ความเห็น: 0
มหาวิทยาลัย Kagawa"Akkharawit Kanjana-Opas" 2
Visting Faculty of Agriculture, Kagawa University ตอนที่ 2:
โดย:
Akkharawit Kanjana-Opas
Kita-gun, Kagawa Prefecture, ประเทศญี่ปุ่น
ตอนที่แล้วผมเล่าถึงงานวิจัยที่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัย Kagawa เกี่ยวกับ Rare Sugar ที่ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักไปแพร่หลาย และเป็นการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 40 ปี ในส่วนของการทำวิจัยในสาขาซึ่งแทบจะไม่มีใครคิดแล้วว่าจะมีเรื่องอะไรใหม่ๆ ได้อีก เมื่อวานนี้เราก็ได้ฟังอีก 1 ตัวอย่างจาก Prof.Tamura ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านกลิ่นรส (Flavor) ท่านก็ได้เล่าถึงงานวิจัยของท่านเรื่องหนึ่งว่า การเป็นนักวิจัยในมหาวิทยาลัยเล็กๆ นั้นอาจจะไม่สามารถทำวิจัยแข่งขันกับบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ได้ เพราะทีมงานและทรัพยากรอาจจะมีไม่มากเท่า แต่มุมมองโจทย์วิจัยนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ท่านยกตัวอย่างว่า การวิจัยเกี่ยวกับกลิ่นรสของวานิลลา นั้นแทบจะรู้กันดีแล้วว่า ผลผลิตของฝักวานิลลาจาก มาดาร์กาสการ์นั้นมีราคาแพงที่สุดในโลกและเป็นที่ต้องการของตลาด ในขณะที่วานิลลาที่ผลิตจากแหล่งอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย จีน ศรีลังกา อินเดีย ตาฮิตี นั้นมีราคาไม่สูงเท่า เพราะตลาดเชื่อกันว่ากลิ่นรสของวานิลลาจากมาดาร์กัสการ์นั้นดีที่สุด Prof. Tamura จึงสนใจที่จะพิสูจน์ว่าวานิลลาจากแหล่งต่างๆนั้นจริงๆแล้วมีกลิ่นรสและการยอมรับของผู้บริโภคเป็นอย่างที่ตลาดเข้าใจจริงหรือไม่ และจะมีแนวทางในการพัฒนากลิ่นรสของวานิลลาจากแหล่งต่างๆ เพื่อการใช้งานที่เหมาะสมในแต่ละอุตสาหกรรมอาหารได้อย่างไร
ผลจาการการวิจัยของท่านก็พบว่า เอาเข้าจริง สารสกัดของวานิลลาจากมาดาร์กัสการ์ที่เข้มขันนั้น มีกลิ่นรสที่ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคด้วยซ้ำไป แต่
สารสกัดวานิลลาจากแหล่งอื่นที่มีราคาถูกกว่ากลับเป็นที่ยอมรับมากกว่าด้วยซ้ำ เอาล่ะสิ เกิดอะไรขึ้นครับ..ท่านก็ลองศึกษาในรายละเอียดต่อไปโดยการใช้เทคนิคการเจือจางสารสกัดวานิลลาเข้มข้นดังกล่าวลง และทดสอบใหม่อีกครั้งที่ความเข้มข้นต่างๆกัน จึงพบว่า ที่ความเข้นที่ลดลงเหลือประมาณ 100 ส่วนในล้านส่วนนั้น สารสกัดวานิลลาจากมาดาร์กัสการ์ถึงจะมีการยอมรับสูงสุดและมากกว่าสารสกัดวานิลลาจากสายพันธุ์และแหล่งปลูกอื่นๆ การค้นพบนี้สำคัญมากครับ เพราะว่าสารสกัดจากวานิลลาที่ได้จากธรรมชาตินั้นมีราคาแพงมาก หากรู้แล้ว่าสารสกัดจากวานิลลาสายพันธุ์ไหน ควรใช้ที่ระดับความเข้มข้นเท่าไร ก็จะเป็นการเลือกใช้งานได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของสารสกัดวานิลลาจากมาดาร์กัสการ์นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ที่ความเข้มข้นสูงซึ่งกลับจะทำให้กลิ่นรสไม่เป็นที่ต้องการ ควรจะใช้ที่ความเข้มข้นต่ำลงอีกมาก และที่ระดับความเข้มข้น 100 ส่วนในล้านส่วนนั้นเหมาะสมที่สุดและยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของต้นทุนการผลิตอีกด้วย
ตัวอย่างการเลือกโจทย์วิจัยที่มีมุมมองที่ต่างไปจากเดิม หรือ ไม่ติดกับความเชื่อเดิมๆที่สืบต่อกันมา อาจจะส่งผลให้เกิดการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเอาไปใช้ประโยชน์จริงๆ ทำให้นึกถึงพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงตรัสไว้ว่า อย่ามองที่ข้อจำกัดในการทำงาน ให้มองว่าจะทำอะไรให้ดีที่สุดได้ด้วยทรัพยากรที่เรามีอยู่.....
Other Posts By This Blogger
- Older « บันทึกการเดินทาง Akkharawit Kanj...
- Newer » มองลอดแว่นเมืองลอดช่องสาม
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้