ความเห็น: 7
การแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนมาตรฐาน T-Score
โดยปกติในการวัดและประเมินผลทุกรายวิชา ผมจะแปลงคะแนนจากการวัดและประเมินผลแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะเป็น Quiz การบ้าน สอบย่อย คะแนนสอบกลางภาค หรือคะแนนสอบปลายภาค ให้เป็นคะแนนมาตรฐาน T-score แล้วหาคะแนนรวมของ T-score โดยถ่วงน้ำหนักตามสัดส่วนของการวัดและประเมินผลแต่ละครั้ง เช่นเดียวกับการหาคะแนนรวมจากคะแนนดิบ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะกำหนดให้คะแนนรวมทั้งหมดเป็น 100 และโดยที่ขั้นตอนการแปลงค่อนข้างยุ่งยาก ผมเลยเขียนคำสั่งที่ใช้ในการแปลงโดยใช้ภาษา Visual basic ที่ฝังตัวอยู่ใน Microsoft Excel ที่มักจะเรียกง่ายๆ ว่าใช้ Macro ลงในไฟล์ที่ใช้รวมคะแนนของแต่ละรายวิชาที่สอน ทำเองใช้เองโดยไม่ได้เผยแพร่ จนกระทั่งได้มีโอกาสสอนรายวิชา Chemical Engineering Kinetics & Reactor Design ร่วมกับ อ.พรศิริ (อุ้ย) การถ่ายโอนข้อมูลคะแนนระหว่างกัน และการที่ต้องกำหนดระดับขั้นให้นักศึกษาร่วมกัน มีผลทำให้ผมส่งไฟล์ต้นแบบให้ อ.อุ้ย เพื่อนำไปปรับใช้ในรายวิชาอื่นๆ โดยผมไม่ได้อธิบายที่มาที่ไปของวิธีการ จังหวะเหมาะที่ผู้ใหญ่บ้านตะวันออก (หัวหน้าภาควิชา) กำหนดให้ลูกบ้าน เขียนประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน Share.psu.ac.th ซึ่งผมเป็นสมาชิกไว้นานแล้ว ก็เลยเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้ข้อกำหนดและประเด็นนี้ เป็นหัวข้อ Km ที่ผู้ใหญ่บ้านกำหนด
คะแนนมาตรฐาน T-Score เป็นวิธีการทางสถิติ ที่จะกำหนดระดับความสามารถของผู้เรียนจากการวัดผลแต่ละครั้งเทียบกับกลุ่ม จึงไม่ได้ขึ้นกับความยาก-ง่าย ของเครื่องมือที่ใช้วัด แต่ขึ้นกับว่าผู้เรียนอยู่ที่ระดับใดของกลุ่ม ผมได้ความรู้นี้มาตั้งแต่ปี 2520 สมัยที่เข้าสัมมนาอาจารย์ใหม่ จากวิทยากรซึ่งเป็นอาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ (ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็น รศ.ดร.วัน เดชพิชัย ซึ่งปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปแล้ว) ใช้ได้สำหรับชั้นเรียนขนาด 20 คนขึ้นไป ขั้นตอนสำหรับการประเมินผลแต่ละครั้ง เป็นดังนี้ครับ
1) กำหนดช่วงคะแนนที่จะใช้แจงความถี่ ว่าจะใช้ช่วงละกี่คะแนน โดยทั่วไปจะพิจารณาจากคะแนนเต็ม เช่น เต็ม 10 อาจจะกำหนดช่วงละ 1 คะแนน เต็ม 100 อาจจะกำหนดช่วงละ 2.5 หรือ 5 คะแนน แล้วเรียงลำดับคะแนนตามช่วงจากคะแนนสูงสุด มายังคะแนนต่ำสุด เช่น 15-16, 13-14, ....., 7-8, 5-6 ทำให้ผู้เรียนซึ่งได้คะแนนอยู่ในช่วงเดียวกัน จะมีคะแนน T-Score เท่ากัน
2) แจงนับจำนวนผู้เรียนที่ได้คะแนนอยู่ในช่วงที่กำหนด (ความถี่ f)
3) หาจำนวนผู้เรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าแต่ละช่วงคะแนน (ความถี่สะสม C)
4) หาค่า C + f/2 ของแต่ละช่วงคะแนน แล้วนำค่านี้ไปเทียบเป็นร้อยละกับจำนวนผู้เรียนทั้งหมด (ค่า Percentile)
5) นำค่า Percentile ไปหาค่า T-Score จากตารางเทียบ
ผมขอยกตัวอย่างผลการประเมินผู้เรียนครั้งหนึ่ง ซึ่งมีจำนวนผู้เรียน 30 คน ดังนี้ครับ
range |
f |
C |
C + f/2 |
%Tile |
T-Score |
15-16 |
1 |
29 |
29.5 |
98.33 |
72 |
14-15 |
2 |
27 |
28 |
93.33 |
65 |
13-14 |
5 |
22 |
24.5 |
81.67 |
60 |
11-12 |
10 |
12 |
17 |
56.67 |
52 |
9-10 |
6 |
6 |
9 |
30.00 |
45 |
7-8 |
4 |
2 |
4 |
13.33 |
39 |
5-6 |
2 |
0 |
1 |
3.33 |
23 |
ข้อมูลตารางเทียบ Percentile-T-Score
Percentile |
T-score |
Percentile |
T-score |
Percentile |
T-score |
<0.0032 |
10 |
2.28-2.87 |
31 |
53.98-57.93 |
52 |
0.0032-0.0048 |
11 |
2.87-3.59 |
32 |
57.93-61.79 |
53 |
0.0048-0.007 |
12 |
3.59-4.46 |
33 |
61.79-65.54 |
54 |
0.007-0.011 |
13 |
4.46-5.48 |
34 |
65.54-69.15 |
55 |
0.011-0.016 |
14 |
5.48-6.68 |
35 |
69.15-72.37 |
56 |
0.016-0.023 |
15 |
6.68-8.08 |
36 |
72.37-75.8 |
57 |
0.023-0.034 |
16 |
8.08-9.68 |
37 |
75.8-78.81 |
58 |
0.034-0.048 |
17 |
9.68-11.51 |
38 |
78.81-81.59 |
59 |
0.048-0.069 |
18 |
11.51-13.57 |
39 |
81.59-84.13 |
60 |
0.069-0.097 |
19 |
13.57-15.87 |
40 |
84.13-86.43 |
61 |
0.097-0.13 |
20 |
15.87-18.41 |
41 |
86.43-88.49 |
62 |
0.13-0.19 |
21 |
18.41-21.19 |
42 |
88.49-90.32 |
63 |
0.19-0.26 |
22 |
21.19-24.2 |
43 |
90.32-91.92 |
64 |
0.26-0.35 |
23 |
24.2-27.43 |
44 |
91.92-93.92 |
65 |
0.35-0.47 |
24 |
27.43-30.85 |
45 |
93.92-94.52 |
66 |
0.47-0.62 |
25 |
30.85-34.46 |
46 |
94.52-95.54 |
67 |
0.62-0.82 |
26 |
34.46-38.21 |
47 |
95.54-96.41 |
68 |
0.82-1.07 |
27 |
38.21-42.07 |
48 |
96.41-97.13 |
69 |
1.07-1.39 |
28 |
42.07-46.02 |
49 |
97.13-97.72 |
70 |
1.39-1.79 |
29 |
46.02-50 |
50 |
97.72-98.21 |
71 |
1.79-2.28 |
30 |
50-53.98 |
51 |
98.21-100 |
72 |
ลองพิจารณาดูนะครับ ผู้สนใจจะเอาไฟล์ไปดัดแปลงขอมาได้ครับ ไม่หวง เพราะถึงยังไงผมก็ลงแรงเขียนคำสั่งไปแล้ว ที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ คือการนำไปใช้กับรายวิชาที่มีผู้สอนหลายท่าน แต่ละท่านก็ใช้เครื่องมือ (ข้อสอบ) และวิธีการประเมินต่างกัน เช่น รายวิชาปฏิบัติการ การปรับเป็นคะแนน T-Score แล้วหาค่ารวม จะช่วยลดทอนผลจากความยากง่ายของข้อสอบ และวิธีการให้คะแนนที่แตกต่างกันของผู้สอนแต่ละท่านลงได้ครับ
ความเห็น
มาตรวจงานแล้วครับ
ส่วนผมยังสมัครใจใช้แบบอิงเกณฑ์อยู่ครับ เพราะยังลังเลว่า วิชาชีพนั้นน่าจะมีมาตรฐานที่ต้องกำหนดไว้อยู่ แต่วิธีนี้ก็ดีเหมาะที่จะวัดการเรียนรู้นะครับ
![]() |
ขออนุญาตเรียนตอบท่านผู้ใหญ่บ้านตะวันออก ว่าที่ผมทำอยู่จะใช้ทั้งแบบอิงเกณฑ์และอิงกลุ่ม (ใช้ทั้งคะแนนดิบรวม และคะแนน T รวม) ครับ
03 พฤศจิกายน 2554 09:57
#70533
การบ้าน ของ อ. ยากจัง (แต่ยังไม่อ่าน ฮิ ฮิ) เดี๋ยวเข้ามาทำความเข้าใจค่ะ จะได้นำไปใช้ด้วยอีกหนึ่งคน