ความเห็น: 3
พัฒนาการ การทำ KM ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ภาค 1)
เมื่อ 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา เจอพี่ท่านนึงเดินมาทักและถามว่า แป้นมีเอกสารเกี่ยวกับการทำKM ในมหาลัยเราบ้างมั้ย แป้นรีบตอบว่ามี แต่ไม่แน่ใจว่าเก็บไว้ในรูปแบบใด นอกจากเอกสารบ้าง เลยบอกไปว่าจะเอาขึ้นแชร์ไว้ให้ แต่จนแล้วจนรอดก็เบี้ยวมาเกือบ 2 อาทิตย์ จนพี่เค้าคงลืม เพราะไม่เห็นทวงถาม แต่ด้วยความรู้สึกผิด เลยต้องพยายามเขียนบนแชร์ให้ได้ อย่างน้อยก็คิดว่าหลายๆท่านอาจจะอยากรู้เช่นกัน ว่า ม.อ.เริ่มทำKM จากที่ไหน
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มที่คณะแพทย์ศาสตร์ และเริ่มทำเป็นระบบในปี 2545 โดยอาศัยกลไก ของ “คณะกรรมการบริหารพัฒนาบุคลากรและจัดการความรู้” และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ปีงบประมาณ 2546 มหาวิทยาลัยได้จัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ.2546-2549 เป้าประสงค์ที่ 6 ระบุว่า “เป็นองค์กรที่ใช้หลัก ธรรมาภิบาล ควบคู่กับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ มีทรัพยากรบุคคลที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุวิสัยทัศน์แห่งความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ” ตามวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชียที่ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิต บริการวิชาการ และทำนุบำรุงวัฒนธรรม โดยมีการวิจัยเป็นฐาน"
ในปีงบประมาณ 2547 ก.พ.ร. ได้นำประเด็นการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร มาเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งในคำรับรองการปฏิบัติราชการ และกำหนดให้ มหาวิทยาลัยจัดผู้รับผิดชอบเรื่องระบบบริหารความรู้ในองค์กร โดยนับความสำเร็จในการจัดทำแผนพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กรในปี 2548 เป็นเงื่อนไขความสำเร็จ และมหาวิทยาลัยกำหนดผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ โดย “คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร” โดยใช้โมเดลปลาทูเป็นต้นแบบในการดำเนินกิจกรรมด้านการจัดการความรู้ในมหาวิทยาลัย
ซึ่ง รูปแบบของโมเดลปลาทูแบ่งเป็น 3 Parts คือ
• Knowledge Vision (KV)
• Knowledge Sharing (KS)
• Knowledge Assets (KA)
Knowledge Vision
ส่วนหัว ส่วนตา มหาวิทยาลัยมองว่ากำลังจะไปทางไหน ต้องตอบได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร” ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร ได้เสนอวิสัยทัศน์ความรู้ (Knowledge Vison) และคณะกรรมการอำนวยการประกันคุณภาพได้ให้ความเห็นชอบ ว่า “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จะใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการเร่งรัดทุกภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ”
Knowledge Sharing
ส่วนกลางลำตัว ส่วนที่เป็น “หัวใจ” ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน (Share & Learn) จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน มีวิธีการเรียนลัดการประยุกต์ ต่อยอดพัฒนา
Knowledge Assets
- ส่วนหาง สร้างคลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้ ICT “สะบัดหาง” สร้างพลังจาก CoPs
- คลังความรู้ เชื่อมโยงเครือข่าย สู่ คณะ หน่วยงาน สร้าง CoPs ฐานข้อมูลผู้มีความรู้ความชำนาญ CoP
- 19 CoP บน IT เวทีชุมชน ใน มอ. สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Internal Benchmarking Best Practice Site visit
และในวันที่ 6 สิงหาคม 2547 มหาวิทยาลัยจัดสัมมนาเรื่อง “การจัดการความรู้ในองค์กร” ให้กลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัย(กลุ่มที่ประชุมคณบดี) มี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด และ คุณบดินทร์ วิจารณ์ เป็นวิทยากรหลัก ได้มีการนำประเด็น การจัดการความรู้ พูดคุยในการสัมมนาครั้งนั้น และมีความเห็นว่าน่าจะทำการจัดการความรู้ประเด็น “การบริหารจัดการองค์กร”ในกลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยในลักษณะ ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) และได้มีการสร้างเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) ขึ้น โดยร่วมลงนามเป็นสมาชิกเครือข่าย ร่วมกับ สคส. เมื่อ 24 ธ.ค.2547 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล มีมหาวิทยาลัยสมาชิกทั้งหมด 5 สถาบัน ม.มหิดล ม.สงขลานครินทร์ ม.นเรศวร ม.ขอนแก่น ม.มหาสารคาม มีข้อตกลง ระหว่างเครือข่ายการจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย (UKM) ดังนี้
1. แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ ประสบการณ์ การจัดการความรู้ในสถาบันของตน
2. แสวงหา ศึกษาเรียนรู้เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้
3. ปรึกษาหารือและจัดทำแผนงาน โครงการศึกษาวิจัย
4. จัดสัมมนา ฝึกอบรม
5. จัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
6. ขยายเครือข่ายสู่มหาวิทยาลัยอื่นเพิ่มขึ้น
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ขอเรียนเชิญเข้าร่วมโครงการ “เวที...
- ใหม่กว่า » พัฒนาการ การทำ KM ในมหาวิทยาลัยส...
ความเห็น
รออ่านภาค ๒ โดยพลัน
เคยได้ยินชื่อ KM มานานเหมือนกัน ไม่ได้สนใจ มีน้องคนหนึ่งเขาเลือกเรียนวิชา KM ตอนนั้นก็หาๆ หนังสือ/ เอกสารเกี่ยวกับ KM ให้อยู่บ้าง
ได้รู้ว่าจุดเริ่มต้นการทำ KM ใน ม.อ. อยู่ใกล้ๆ นี่เอง
จะเห็นว่าโมเดลปลาทูนั้น ส่วนหัวเป็นผลที่อยากให้เกิด กำหนดจุด ที่จะไป โดยอาศัย "หัวใจ" เป็นเครื่องมือ ส่วนหางนั้น เป็นผลที่เกิดจาก ใจ เมื่อกำหนดตกลงของใจ กลายเป็น คลังความรู้ เครือข่ายฯ
คำถามว่า
แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน
กินน้ำบ่อโศก โยกไปก็โยกมา
แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน
กินน้ำบ่อทราย ย้ายไปก็ย้ายมา
แม่งูเอ๋ย กินตรงไหน
กินหัว
กินหาง
กินตรงกลาง
หรือกินตลอดตัว
รักดีกินถั่ว รักมั่วๆ กินถั่วแกล้มแห้ว
ออกเลแล้วล่าวเรา
ไปดีกว่า
เราเอง
22 กันยายน 2551 06:52
#35994
ขอบใจนะจ๊ะน้องแป้น นึกว่าหนูจะลืมซะแล้ว พี่จะใช้ข้อมูลนี้ทำวิทยานิพนธ์นะ ขอรายละเอียดทั้งหมดได้ไหมเอยเพราะรอไม่ได้แล้ว เดี๋ยวจะเลยกำหนดส่งหัวข้อวิทยานิพนธ์ของพี่ ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ