ความเห็น: 9
ตอนที่ 2 กิจกรรมใน ม.อ.
(โดย วัชรินทร์ พุทธพรไพสิฐ 15 พ.ค. 2550)
แนะนำกันก่อน
ตอนที่ 1 ก้าวแรกที่ ม.อ.
We want to win the match
If we try must be successful
We must make it wonderful"
ท่อนบนนี้เป็นเพลงเชียร์กีฬาที่ผมนึกออกอยู่เพลงเดียว พยายามจะนึกถึงเพลงอื่น แต่ความจำไม่ยอมหวนคืนกลับ ตอนนั้น มหาวิทยาลัยโดยรุ่นพี่ไม่ต้องการให้มีการแบ่งแยกเป็นคณะใครคณะมัน เลยมีการแบ่งนักศึกษาอออกเป็น 3 ชุมนุมหรือ 3 กลุ่ม มีกลุ่ม แกมมา โร แลมด้า (สีแดง) กลุ่ม แอลฟา ซิกมา ไพน์ (สีชมพู) และอีกกลุ่มนึกไม่ออก (มีเพื่อนๆ แจ้งมาภายหลังว่า อีกกลุ่มคือ ซีต้า ซีต้า ซีต้า สีเหลือง) ทำการแข่งขันกีฬาหลายประเภท นอกจากนั้นก็อาจมีการจัดแข่งขันกันเองเป็นครั้งคราว การแข่งขันกีฬากับสถาบันอื่นไม่ต้องพูดถึง เพราะแค่แข่งขันกันภายในก็ไม่มีความพร้อมนักเพราะไม่ได้อยู่ในบ้านของเราเอง จึงขาดสนามสำหรับฝึกซ้อม
กีฬาอื่นๆ ที่เป็นของยอดฮิตหลังอาหารกลางวันได้แก่ ฟันดาบ มีทั้งดาบไทยและดาบเซเบอร์ ดูแล้วส่วนใหญ่ก็เล่นกันแบบสนุก ๆ ไม่ได้เข้ากับกติกาสากลใด ๆ โต๊ะปิงปองมีให้เล่นเหมือนกัน ส่วนพี่ที่ขรึมๆ กลุ่มหนึ่งมักจะนั่งเล่นบริดจ์ใช้สมองคิดตัวเลข
สำหรับนักศึกษาวิศวฯ ปี 1 ในวันเสาร์ รถอีแก่ซึ่งเป็นรถบัสของมหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์พาไปเข้าเรียนที่โรงเรียนช่างฝีมือทหารซึ่งทุกคนจะได้เรียนและฝึกปฏิบัติในโรงซ่อม 4 ประเภท(จำได้ว่ามี Welding Machining Fitting และอีกโรงเรียกอะไรก็ไม่รู้) เลยแบ่งกันเป็น 4 กลุ่มจัดแข่งขันฟุตบอลภายในกันหลังเลิกเรียนในตอนเย็นด้วย
เมื่อผมมาทำงาน ณ ศรีราชาผมได้พบกับศิษย์เก่าที่เป็นนักเรียนโรงเรียนช่างฝีมือทหารจริงๆ มาทำงานแถวนี้หลายคน พอเขาเหล่านั้นรู้ว่าผมเคยฝึกไปเรียนและฝึกปฏิบัติที่โรงเรียนช่างฝีมือทหารเขาก็ถือผมเป็นศิษย์เก่าเหมือนกัน รวมทั้งพี่นิคม อยู่อักษรด้วย ผมมีโอกาสพบอาจารย์ถนอมที่สอนงานเชื่อม(ผมจำนามสกุลไม่ได้)
ผมเห็นพี่ประสาท มีแต้มตั้งแต่เข้าเรียนใหม่ๆ เพราะพี่มีบทบาทเป็นผู้นำนักศึกษาใน ม.อ. ความประทับใจอยู่ตรงที่ยิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์ดี พูดจามีเหตุผลและเป็นคนช่างคิด ผมยังจำได้ดีถึงภาพของพี่ประสาทที่ม้านั่งบริเวณสวนระหว่างตึกคณะฯอ่าน หนังสือ ภาพนี้อยู่ในความทรงจำผมตลอดมาจนทุกวันนี้เพราะตอนที่เห็นครั้งแรก ผมนึกในใจว่าพี่เหมือนโสกราติสนักปรัชญาชาวกรีกที่อยู่ในมโนทัศน์ของผม พี่ประสาท มีแต้มเป็นผู้ชักจูงให้ผมรู้จักชมรมการพูดการเขียน
หากการสร้างกิจกรรมที่ก้าวหน้าสำหรับ ม.อ.เทียบกับการปลูกบ้านแล้ว ชมรมการพูดการเขียนนั้นก็เสมือนเสาเอก การเกิดชมรมการพูดการเขียนก็คือการขึ้นเสาเอกของกลุ่มกิจกรรมที่ก้าวหน้าตอนนั้น พี่ประสาทได้เล่าให้ฟังถึงกิจกรรมการจัดอภิปรายของชมรมฯในปีก่อน ผมได้ยินชื่อ "พี่สุรชัย นาบอน"จากพี่ประสาท แต่พี่คนอื่นบางคนเรียกว่า "พี่ปักกิ่ง" ทำให้ผมนึกถึงภาพคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลสมัยนั้นถูกตราหน้าว่าเป็นพวกเอียงซ้าย ถึงตอนนี้หลายท่านอาจสงสัยว่า พี่สุรชัย นาบอนคือใคร ครับก็คนกันเองที่มารวมพลที่ค่ายลูกเสือปีนี้ที่ศรีราชาด้วย พี่สุรชัย นาบอน พี่สุรชัย กิตติศรีไสว หรือพี่ไกรธีระ กิตติศรีไสว คือ คนๆ เดียวกัน นาบอนคือถิ่นกำเนิด ชื่อไกรธีระเป็นชื่อที่พี่เขามาเปลี่ยนหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ส่วนปักกิ่ง เป็นสื่อบอกให้ผู้อื่นรู้ว่าเป็นผู้มีแนวคิดก้าวหน้า ชมรมการพูดการเขียนเกิดขึ้นโดยพี่สุรชัย พี่ประสาทและพี่หลายคนเป็นผู้ก่อตั้งและสืบกิจกรรมต่อมา หนังสือ "ศรีตรัง" เป็นหนังสือขนาด 8 หน้ายกที่พี่ประสาทชักชวนให้ผมเข้าไปร่วมทำด้วย พวกเราหลายคนช่วยกันหาสปอนเซอร์ ช่วยกันเขียน มีอาจารย์หลายท่านช่วยบรรเลงเพลงน้ำหมึกด้วย ตอนนั้นไม่มีแท่นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ยังต้องใช้วิธีการเรียงพิมพ์และผู้ทำต้องไปคอยพิสูจน์อักษรมิให้มีข้อ ผิดพลาด คุณจำนง สรพิพัฒน์ก็แสดงแววความเป็นนักวิชาการเขียนเรื่องลงใน หนังสือฉบับนี้ด้วย สำหรับผู้ออกแบบปก ได้แก่คุณกัตติกา สุวรรณโชติ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ปี 1 หลายปีก่อนผมเคยพบคุณกัตติกาทำงานที่กรมศุลกากร ไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวนี้ย้ายที่ทำงานแล้วหรือไม่ งานนี้พี่ประสาทพยายามสร้างคนรุ่นใหม่(ปี1)เข้ามาทำงานของชมรมเพื่อแบกรับ ภารกิจต่อในอนาคต หนังสือเล่มนี้พวกเราเอาไปขายหน้ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพทั้งจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามคำแหงเป็นการอวดโฉมต่อเพื่อนต่างสถาบัน
อ่านต่อ ตอนที่ 3 ย่างก้าวสู่ภายนอก
Other Posts By This Blogger
- Older « ตอนที่ 1 ก้าวแรกที่ ม.อ.
- Newer » ตอนที่ 3 ย่างก้าวสู่ภายนอก
ความเห็น
- พี่อัมพรครับ ข้อเขียนทั้งหมดนี้เป็นของพี่วัชรินทร์นะครับ ผมไม่ได้เขียนเองครับ
- เห็นด้วยกับคุณ คนชายฝั่งครับ คนสูงวัยมักจะจำอะไรใหม่ๆ ได้ยากครับ แต่ของเดิมนั้นส่วนใหญ่จะยังฝังใจไม่รู้ลืมครับ
- คนแก่ลืมอีกแล้ว พี่ลืมบอกคนชายฝั่งว่าพี่ก็เริ่มเหมือนญาติสนิทฝ่ายหญิงที่ใกล้ชิดของน้องเข้าทุกวันเหมือนกัลล์ เหอ เหอ........
น้อมรับญาติใหม่ ด้วยความเคารพค่ะ
มีเกร็ดดีดีเล็กน้อยจะบอกค่ะ ว่ามีนักจิตวิทยาอีกกลุ่ม เชื่อว่า ข้อมูลที่เก็บไว้ในความจำระยะยาว ไม่ได้อยู่กับเราตลอดชีวิต เพราะ "อาจถูกแทนที่ด้วยข้อมูลอื่นๆ"
ซึ่ง "เรา" อาจจะสานความสัมพันธ์จนสามารถพัฒนากระบวนการประมวลผลและเปลี่ยนแปลงจาก "ความจำระยะสั้น" ไปสู่ "ความจำระยะยาว" ได้ค่ะ
![]() |
ขออนุญาตเพิ่มเติมจากคุณวัชรินทร์เกี่ยวกับการเรียนที่ ร.ร.ช่างฝีมือทหาร เพื่อให้สมบูรณ์ขึ้น:
1. ถ้าจำไม่ผิดวิชาอีกอย่างที่ต้องเรียนคือ "ตีเหล็ก" ทุกคนต้องนำเหล็กแท่งหกเเหลี่ยมมาเผาไฟจนเป็นสีเหลืองส้มแล้วทุบตีจนมีรปร่าง
เป็นสิ่วปรากฎว่ากว่าจะเผาจนร้อนแดงมักใจร้อนรีบชักออกจากเตาทำให้เหล็กไม่นิ่มพอตีขึ้นรูปยากและเมื่อตีได้ไม่กี่ครั้งก็ต้องเผา
ใหม่ แต่ละคนตีกันกล้ามขึ้นทีเดียว
2. อ.ถนอม นามสกุล"โพธิ์ทอง" ครับคุณวัชรินทร์...ท่านเป็นหนึ่งในช่างเชื่อมใต้น้ำไม่กี่คนของประเทศในยุคนั้นครับ
จำได้ว่ามีหัวข้องานวิจัยที่เกี่ยวกับการศึกษาทบทวนโครงสร้างกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนานักศึกษา ส่งภายใน ก.ค 56 (เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ลงทะเบียนเรียน เริมต้น ปี 2551) กับกิจกรรมนักศึกษาเดิม สำหรับ การพ่มเพาะคนดีของสถาบัน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร แล้วจะเดินต่อไปอย่างไร การร่วมคิด หาคำตอบร่วมกันหลาย รุ่น น่าสนใจ "ทศวรรษที่ 5 กิจกรรมนักศึกษาสงขลานครินทร์"
คิดแล้ว....วาง....อ.หงั่น ว่าไง
04 Febuary 2008 10:46
#18901