ความเห็น: 28
รำตะบองชีวจิต กับกลุ่ม "ไหวตัวทัน" - ตอน 3 : รำตะบอง
รำตะบองชีวจิต
กับกลุ่ม "ไหวตัวทัน"
ตอน 3 : รำตะบอง(หน้าปัจจุบัน)
ตอน 4: ท่าบริหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
============================================================
ท่ารำตะบองต่อไปนี้ เป็นท่ารำตะบองของชีวจิต ซึ่งอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ประยุกต์มาจากศาสตร์ของการออกกำลังกายหลายแขนง อาทิ โดอิน ไทเก็ก ไอโซเมตริกซ์ โยคะ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของการออกกำลังที่สามารถไปถึงระดับสูงสุด(Peak) ซึ่งเป็นระดับที่โกร๊ธฮอร์โมนจะหลั่งออกมาในเวลารวดเร็ว ที่สำคัญ หากคุณออกกำลังกายด้วยท่ารำตะบองนี้ ร่างกายของคุณจะได้ทำสองอย่างไปพร้อม ๆ กัน คือออกกำลังกายและบริหารร่างกาย นั่นคือ ได้ใช้ทั้งกำลังเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ขณะเดียวกันก็ได้บริหารเพื่อการยืดหยุ่นและผ่อนคลายของกระดูก เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อด้วย
==========
☀ ท่าที่ 1 ☀ จูบสะดือ
==========
ยืนแยกขาห่างกันเท่าช่วงไหล่ นำตะบองขึ้นพาดบ่าทั้งสองข้าง ยกท่อนแขนส่วนปลายขึ้นตั้งฉากกับตะบอง โยกตัวพับเอวลงด้านหน้า ขึ้นลง 3 ครั้ง ค้างอยู่ในท่าก้มลงต่ำสุด กลิ้งตะบองขึ้นลงบริเวณต้นคอ และบ่า แนวตรงนับ 1-4 ด้านซ้ายนับ 5-7 ด้านขวานับ 8-10 แล้วกลับมายืนในท่าเดิม ทำซ้ำ 5 รอบ
ประโยชน์ ได้นวดกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง ส่วนคอ และกล้ามเนื้อยกกระดูกสะบัก ซึ่งอยู่บริเวณบ่าทั้งสองข้าง การโยกตัวลงด้านหน้าทำให้เกิดการยืดกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ทำให้สามารถก้มตัวได้มากขึ้น
==========
☀ ท่าที่ 2 ☀ ไหว้พระอาทิตย์
==========
ยืนแยกขาเล็กน้อย ยกตะบองขึ้นมาระดับไหล่ แขนเหยียดตรง ก้มตัวโดยพับส่วนเอวลงมาจนตะบองแตะพื้น โยกขึ้นลง 5 ครั้ง ค่อย ๆ วาดตะบองขึ้นจากพื้นช้า ๆ เสมือนการเคลื่อนของเข็มนาฬิกา จากตำแหน่ง 6 นาฬิกา ไปจนถึง 3 นาฬิกา หรือเท่าที่จะเอนลงไปได้ ทิ้งตัวค้างไว้นับ 1-10 แล้ววาดตะบองขึ้นช้า ๆ กลับมายืนในท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 5 ครั้ง
ประโยชน์ ยืดกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูกสันหลังทั้งในท่าก้มและท่าแอ่นหลังเต็มที่ การบริหารท่านี้เป็นประจำทำให้กระดูกสันหลังมีความคล่องตัวและป้องกันแคลเซี่ยมพอกที่ข้อต่อกระดูกสันหลัง
ข้อควรระวัง ในผู้สูงอายุ การแอ่นตัวไปด้านหลังมากเกินไปอาจทำให้การทรงตัวเสียสมดุลล้มไปข้างหลัง หรือเกิดอาการหน้ามืดได้(Teddy ไม่หน้ามืด ไม่ใช่เพราะแข็งแรงอะไรหรอก แต่เพราะหลังแข็งโก๊กแอ่นได้ฮี๊ดเดียวนิ อิ ๆ)
==========
☀ ท่าที่ 3 ☀ ถ้ำผาปล่อง
==========
ยืนแยกขาห่างกันเท่าช่วงไหล่ หงายมือจับตะบองไว้ด้านหลัง พับเอวลงด้านหน้าให้ลำตัวขนานกับพื้น เงยหน้าขึ้นมองตรงไปข้างหน้า ยกตะบองขึ้นด้านหลังให้มากที่สุด โดยให้แขนตึงแล้วลดตะบองลงต่ำสุด เหวี่ยงตะบองขึ้นสุดแขน ทำซ้ำ 10 ครั้ง กลับมายืนในท่าเริ่มต้น ทำ 5 รอบ
ประโยชน์ สร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อที่ใช้ในการยกไหล่ขึ้นด้านหลัง และกล้ามเนื้อท้องแขน(เหยียดข้อศอก) ช่วยให้กล้ามเนื้อท้องแขนกระชับ รวมทั้งได้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหัวไหล่ กล้ามเนื้อหลัง และต้นขาด้านหลัง
==========
☀ ท่าที่ 4 ☀ 180 องศา
==========
ยืนแยกขาเพียงเล็กน้อย(เท้าห่างกันประมาณ 1 คืบ) พาดตะบองไว้บนบ่าทั้งสองข้าง กางแขนเป็นรูปตัว T หมุนปลายตะบองด้านซ้ายไปทางขวา บิดลำตัวไปให้มากที่สุด ค้างไว้ 3 วินาที(บิดเฉพาะส่วนเอว โดยขา และสะโพกตรึงอยู่กับที่) ทำซ้ำสลับข้างเหมือนเดิม 15 ครั้ง จากนั้นหมุนสลับต่อเนื่องนับต่อจนครบ 50 ครั้ง
ประโยชน์ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและข้อต่อกระดูกสันหลัง ช่วยให้บิดตัวได้มากขึ้น
==========
☀ ท่าที่ 5 ☀ แหงนดูดาว
==========
ยืนแยกขาเล็กน้อย ตะบองพาดบ่า กางแขนเป็นรูปตัว T กดปลายตะบองด้านซ้ายลงให้แนบต้นขา โดยให้ลำตัวตรง ตามองปลายตะบองด้านบน(ดูดาว) ค้างไว้ 3 วินาที ทำซ้ำสลับข้างเหมือนเดิม 15 ครั้ง จากนั้นทำสลับต่อเนื่อง นับต่อจนครบ 50 ครั้ง
ประโยชน์ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้านข้างลำตัวและเพิ่ม การเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังส่วนบนในแนวซ้าย–ขวา
==========
☀ ท่าที่ 6 ☀ สีลม
==========
ยืนแยกขาให้ปลายเท้าห่างมากกว่าช่วงไหล่พอประมาณ ตะบองพาดบ่า กางแขนเป็นรูปตัว T โยกตัว พับเอวลงด้านหน้าขึ้นลง 5 ครั้ง ค้างอยู่ในท่าลำตัวขนานกับพื้น ตามองที่จุดคงที่บนพื้นดิน หมุนตะบองให้ปลายตะบองด้านซ้ายไขว้ไปแตะหัวแม่เท้าขวา โดยให้ศีรษะและลำตัวอยู่กับที่เสมือนแกนของกังหัน ค้างไว้ 3 วินาที ทำซ้ำสลับข้าง 15 ครั้ง จากนั้นทำสลับต่อเนื่อง นับต่อจนครบ 50 ครั้ง
ประโยชน์ เพิ่มการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ส่วนบนในการหมุนซ้าย–ขวา และได้ยืดกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหลังในแนวเฉียง
==========
☀ ท่าที่ 7 ☀ 360 องศา
==========
ยืนเท้าห่างกันเท่าช่วงไหล่ ยกตะบองขึ้นมาระดับไหล่ แขนเหยียดตรง โน้มตัวลงด้านหน้าโดยพับส่วนเอวลงมาจนตะบองแตะพื้น(แขนตึง–ขาตึงตลอด แต่ไม่เกร็งกล้ามเนื้อ) โยกตัว 5 ครั้ง วาดตะบองเรี่ยพื้นไปด้านซ้าย บิดเอว หมุนตะบองไปอยู่ด้านหลัง แล้วค่อย ๆ ยกตะบองขึ้นด้านข้าง เคลื่อนมาตรงกลาง แอ่นลำตัวไปด้านหลังให้มากที่สุด บิดมาด้านขวา พร้อมกับวาดตะบองเรี่ยพื้นกลับมาด้านหน้า โยก 5 ครั้ง แล้วหมุนย้อนกลับไปด้านซ้ายเหมือนเดิม กลับมาอยู่ในท่าเริ่มต้น ทำซ้ำ 5 รอบ
ประโยชน์ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลายมัด คือกล้ามเนื้อ ต้นขาด้านหลังในแนวตรงและเฉียง กล้ามเนื้อเหยียด ข้อสะโพก กล้ามเนื้อหลังในแนวตรงและแนวเฉียง กล้ามเนื้อหน้าท้อง และกล้ามเนื้อที่ใช้งอข้อสะโพก รวมทั้งการเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทั้งก้ม แอ่น และบิดตัว
==========
☀ ท่าที่ 8 ☀ เตะตรง-เท้าเหยียด
==========
ยกตะบองขึ้นสูงระดับไหล่หรือสูงกว่านั้น ก้าวเท้าซ้ายไปด้านหลัง ย่อเข่าขวา ขย่มเพื่อให้ได้แรงเหวี่ยง เตะเท้าซ้ายตรงไปข้างหน้าให้สูงที่สุด โดยให้ปลายเท้าเหยียด ลดเท้าซ้ายลงสปริงตัวสลับขา เตะเท้าขวาเหมือนเดิม ทำซ้ำ 50 ครั้ง
==========
☀ ท่าที่ 9 ☀ เตะตรง-เท้าตั้งฉาก
==========
เตะเหมือนท่าที่ 8 แต่ให้ปลายเท้าตั้งฉากขึ้นมาขณะเตะ
==========
☀ ท่าที่ 10 ☀ เตะวนจากนอกเ้ข้าใน-เท้าเหยียด
==========
เตะวนเป็นวงกว้าง และขึ้นสูงสุดจากนอกเข้าใน ปลายเท้าเหยียด
==========
☀ ท่าที่ 11 ☀ เตะวนจากในออกนอก-เท้าตั้งฉาก
==========
เตะวนเป็นวงกว้างจากในออกนอก ให้ปลายเท้าตั้งฉาก
ประโยชน์ ของท่าที่ 8–11
เพิ่มพลังแอโรบิก(หัวใจ หลอดเลือด และปอด) เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้องอข้อสะโพก กล้ามเนื้อ หน้าท้องส่วนล่าง กล้ามเนื้อน่อง รวมทั้งการยืดเหยียด กล้ามเนื้อสะโพกด้านหลัง เพิ่มความแข็งแรงในการ กระดกข้อเท้า และการหุบ-กาง ของข้อสะโพก
==========
☀ ท่าที่ 12 ☀ ท่าแถม
==========
ใช้แขนคล้องตะบองพาดไว้ด้านหลังที่ระดับเอว มือประสานกันไว้ด้านหน้า เขย่ง–ย่อ–สปริงตัวขึ้นลงช้า ๆ 3 ครั้ง จากนั้นลดส้นเท้าลงบนพื้น(ขณะที่ เขย่ง–ย่อ–สปริงตัว ให้ยืนอยู่บนปลายเท้า) เตรียมพร้อมที่จะ เขย่ง–ย่อ–สปริงตัวต่อไป ทำซ้ำ 50 ครั้ง
ประโยชน์ สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดเข่า กล้ามเนื้อหน้าขา และกล้ามเนื้อน่อง ซึ่งมีความสำคัญมากในการทรงตัวของผู้สูงอายุ ช่วยลดโอกาสของการหกล้ม กระดูกสะโพกหัก หรือกระดูกสันหลังยุบ
ข้อควรระวัง ในผู้ที่มีปัญหาปวดข้อเข่าหรือลูกสะบ้า ให้ย่อลงเพียงเล็กน้อย โดยข้อเข่างอไม่เกิน 45 องศา สำหรับผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ ให้ยืนเต็มฝ่าเท้า
================
☀ ขอขอบพระคุณ ☀
================
คุณอาหมอสุรินทร์ - นพ.สุรินทร์ จุติดำรงค์พันธ์
คุณอาหมอแพต - ทพญ.ณัฏฐา จุติดำรงค์พันธ์
ลุงขุม - สุขุม นุรักษ์
==========================
☀ การ์ตูนประกอบท่ารำตะบอง ☀
==========================
ลุงขุม (พ่อของ Teddy)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « รำตะบองชีวจิต กับกลุ่ม "ไหวตัวทั...
- ใหม่กว่า » รำตะบองชีวจิต กับกลุ่ม "ไหวตัวทั...
ความเห็น
ทำยังไงถึงจะได้หนังสือคะ
หรือว่าจะต้องตื่นไปรำกระบองซักมื้อนึงก่อน ถึงจะรับหนังสือจากมือลุงขุมด้วยตัวเอง
ภาพสวย ลายเส้นงาม ดูแล้วเข้าใจง่าย ทำตามได้ไม่ยาก
mandala : หนังสือเดี๋ยวน้องจัดให้ค่ะพี่อาร์ แต่ถ้าให้เล่นได้ชัวร์ไม่ผิดพลาด ลองไปร่วมรำกะกลุ่มไหวตัวทันดูซักทีก็ดีค่ะ หรือถ้าไม่สะดวก รวมกลุ่มกันแล้วให้ต๊ะไปสาธิตก็ได้ ต่อจากนั้นกลับไปทำเอง ดูภาพตามในหนังสือสบายเลยค่ะ
ปล. หนังสืออาจทำเองโดย ก๊อปเนื้อหาจากตอนที่ 2 3 4 แล้วเอาไปใส่ word พิมพ์ออกมาก็ได้ค่ะ จะมีครบเหมือนในหนังสือเลยขอรับ
![]() |
สุดยอดคร้าบบ.บรรยายและภาพประกอบละเอียดแลเห็นภาพ...เคยยได้ยินเรื่องนี้เหมือนกัลลคร้าบบ..แต่ยังไม่เคยยลอง....(ไว้น้องหายขี้เกียจ..น้องจาขอตามไปลองของนะคร้าบบ)
![]() |
โอ้โห..มี update มาอีกแล้ว ผมสงสัยว่าท่าที่ 1 กับ 2 เนี่ย เวลาทำติดพุงหรือเปล่าครับ ^^
kind : ดีมากน้อง ช่วยกันทำมาหากินหน่อย ฮาาา โดนบังคับให้มาเม้นท์
Kapom : อ.น้องตี้ ถามได้ว่าติดพุงรึเปล่า เค้าเป็นผู้หญิงนะ ... มีเหรอที่จะไม่ติด (-__- " ) หง่าาา
เนาวรัตน์ สอิด : ได้เลยค่ะพี่ลี่ รอรับได้เลยคับผม (^_ ^ )
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
อยากได้ซีดีรำตะบองเอาไว้สอนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันสูงและผู้สูงอายุ ค่ะ ช่วยแนะนำด้วย
![]() |
ได้อ่านหนังสือและทดลองทำแล้วรู้สึกดีมากเลย ตอนนี้กำลังให้นักเรียนที่สอนฝึกรำด้วยเพราะนอกจากจะเป็นการผ่อนคลายแล้ว ยังช่วยให้นักเรียนมีบุคลิกภาพที่ดีด้วย
![]() |
ความยาวตะบองเท่าไรค่ะแล้วใช้ท่อpvcหรือไม้ไผ่ดีคะ
@kannika : ดีจังเลยค่ะคุณครู
@นภา : จะใช้ท่อ PVC หรือไม้ไผ่ก็ได้ค่ะ แล้วแต่หาได้สะดวก
ถ้าเป็นไม้ไผ่หาที่ขนาดพอเหมาะ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป ขัดให้เรียบ ๆ อย่าให้มีเสี้ยน
ถ้าเป็นท่อ PVC ขนาดกำลังเหมาะคือ หน้าตัด 1 นิ้ว ความหนาขนาดกลาง
ความยาวเท่ากับความยาวแขนกางออกแล้วสามารถกำปลายกระบองได้ทั้งสองข้างค่ะ
หาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้าง ซื้อท่อ PVC สีฟ้า ๆ กางแขนแล้วให้เค้าตัดให้ แค่นี้ก็เรียบร้อยค่ะ ราคาไม่เกิน 40 บาท
![]() |
อายุ 65 ปี หมอบอกว่าเป็นโรคกระดูกพรุนปวดหลังปวดขา บริหารเเบบท่ารำตะบองจะดีมั้ย
ตอบคุณน้า ploy (ขอเรียกคุณน้านะคะ) : ขอออกตัวก่อน Teddy เป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มรำตะบอง ไหวตัวทัน และไม่ได้เป็นหมอ หรือมีความรู้ทางนี้โดยตรง แล้วก็ห่างหายไปจากการออกกำลังไปนาน แต่ขอตอบจากประสบการณ์ และสิ่งที่ได้คุย ๆ กันในกลุ่มนะคะ ขอยกตัวอย่างแล้วกันค่ะ
☀ ลุงขุม พ่อของ Teddy อายุ 69 ย่าง 70 แล้วค่ะ มีปัญหาสุขภาพด้านหัวใจ ตอนนี้เป็นผู้นำกลุ่ม ไหวตัวทัน ตอนแรก ๆ ก็ทำ่ท่าเตะได้ไม่ครบ 200 ครั้ง เพราะใช้แรงแล้วจะแน่นหน้าอก แต่ออกกำลังสม่ำเสมอ รำตะบองทุกวัน เตะแบบเตี้ย ๆ ท่าละไม่กี่ครั้ง แล้วก็เพิ่มจำนวนขึ้นทีละน้อย จนตอนนี้เตะครบ 200 ครั้งแล้วค่ะ แต่ถึงจะรำตะบองเป็นประจำ เวลาเดินมาก ๆ ก็จะยังเมื่อยมาก คุณหมอแนะนำว่าให้ออกกำลังขาบ้าง เช่นการเดินออกกำลัง เพราะรำตะบองเป็นการออกกำลังแบบยืดเหยียด และมีลักษณะแอโรบิกร่วมด้วยในท่าเตะ เพื่อให้หัวใจสูบฉีดได้ดี แต่จะไม่ได้กำลังขา ก็ต้องเดินออกกำลังเพิ่มเติมค่ะ
☀ ป้าไก่ แม่ของ Teddy อายุ 65 ย่าง 66 ปัญหาสุขภาพคือปวดหัวไมเกรน กระดูกบาง(แต่ไม่ถึงกับกระดูกพรุน) ก็รำตะบองทุกวันเหมือนกัน บางครั้งก็ปวดเข่า เข่าบวม ก็จะหลีกเลี่ยงท่าเตะ คือทำท่าอะไรแล้วเจ็บก็จะไม่ฝืนค่ะ เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นมาได้ สมาชิกในกลุ่มอายุมากสุดประมาณ 80 ปี และเคยมีคุณป้าที่นั่งรถเข็นเดินไม่ได้ ก็บำบัดด้วยการรำตะบองจนกระทั่งเดินได้ กลุ่มไหวตัวทัน รวมตัวกันได้ เพราะสมาชิกรุ่นแรก ๆ เกือบทั้งหมด เป็นคนไข้ของคุณหมอสุรินทร์ ที่กล่าวใน ตอน 1 : ที่มาที่ไป ก็คือมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกระดูกเป็นส่วนใหญ่ คนหมอไม่แนะนำให้ผ่าตัด แต่ให้บำบัดด้วยการรำตะบองก่อน แล้วทุกคนก็มีสุขภาพที่ดีขึ้น ไม่ต้องผ่าตัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คือ จะใช้่หลักการไม่ฝืนนะคะ คือค่อย ๆ ทำ ทำเท่าที่ทำได้ แล้วร่างกายเราจะยืดหยุ่นไปทีละนิด หลักการเดียวกับการโยคะ
ส่วนคุณน้า ploy Teddy ว่าน่าจะทำได้นะคะ แต่คงต้องระวังมาก ๆ เริ่มจากเบา ๆ ให้ร่างกายได้ยืดเหยียด คลายกล้ามเนื้อ ในท่าเตะอาจจะไม่ทำ หรือทำแค่เบา ๆ เตะแค่เตี้ย ๆ .. สำหรับอาการปวดหลัง เคยมีอาจารย์ที่ทำงาน ปวดหลัง แล้วทำท่าใน ตอน 4: ท่าบริหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ท่าที่ 2 บริหาร กล้ามเนื้อหลัง (ท่าซุปเปอร์แมน หรือท่าตั๊กแตน ของโยคะ) อาการปวดหลังก็ดีขึ้น แต่กระดูกพรุนนี่ ไม่ทราบว่ารุนแรงขนาดไหน ยังไงคุณน้า ploy ลองถามคุณหมอดูก่อนก็ได้ค่ะ หรือลองไปทิ้งคำถามไว้ที่เว็บชีวจิต อีกที่ เพื่อขอคำแนะนำ(http://www.cheewajit.com/)
แล้วก็รำตะบอง เด็ก ๆ ก็รำได้ค่ะ ในกลุ่มบางครั้งก็จะมีลูก ๆ หลาน ๆ ของสมาชิกมาร่วมด้วยเหมือนกัน ถ้านาน ๆ รำที แบบตามผู้ปกครองไป ก็หาเศษไม้อะไรให้เด็กใช้แทนตะบอง แต่ถ้ารำประจำ ก็หาตะบองที่ขนาดพอเหมาะกับเด็ก ๆ ค่ะ ความยาวตะบองขนาดประมาณเด็กกางแขน ส่วนขนาดท่อ PVC อาจจะเล็กลงกว่าของผู้ใหญ่หน่อยนึงก็ได้ ขนาดที่เด็กกำได้ หรือหาท่อนไม้ไผ่ ท่อนไม้กวาด มาประยุกต์ก็ได้ค่ะ
ขอให้สุขภาพดีรับปีใหม่นะคะ (◕‿◕✿)
![]() |
ถ้าทำเเล้วมันจะช่วยด้านอื่นบ้างมั้ยคะ นอกเหนือจากที่เขียนมา
ด้านอื่นคือด้านไหนคะ เพราะที่เขียนมาก็ละเอียดแล้วอ่ะ ฮาาาา
ต้องลองทำค่ะ กรณีกระดูกพรุน ปรึกษาคุณหมอก่อนก็ดีค่ะ ถ้าไม่เป็นอันตรายก็เริ่มเลยค่ะ อย่างน้อยทำเบา ๆ ก็ได้พวกยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ส่วนได้ผลไม่ได้ผลมันขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ความสม่ำเสมอในการออกกำลัง และสภาพร่างกายของแต่ละคน
![]() |
ปกติก่อนเล่นรำตะบอง ก็ปวดเข้า (นิดหน่อย) อยู่แล้ว แต่พอมาเล่น รู้สึกจะปวดมากขึ้น เป็นเพราะท่าเตะหรือเปล่าครับ ถ้าเราจะเล่นท่าเตะ แต่ไม่ต้องเขย่งๆ แล้วจะปวดเข่าไหมครับ หรือต้องเลิกเล่นท่าเตะทั้งหมด 4 ท่าเลย แล้วท่าแถมจะปวดเข่าไหมครับ
ขอบคุณครับ
สุรพงษ์
ตอบคุณสุรพงษ์
พอดีไม่มีความรู้ด้านการแพทย์อ่ะค่ะ กลุ่มไหวตัวทัน ก่อตั้งขึ้นมาเพราะคุณอาหมอสุรินทร์ หมอออโธปิดิกส์แนะนำให้คนไข้ของคุณหมอมาออกกำลังด้วยการรำตะบองเพื่อเป็นการดูแลตัวเอง และไม่ต้องไปผ่าตัด และตอนหลังก็ขยายตัวเป็นผู้สนใจ ใครผ่านไปผ่านมา ก็มาร่วมกลุ่มเพื่อออกกำลังกาย หลายคนออกกำลังด้วยวิธีรำตะบองแล้วอาการดีขึ้น แต่เราจะเน้นย้ำว่า ใครทำท่าไหนแล้วเจ็บให้ทำแต่เบา ๆ หรืองดท่านั้นหากเจ็บมาก แล้วระยะยาวก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น แข็งแรงขึ้นค่ะ (อันนี้จากที่เห็นมานะคะ)
แต่กรณีคุณสุรพงษ์ ให้ดีควรปรึกษาคุณหมอด้านที่เกี่ยวข้องโดยตรงก่อนดีกว่าค่ะ หรือลองสอบถามไปที่เว็บพวกสุขภาพ อย่างชีวจิต อาจจะได้คำตอบในเบื้องต้นค่ะ
![]() |
ขอบคุณครับ คุณ Teddy
ผมลองดูท่าที่ต้องใช้เขย่งเท้าแล้ว แต่ผมไม่เขย่ง ยืนเฉยๆแต่ใช้เท้าเตะขึ้นไปทุกจังหวะทุกท่าแล้ว ปรากฎว่าได้ผล ไม่ปวดเข่าแล้ว แสดงว่าที่ปวดเข่าเป็นเพราะท่าเขย่ง ขอบคุณมากครับ
แต่บริเวณหน้าแข้งทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะแข้งข้างขวาจะช้ำนิดๆตอนเอานิ้วมือกดลงไป แต่ไม่มีรอยฟกช้ำนะครับ ไม่ทราบเป็นเพราะใช้เลือดบริเวณนั้นมากไปหรือเปล่า หมายถึงบริเวณอาจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ คงต้องทานแคลเซียมหรืออาหารเสริมชดเชย
ขอบคุณมากๆอีกครั้งครับ เดี๋ยวจะลองไปเว็บชีวจิตถามดู แต่เหมือนเคยลองเข้าไป แต่ไม่มีคอลัมน์ถามตอบ อาจต้องสมัครสมาชิกก่อน ขอบคุณครับ
10 มีนาคม 2552 22:29
#42211
ทำหนังสือแจกดีกว่าเจ๊ ออกเป็นซีรี่รวมเล่มไปเลย
รวมกลุ่มวัยรุ่นไปรำกระบองบ้างจิ