ความเห็น: 0
วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม
ขอยืมชื่องานตลาดนัดอุทยานอาหาร ของตลาดเกษตร ม.อ. มาเป็นชื่อบันทึกนี้ ด้วยรำลึกถึงภาพความสมบูรณ์ของพืชผัก บริเวณข้างหอพัก และในมหาวิทยาลัยที่มีให้เก็บมาปรุงเป็นอาหารในยามที่ต้องการในช่วง เสาร์-อาทิตย์ที่ไม่ได้กลับบ้านกัน เมนูอาหารประกอบด้วย มะละกอผัดไข่ แกงส้มปลากระป๋องมะละกอ ส้มตำมะละกอมะละกอต้มจิ้มน้ำพริก สมัยนั้นยังไม่รู้จักชามะละกอ ผัดผักบุ้ง ผักบุ้งแกงส้มปลากระป๋อง ผักบุ้ง(สด-ลวก)จิ้มน้ำพริก ผักบุ้งต้มบะหมี่สำเร็จรูป+ไข่ มะม่วงน้ำปลาหวาน ยำมะม่วง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงจิ้มมันกุ้ง แกงส้มมะม่วงผักบุ้งปลากระป๋อง การเก็บมะม่วงจะเลือกเก็บเฉพาะลูกที่ได้ขนาดจะไม่เก็บเป็นช่อเพราะจะเก็บลูกเล็กไว้บนต้นสำหรับมื้อต่อไป หากลืมหรือนานวันเกินก็กลายเป็นมะม่วงสุก ได้อีกรสชาด ที่ไหนมีพริก ตำลึง ผักหวาน ลำเพ็ง เด็กหออย่างเรามีแผนที่พืชผักอยู่ในหัวว่าถึงเวลาจะไปมุมไหนของหอพัก หากเป็นตะลิงปริงก็หลังตึกชีวะ แต่เดินเหนื่อยหน่อยต้องวางแผนล่วงหน้า สมัยนั้นมีมอเตอร์ไซด์ประจำรุ่นอยู่หนึ่งคัน (หากเห็ดก็เห็นจะต้องไปเรือนเพาะเห็ดคณะทรัพย์มีเฉพาะช่วง อะ ฮ้า เคยลงเรียนตอนภาคฤดูร้อนค่ะ) มะละกอจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษในช่วงก่อนออกค่ายเพราะจะถูกเก็บไปเป็นพืชผักหลักสำหรับชาวค่าย ก็มะละกอผัดไข่ ช่วงหลังมักเป็นไชโบ๋ยผักไข่แทน
ช่วงหลังภาพเหล่านี้หายไปเนื่องจากการปรับปรุงทัศนีย์ภาพจะเห็นการปลูกไม้ประดับเป็นหลัก การขยายการก่อสร้างอาคารต่างๆ ภาพการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้ในเมืองและชนบท จนถึงวาระที่เราต้องมาพูดถึง ความมั่นคง ปลอดภัย และโภชนาการของอาหารจากผู้ผลิตถึงโต๊ะอาหาร รวมถึงกระบวนการเมตตาโบลิซึ่ม พลังงาน ก็เป็นการเรียนรู้ของคนแต่ละยุคในการดำเนินชิวิตที่ปลอดภัย
เราเคยได้รับการขนานนามว่าประเทศด้อยพัฒนา กำลังพัฒนา พัฒนาแล้ว จนได้บทสรุปว่าขาดสมดุลในการพัฒนา คือเสียดุลการค้ายิ่งพัฒนาต้องพึ่งพาผู้อื่น จนบางช่วงก็สรุปบทเรียนว่าต้องพึ่งพารวมถึงเรื่องความรู้และภูมิปัญญา หรือเป็นทาสทางปัญญา ซึ่งพิจารณาแล้วก็เจ็บปวดใช่ย่อยแต่ก็มีสิ่งดีหลายอย่างให้เราได้รู้จักและแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆในโลกกว้าง
ในรั้วสงขลานครินทร์ก็ช่วยให้เราได้เข้าถึงความจริงของชีวิต เพื่อที่จะจัดสรรตนเองสำหรับการทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสมกับความชอบและความถนัด ซึ่งจัดได้ว่าอาหารเป็นปัจจัยหลักของความเจ็บป่วยและตายในปัจจุบัน และต้องดูแลอย่างต่อเนื่อง ขณะดูแลรักษาก็เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย จนบางครั้งก็วินิจฉัยกันเองได้ว่า เบาหวานและคณะ ความดันโลหิตสูงและคณะ ฟอกไต ล้างตับ "กินอย่างไรก้็เป็นอย่างนั้น"
มาร่วมกันลดอร่อย ลดโรค ลดปริมาณ ลดโรค กินอาหารที่สด สะอาด ปลอดสารเคมี ปรุงแต่งให้น้อย กินให้หลากหลาย แต่บางคนบอกว่าเลือกไม่ได้ มีอะไรก็ต้องกินตามที่มี ก็จัดสรรชีวิตกันไปตามปัจจัยที่รู้ เลือกได้ และได้เลือก
ดังนั้น "การมีความรู้ตามความเป็นจริงขององค์ความรู้ที่ถูกต้อง ถูกตรง ในการแก้ไขปัญหาหรือปรับสมดุลสุขภาพ ณ ยุคนั้นๆ วันเวลานั้นๆบุคคลนั้นๆ ภาวะสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั้นๆ เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง แต่สิ่งที่มีความสำคัญยิ่งกว่าก็คือ การทำให้ได้ตามที่รู้ ไม่ใช่แค่รู้แล้วจะทำให้มีสุขภาพดีได้ ซึ่งการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ดีได้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่ต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จนเป็นปกติในวิถีชีวิตและนั้นคือความสำเร็จของการดูแลสุขภาพ" อ้างอิง หมอเขียว (ใจเพชร กล้าจน) ซึ่งการวิถีชีวิตสุขภาพต้องกล้าเผชิญ ตัดความต้องการที่ทำลายสุขภาพเสีย ด้วยใจที่มุ่งมั่น กล้าที่จะพิสูจน์ด้วยตนเอง "เราทำได้" ทำไปตลอดชีวิต
เป็นความสุขที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่สงขลานครินทร์อย่างไม่รู้จบ ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ อันเป็นเกลียวสว่านของการเรียนรู้ อย่างมีเพื่อนร่วมเรียนรู้ด้วยความเป็นกัลยามิตรและที่สำคัญเป็นแหล่งเรียนรู้และสร้างกระบวนการเรียนรู้สำหรับสังคมและร่วมสร้างคนสู่สังคมโดยเรียนรู้ร่วมกับสังคม "ชีวิตคือการเรียนรู้" Happy Univercity และไม่ว่าสังคมใดซึ่งคนในสงขลานครินทร์เป็นสมาชิกจะก่อเกิดเป็น Happy Community ไปด้วยได้ไหม? เป็นสังคมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีวิถีสุขภาพดีด้วย All for Health ความสุขที่สร้างได้
ขอบคุณผู้ร่วมจัดตลาดนัดอาหารที่ส่งเสริมวัฒนธรรมสุขภาพ รูปธรรมการเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่อยู่นอกห้องเรียน ที่เน้นการเรียนรู้มากกว่าการสอน ไม่ใช่เฉพาะนักศึกษาแต่สำหรับทุกคนที่ต้องการและเดินเข้ามา ภาพการศึกษาฟรีเกิดแล้วและเกิดมาตลอด เกิดในความจริงของชีวิตที่ในห้องบรรยายไม่สามารถจัดได้
ซตพ.
เจริญสุข เจริญธรรมค่ะ
ยาดมเอง
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « วิถีแห่งสุขภาพ วิถีแห่งวัฒนธรรม
- ใหม่กว่า » จิตวิญญาณผู้เรียน
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้