ?
ลุ่มน้ำในภาษาไทยตรงกับภาษาอังกฤษว่า Watershed, Drainage area, Catchment area, Hydrological unit, Regulator, และBasin เป็นต้น ลุ่มน้ำเป็นพื้นที่ซึ่งล้อมรอบด้วยเส้นสันปันน้ำ(Divide) และเป็นที่รวมน้ำจากเส้นสันปันน้ำไหลมาสู่จุดเดียวกันที่ปากลุ่มน้ำ (Outlet หรือ Mouth) ของลุ่มน้ำนั้น ๆ หากลุ่มน้ำใดไม่มีปากลุ่มน้ำ น้ำสามารถออกจากลุ่มน้ำได้โดยการระเหยกลับสู่บรรยากาศ ขอบเขตของลุ่มน้ำจะใหญ่หรือเล็ก หรือปากลุ่มน้ำอยู่ตรงตำแหน่งใดขึ้นอยู่กับผู้ทำการศึกษาจะกำหนด ซึ่งขึ้นอยู่กับงบประมาณ แรงงาน เวลา เป็นต้น แต่ต้องยึดเส้นสันปันน้ำ เป็นจุดแบ่งเขตเสมอ ในลุ่มน้ำมิใช่มีแต่ป่าไม้อย่างเดียว ซึ่งอาจเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เหมืองแร่ ทุ่งหญ้า ชุมชน เป็นต้น เรียกรวมกันว่าทรัพยากรของลุ่มน้ำ (เกษม จันทร์แก้ว, 2539) ดังนั้นทรัพยากรของลุ่มน้ำจึงหมายถึงสิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิต นามธรรม รูปธรรม เช่น พืช สัตว์ ดิน น้ำ อากาศ เมือง บ้าน ถนน กฎระเบียบ วัฒนธรรม เป็นต้น จึงสามารถแบ่งทรัพยากรในลุ่มน้ำออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ที่ไม่รู้จักหมดสิ้น และที่ทดแทนได้หรือเกิดขึ้นมาแทนใหม่ได้ โดยธรรมชาตินั้นทรัพยากรในลุ่มน้ำจะอยู่คละกันมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันตามสภาพที่ตั้ง กล่าวคือในธรรมชาตินั้นสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนด ภายใต้กฏเกณฑ์ของธรรมชาติที่สมดุล
จากทฤษฎีสู่ความเป็นจริงในพื้นที่
ผมทดลองกำหนดให้ปากลุ่มน้ำ (Outlet) ไว้ที่ตัวอาคารควบคุมน้ำ(เรียกชื่อถูกหรือเปล่าเนี่ย) เพราะว่าน้ำจากออกจากลุ่มน้ำทางนั้นครับ
ขอบเขตลุ่มน้ำย่อยอ่างศรีตรังมีลักษณะพิเศษนอกจากจะแบ่งตามเส้นสันปันน้ำ(Divide)แล้ว ยังมีบางส่วนที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง เช่น คูระบายน้ำ ถนน ช่องสะพาน เป็นต้น
แผนที่แสดงเส้นขอบเขตลุ่มน้ำย่อยอ่างศรีตรัง (เส้นสีฟ้าแบ่งตามเส้นสันปันน้ำ และเส้นสีเหลืองแบ่งตามสภาพความเป็นจริง)
บริเวณปากลุ่มน้ำ (Outlet หรือ Mouth)
ภาพรวมลุ่มน้ำย่อยอ่างศรีตรัง
ขอบเขตลุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นคุมคุมให้น้ำไหลไปตามคูระบายน้ำ ที่บริเวณแฟลต อ. 14
ขอบเขตลุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นคุมคุมให้น้ำไหลไปตามคูระบายน้ำ ที่บริเวณทางด้านทิศตะวันออกและตะวันตกของควนมดแดง
ขอบเขตลุ่มน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นบังคับให้น้ำไหลไปตามคูระบายน้ำและช่องสะพาน ออกนอกลุ่มน้ำ บริเวณหมู่บ้านเก่า เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังเนื่องจากบริเวณนี้มีถนนขวางกั้นทางน้ำมีท่อลอดขนาดเล็กลงสู่อ่างน้ำ แต่ถ้าช่วงปริมาณน้ำหลากมากไม่สามารถไหลลงอ่างน้ำได้ทัน
ทรัพยากรของลุ่มน้ำย่อยอ่างศรีตรัง เช่น พืช สัตว์ ดิน น้ำ ชุมชน และประเพณีวัฒนธรรม ฯลฯ
บันทึกอื่นๆ
- ใหม่กว่า » หยาดหยดเหงื่อจากขั้วใจ(ยาย) กลั่...
ความเห็น
![]() |
ขอบคุณนะค่ะสำหรับข้อมูลดีๆ
ช่วยได้เยอะเลยค่ะ
เพราะตอนนี้กำลังต้องการข้อมูลจากอ่างศรีตรังมากค่ะ
- ขอบคุณครับคุณ n_n ยังไม่มีเวลาเขียนต่อ
- ผมว่าน่าจะเก็บข้อมูลในทางวิทยาศาสตร์น๊ะ ไม่ทราบมีใครทำบ้าง เช่น คุณภาพน้ำ ปริมาณ ช่วงเวลาการไหลฯลฯ ตรงปากลุ่มน้ำย่อยที่สอง จะได้เป็นเกณฑ์ในการตอบคำถามต่างๆ ได้ ครับ
![]() |
อยากทราบว่าพื้นที่รับน้ำบริเวณควรมดแดงมีลุ่มน้ำย่อยบริเวณไหนบ้างครับ (อยากทราบข้อมูลเพื่อน้ำไปศึกษาการออกแบบรางระบายน้ำบริเวณควนมดแดง)
![]() |
27 กุมภาพันธ์ 2551 12:45
#22475
รูปอ่างน้ำสวยจัง