ความเห็น: 0
ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร
ธรรมาภิบาล (Good Governance): หลักในการปฏิบัติสำหรับการเป็นผู้บริหารที่ดี
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้พบกับอาจารย์ผู้ใหญ่ที่นับถือคนหนึ่ง อาจารย์เพิ่งทราบว่าแหม่มเป็นหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา
อ.ผู้ใหญ่: ผมขอแสดงความยินดีกับอ.แหม่มด้วยนะครับ
แหม่ม: ขอบคุณค่ะ
อ.ผู้ใหญ่: อ.แหม่มน่าจะเป็นหัวหน้าภาคโยธาที่เป็นผู้หญิงคนแรกของภาควิชาฯ นะ ผมคิดว่า
แหม่ม: ใช่แล้วค่ะ
อ.ผู้ใหญ่: อ.คิดว่าการบริหารต้องยึดหลักปฏิบัติอะไรในการเป็นผู้บริหารที่ดี
แหม่ม: สำหรับแหม่มเหรอค่ะ แหม่มยึดหลักของธรรมาภิบาลในการบริหารงานภาควิชาของเราค่ะ
อ.ผู้ใหญ่: ผมมั่นใจนะ ว่าอ.แหม่มจะบริหารภาควิชาได้อย่างราบรื่นแน่นอน
แหม่ม: (ยิ้มน้อยๆ) สาธุนะค๊ะอาจารย์
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หลังจากมีเวลาในวันหยุดจึงนำเอาเรื่องของธรรมาภิบาลมาเล่าสู่กันฟัง
ธรรมาภิบาล (Good governance) เป็นหลักการที่นำไปใช้บริหารงานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เราเองก็คงจะได้ยินอยู่บ่อยๆ สำหรับความหมายของคำว่า "ธรรมมาภิบาล" คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการควบคุมดูแลหน่วยงานหรือองค์กรให้เป็นไปในครรลองธรรม อาจแปลสั้นว่า "ธรรมาภิบาลคือการบริหารจัดการที่ดี"
หลักธรรมาภิบาลตามสำนักงาน ก.พ. ได้กำหนดไว้ประกอบด้วย 6 หลักการคือ
1. หลักคุณธรรม : การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม
2. หลักนิติธรรม : การออกกฎ ระเบียบข้อบังคับ และกติกาต่างๆ ให้มีความทันสมัย และเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสมาชิก
3. หลักความโปร่งใส : การทำงานที่มีความโปร่งใส มีระบบการตรวจสอบ และประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
4. หลักความมีส่วนร่วม : การทำให้สมาชิกมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญๆ ของหน่วยงาน
5. หลักความรับผิดชอบ : ผู้บริหารต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่การทำงานที่ตนรับผิดชอบอยู่และพร้อมที่จะปรับปรุงได้ทันท่วงที
6. หลักความคุ้มค่า : ผู้บริหารต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรอย่างจำกัด ดังนั้นการบริหารจัดการที่ดีจำเป็นต้องยึดหลักความประหยัดและความคุ้มค่า
โดยทุกหลักการมีจุดมุ่งหมายที่จะรักษา "ความสมดุล" ในมิติต่างๆ ไว้
แม้ว่าจะดำรงตำแหน่งผู้บริหารมาแล้วหลายระดับ แต่ก็ยังมิเคยได้มีโอกาสมาบริหารภาควิชาฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของตัวเอง หลังจากมานั่งบริหารได้ประมาณหนึ่งเดือนครึ่ง บอกได้เลยค่ะว่าไม่ง่าย เพราะบุคลากรในภาควิชาฯ ก็เหมือนพี่น้อง เหมือนคนในครอบครัว ทำให้การบริหารยิ่งต้องยึดหลักการธรรมาภิบาล โดยยึดหลักการของความถูกต้อง มากกว่าหลักการของการถูกใจ และจะพยายามบริหารงานให้ครบ 4 ปีตามวาระให้ได้ ทั้งนี้ส่วนสำคัญในการบริหารงานนอกจากธรรมาภิบาลของหัวหน้าภาคฯ แล้วก็ต้องมาจากความร่วมมือร่วมใจของเพื่อนร่วมภาควิชาฯ ทุกคนด้วย
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ยิ่งกว่าความประทับใจ กับความมีจิ...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้