อ่าน: 4191
ความเห็น: 4
ความเห็น: 4
ตอนที่ 3 ย่างก้าวสู่ภายนอก
ประกายไฟแห่งความคิดถูกจุดขึ้นแล้วก็ลุกโชนจนโชติช่วงชัชวาลย์ในที่สุดด้วยความสามารถของเพื่อนๆ พี่ๆ และน้องรุ่นหลัง....
(โดย วัชรินทร์ พุทธพรไพสิฐ 15 พ.ค. 2550)
อ่านบันทึกย้อนหลัง แนะนำกันก่อน
ตอนที่ 1 ก้าวแรกที่ ม.อ.
ตอนที่ 2 กิจกรรมใน ม.อ.
ผมไม่ทราบว่าพี่ประสาท มีแต้มเข้าไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มนี้อย่างไร แต่พี่ประสาทนำกิจกรรมของกลุ่มนี้เข้ามาเผยแพร่ใน ม.อ.ที่ กทม.(นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ทั้งคณะและนักศึกษาคณะวิศวฯ ปี 1) ในสิ้นปีการศึกษา 2514 คือ เดือนเมษายน 2515 มีนักศึกษา ม.อ.ปี 1 ไปร่วมค่ายเยาวชนในระบอบประชาธิปไตย 5 คน เป็นนักศึกษาวิศวฯ 3 คนและคณะวิทยาศาสตร์ 2 คน แยกย้ายกันไปคนละจังหวัดร่วมกับนิสิตนักศึกษาสถาบันอื่น สำหรับเพื่อนจากคณะวิศวฯ นั้น คุณวิสูตร สุทธาดิศัยไปที่มหาสารคาม คุณสุกิจ(จำนามสกุลไม่ได้ ถ้าคุณจำนงอ่านอยู่ช่วยแจ้งนามสกุลคุณสุกิจด้วยครับ)ไปที่ประจวบคีรีขันธ์ และผมไปที่ชัยภูมิซึ่งเป็นค่ายครั้งที่สองซึ่งเยาวชนในจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการโดยพี่นิสิตนักศึกษาเป็นพี่เลี้ยงและเป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยมิตรภาพบนพื้นฐานของความผูกพันทางใจนั้นยั่งยืนเสมอ มีเพื่อนและพี่ในกลุ่มนี้ที่ผมยังได้วิสาสะด้วยจนถึงปัจจุบัน อาทิพี่ขจิต ศิกษมัตคนชุมพรจบเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาบริษัทประเมินสินทรัพย์แห่งหนึ่ง ดร.สุรศักดิ์ บำรุงวงศ์ อดีตรองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตามความผูกพันนี้เทียบไม่ได้กับ ม.อ.กรุ๊ปและเพื่อนๆ พี่ๆ ในรั้วม.อ.ซึ่งมีสายใยศรีตรังคอยเชื่อมโยงเอาไว้ ผมภาคภูมิใจทุกครั้งที่บอกกับผู้อื่นว่าผมเป็นศิษย์เก่า ม.อ.ผมคาดว่ายังมีเพื่อนและพี่ในม.อ.อีกหลายคนออกไปมีกิจกรรมนอกรั้ว ม.อ. แต่เนื่องจากผมมิได้เกี่ยวพันด้วย จึงไม่อาจทราบ นอกจากนี้กิจกรรมของพี่ๆ ทางหาดใหญ่นั้น ผมก็ไม่ทราบเช่นกัน เพราะสมัยนั้นการสื่อสารระหว่างจังหวัดไม่มีความสะดวกดังเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ผมจำได้ว่า ที่ ม.อ.หาดใหญ่มีชมรมถ่ายภาพแล้ว พี่วิศวฯ ที่ถ่ายภาพเก่ง ๆ ได้แก่ พี่สุวรรณ กาญจนเมฆ เป็นต้น ดูเหมือนว่าจะมีร้านสหกรณ์ที่ดำเนินการโดยนักศึกษาด้วย สำหรับ ม.อ. ปัตตานีนั้น ความห่างไกลทำให้ไม่ทราบว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง แต่ที่แน่ๆ คือมี ชมรมวรรณศิลป์ ผมจำได้ว่าได้อ่านหนังสือรวมกลอนของพี่ๆ และคณาจารย์ที่ปัตตานี และที่นั้นเป็นต้นกำเนิดของเพลงที่พวกเราซาบซึ้งใจไม่คลาย ขึ้นต้นตั้งแต่ "ถิ่นพักใจใดจะปานเหมือนบ้านเกิด เราทูนเทิดแนบใจไม่สลาย".....จนถึงท่อนจบที่ว่า "....แม้ห่างกันพันแสนด้าวแดนใด มอบดวงใจไว้ที่ร่มศรีตรัง"
เสร็จสิ้นภารกิจจากค่ายฯ คุณสุกิจพยายามแพร่ความคิดในการตั้งชมรมอาสาพัฒนาตั้งแต่ยังไม่ได้เดินทางไปบ้านของเราที่ปักษ์ใต้ มีการสื่อสารพูดคุยกันหลายครั้ง ซึ่งผลจากการหารือกันนั้นพบว่า หากมีการตั้งชมรมอาสาพัฒนาจริง กิจกรรมของชมรมจะต้องก้าวหน้าแพร่หลายและสร้างคนให้ก้าวไปมีบทบาทภายนอกมหาวิทยาลัยในการพัฒนาความคิดด้านประชาธิปไตยและสร้างประโยชน์ร่วมกับชาวบ้านในชนบทที่กันดารได้อย่างแน่นอนประกายไฟแห่งความคิดถูกจุดขึ้นแล้วก็ลุกโชนจนโชติช่วงชัชวาลย์ในที่สุดด้วยความสามารถของเพื่อนๆ พี่ๆ และน้องรุ่นหลังทั้งคณะวิศวฯ และวิทยาศาสตร์ในปีการศึกษา 2515 ซึ่งผมจะพยายามรื้อฟื้นความทรงจำเล่าต่อไปในตอนอื่น
การออกไปร่วมกิจกรรมกับเพื่อนต่างสถาบันทำให้ได้เรียนรู้ข้อดีของเพื่อนจากสถาบันอื่น ได้เชื่อมโยงแนวคิดซึ่งกันและกัน สำหรับกิจกรรมค่ายพัฒนาเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยนี้ ยังมีเพื่อนนักศึกษาหญิงจากคณะวิทยาศาสตร์เข้าร่วมอีก 2 คน ผมจำได้คนเดียวคือคุณกอบกาญจน์(จำนามสกุลไม่ได้) ต่อมายังเป็นกำลังสำคัญของชมรมอาสาพัฒนาในยุคต้นอ่านต่อ ตอนที่ 4 บ้านของเรา-ระหว่างจินตนาการกับความจริง
created: 05 Febuary 2008 00:21
Modified: 05 Febuary 2008 08:49
[ Report Abuse ]
Other Posts By This Blogger
- Older « ตอนที่ 2 กิจกรรมใน ม.อ.
- Newer » ตอนที่ 4 บ้านของเรา-ระหว่างจินตน...
ความเห็น
![]() |
คุณกอบกาญจน์ นามสกุล "รัตนไชยยันต์" ครับ
ปัจจุบันเป็นภริยา พล.ร.ต.สุรวุฒิ ชลชนูปถัมภ์ (ศิษย์เก่าวิทยาศาสตร์มอ.รุ่นเดียวกัน)
![]() |
ไม่เจอคุณสุวรรณ กาญจนเมฆนานมากๆๆอยากเจอมากไม่รู้จะติดต่ออย่างไรเบอร์โทรก็ไม่มีเผื่อทางนี้จะช่วยแจ้งให้รู้ได้เพราะเป็นเพื่อนสนิทสมัยเรียนที่รรสันติราษณ์ใครมีเบอร์ช่วยบอกด้วยหรือให้คุตสุวรรณโทรมาที่เบอร์ 0894981172นิด
07 มีนาคม 2551 10:12
#23750
กำลังตามหากรากเหง้าของความเป็นสงขลานครินทร์ค่ะ คิดว่าพบแล้วนะ