ความเห็น: 14
ลาแล้ว EndNote, Reference Manager
มามั่วกันต่อครับ
นึกอยู่นานว่าจะแปะเรื่องอะไรดี คิดว่าหลายๆ คนก็เป็นเหมือนกัน
ทั้งกล้าๆ กลัวๆ แหยงๆ จะเขียนดีหรือไม่ดีน้า อันนี้จะดีหรือเปล่าน้า
ผมชอบเขียนทิ้งเขียนขว้าง เรี่ยราด หาของไม่ค่อยเจอ
ที่จริงผมว่าผมมีระบบของผมนะครับ -- ระบบซุก (Sooking System) มีอะไรก็ซุกๆ ไว้ก่อน เวลาอยากจะหาอะไร ก็เป็นต้องออกแรงก่อนทุกที แต่คราวนี้จะพยายามซุกไว้เป็นที่เป็นทางครับ
เอาเรื่องที่ผมคุ้นแล้วกัน วันนี้จะมั่วกันเรื่อง bibliographic manager ครับ
อย่าครับ -- อย่าตกใจ เขียนภาษาอังกฤษแล้วดูน่ากลัว แต่ที่จริงก็คือพวก softwares จัดการเอกสารอ้างอิงครับ โดยเฉพาะเอกสารงานวิจัย เวลาใครต้องการเขียนบทความทางวิชาการ สัมมนาเอย ปัญหาพิเศษเอย วิทยานิพนธ์เอย บทความลงวารสารวิชาการ เข้าข่ายนี้หมดครับ
(เอย มาเกี่ยวอะไรด้วยเนี่ย)
คนรู้จักคุ้นเคยมาเห็นเข้าคงรู้ทันครับ ว่าผมจะเขียนเรื่องอะไร เพราะเชียร์ออกหน้าออกตามาก ไปที่ไหนก็เขียนแต่เรื่องนี้
เรื่องที่จะมั่วกันประจำวันนี้ก็คือ Zotero ครับ
ถ้านึกไม่ออกว่า Zotero คืออะไร ลองนึกถึง EndNote หรือ Reference Manager ดูครับ
คุ้นๆ ใช่มั้ยครับ เหมือนๆ ว่าเคยได้ยินชื่อ EndNote ที่ไหนซักแห่ง
แม่นแล้วครับ วันก่อนทางหอสมุดคุณหญิงหลงฯ เพิ่งจัดแนะนำการใช้ EndNote ไป ผมไม่ได้ไปกับเขาหรอก เห็นแต่ข่าวทาง news.psu
หลายคนเคยใช้ตัวสองตัวนี้ (หรือรวมพี่น้องท้องเดียวกันคือ ProCite อีกตัว)
หลายคนไม่สน ซึ่งก็ไม่แปลกครับ เพราะแต่ละคนมีวิธีการที่สะดวกในการทำงานของตัวเองต่างกัน
ตอนแรกผมก็ไม่ชอบใช้ software พวกนี้ รู้สึกรำคาญและเป็นภาระ (ที่ต้องมาเรียนรู้ใหม่) ด้วยซ้ำ
แต่หลังๆ พอเริ่มสะสมสมบัติบ้ามากขึ้นชักเริ่มปวดหัว และเหนื่อยในการหา
ผมคนนึงครับ ที่เป็นตัวอย่างที่ไม่ได้เรื่องในเรื่องนี้ ชอบสะสมเอกสาร แต่ไม่ชอบอ่าน เวลาครึ่งหนึ่งหมดไปกับการหาเอกสาร
เลยมาลองใช้ EndNote กับ Reference Manager เพราะที่ทำงานแถวนี้เขาใช้กัน ก็ลองใช้มั่ง
พอลองใช้ก็รู้สึกว่า "เฮ้ย ดีเว้ยเฮ้ย" หรือ "มันง่ายวุ้ย" หรือ "เราไปงมอยู่ที่ไหนหว่า"
แต่วันนี้ผมจะไม่พูดถึง EndNote กับ Reference Manager ครับ
ผมปันใจ (อีกแล้วครับ) มาหา Zotero ได้เกือบปีแล้ว ใช้มาตั้งแต่เป็น beta version
เหตุผลสำคัญอันหนึ่งก็คือ EndNote กับ Reference Manager ไม่ฟรีครับ
จะหาของฟรีแบบที่เราทำๆ กันก็ได้ครับ (รู้ๆ กันอยู่) แต่มัน "ไม่หรอย" "ไม่ได้แรงอ็อก" ครับพี่น้องค๊าบ
เรื่อง "ได้แรงอ็อก" (วันหลังค่อยเปิด section "ทองแดงวันละคำ" ดีกว่า ;-) นี่ เป็นแรงจูงใจที่สำคัญของพวกเราหลายคนที่หันมาใช้ open source กันครับ เพราะ softwares ที่ใช้อยู่มันไม่ได้ดีกว่าตัวอื่นที่ขายกันมากแบบพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน แต่มันสะใจครับ -- ราวๆ นั้น
ผมเคยลองใช้ EndNote Web ที่แถมมากับ Web of Science (หอสมุดคุณหญิงฯ เป็นสมาชิกนะครับ ทุกคนใน มอ. สามารถใช้งานได้) แต่พบว่าช้าเหลือกำลัง ขัดใจหลาย เลยไม่ได้กลับไปดูอีกเลย
Zotero เป็น ส่วนเสริม (add-on หรือ extension) ของ Firefox ครับ การใช้งาน Zotero จะต้องมี Firefox หรือ browsers ในตระกูลใกล้เคียง (Netscape Navigator หรือ Flock) ก่อน สำหรับแฟนๆ Internet Explorer ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ ;-)
การทำงานของ Zotero (เอาแบบรวบรัดนะครับ เขียนยาวเดี๋ยวเบื่อซะก่อน ค่อยลงรายละเอียดตอนหน้า)
ก็คือ มันจะเก็บข้อมูลของเอกสาร (เช่น ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ชื่อบทความ แหล่งที่พิมพ์ ฯลฯ) จากหลายๆ website ที่มันรู้จักแล้วบันทึกไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ที่เห็นชัดๆ ตอนนี้ก็คือจาก Web of Science (WoS) และ GoogleScholar รวมไปถึงสำนักพิมพ์ต่างๆ อย่าง ScienceDirect หรือ SpringerLink หรือแม้กระทั่งเว็บขายหนังสืออย่าง Amazon หรือเว็บข่าวอย่าง BBC
ดูตัวอย่างรูปข้างล่างนะครับ
ผมใช้งาน Web of Science (ต่อไปผมจะเรียก WoS แล้วนะครับ ขี้เกียจพิมพ์) โดยใช้คำค้น "fatty acid" และ trophic ได้ผลลัพท์มาสองร้อยกว่ารายการ พอผมสั่งให้ Zotero ทำงานมันก็จะแสดงให้เห็นว่ารายการเอกสารในหน้าแรกที่มันตรวจเจอ (จากหน้าของ WoS) มีอะไรบ้าง
ผมเลือกมาแค่สองรายการแรกเพื่อเป็นตัวอย่าง แล้วก็สั่งให้ Zotero มันเก็บบันทึกไว้ให้ผม
รูปข้างบนเป็นตัวอย่างหน้าตาของ Zotero ขณะทำงานครับ
ทางซ้าย (1) เป็น collection หนังสือหรือเอกสารที่เราตั้งได้ตามใจชอบ ตรงกลาง (2) เป็นรายชื่อเอกสารที่เราเก็บไว้ และ (3) เป็นรายละเอียดที่จัดเก็บ รูปข้างล่างเบิ่งกันให้คั่กๆ ครับ ว่า Zotero เก็บอะไรไว้ให้เราบ้าง
อันนี้จะเป็น tags หรือ key words ที่ Zotero เก็บไว้ให้เรา เวลาเรามาค้นหาเอกสาร ก็ค้นตาม tags เหล่านี้
ข้อดีของ Zotero ที่ถูกใจผมสุดๆ ก็คือ เก็บ pdf ได้
EndNote กับ RefMan ก็มีความสามรถอันนี้ครับ แต่ Zotero จะเก็บ pdf ไว้ใน folder ย่อยของFirefox (หรือระบุให้เก็บใน folder อื่นก็ได้)
ลองนึกดูครับ ว่าถ้าเราใช้ portable Firefox ติดตั้งไว้ใน usb stick หรือ thumb drive แล้วติดตั้ง Zotero เข้าไป เท่านี้ก็จะเป็นสวรรค์ของพวกชอบสะสม pdf (แต่ไม่ชอบอ่าน (ฮา) อย่างผม) เลยครับ กลายเป็นห้องสมุดเคลื่อนที่
ค้นหาก็ง่าย แทนที่จะใช้ระบบซุกอย่างเก่า ส่วนความสามารถอื่นๆ เช่น CiteWhileYouWrite (เขียนงานไป อ้างอิงเอกสารท้ายเล่มไป) หรือสั่งให้สร้างรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเล่ม ก็ทำได้ดีไม่แพ้ software แพงๆ
รายละเอียดความสามารถ ติดตามเพิ่มเติมได้จาก www.zotero.org ครับ มีคำอธิบายวิธีการใช้ การติดตั้งละเอียดยิบ
ติดอยู่นิดเดียวจริงๆ ครับ ตอนนี้ Zotero ยังไม่สนับสนุนเอกสารภาษาไทย ยกเว้นว่าจะจัดเก็บเองด้วยมือ (copy and paste) ผมเคยลองกับ OPAC ของหอสมุดฯ ลอง import MARC record เข้าไป ปรากฏว่าได้เป็นภาษาขอมออกมา เอาไว้ว่างๆ ค่อยมานั่งแงะอีกทีว่าจะทำยังไง
หรือหากท่านใดจะชี้แนะหรือพัฒนาต่อ ก็จะเป็นพระคุณยิ่ง
อีกนิดนึงครับ ถ้าใครใช้ WoS ที่เป็นหน้าตาใหม่ (version ใหม่) Zoterzo ยังไม่สามารถดึงข้อมูลอะไรออกมาได้ในตอนนี้ ผมเคยเขียนไปถามใน forum ของเขา เห็นว่าจะพยายามแก้ไขให้ใช้ได้ในเร็วๆ นี้ แต่สำหรับ WoS เวอร์ชั่นเก่า ยังใช้งานได้ฉลุยครับ
ใครลองใช้แล้วสนุกหรือเจอปัญหา เขียนมาเล่ากันบ้างครับ
Other Posts By This Blogger
- Older « ลองมั่วๆ ไปก่อน
- Newer » เขียน Share.PSU ด้วย Kompozer
ความเห็น
ได้ครับ
ขั้นตอนมีง่ายๆ ตามรูปครับ
- export บรรดาเอกสารที่เรามีอยู่ใน Endnote ออกมาก่อน ที่เห็นเป็น Endnote X ครับ แต่ก่อนจะ export ให้ตั้งค่า Output Styles เป็น Refman (RIS) Export ก่อนนะครับ ถ้าหาไม่เจอให้ไปเพิ่มใน Open Style Manager ครับ

- จากนั้น export แล้ว save เป็น text file ธรรมดา
- กลับมาหา Zotero แล้วทำการ import เข้าไป

- เอกสารที่เรามีอยู่ใน Endnote ก็จะไปเก็บอยู่ใน Zotero

ขอบคุณคุณ NovemberRain มากค่ะ เป็นความรู้ใหม่เอี่ยมจริงๆ ต้องลองดูสักวัน
ชอบใจวิธีเขียนของคุณ NovemberRain มากๆค่ะ เล่นเอาเดาไม่ถูกเลยว่าเป็นคนที่ไหน มีทั้งใต้ ทั้งอีสานบ้านเฮา ทั้งภาษาอังกฤษที่ใช้ได้เป็นธรรมชาติมากๆ น่าดีใจที่ Share.psu ทำให้ได้พบกันนะคะ เราคนม.อ.ด้วยกัน จะได้รู้ว่ายังมีขุมทรัพย์ความรู้ในคนของเรา ที่จะได้มีที่เอามาแลกเปลี่ยนถ่ายทอดสู่กันและกันได้ จะติดตามเป็นแฟนบล็อกค่ะ
ว้าววววววววว-ว-ว-ว คุณ(พี่) โอ๋-อโณ ดาวดังจาก GotoKnow เป็นแฟน blog เรา
โอ้ววววว --- เยส-ส-ส-ส-ส-ส (ดีใจน่ะครับ ;-)
ขอบคุณครับคุณ(พี่)โอ๋
ผมชิงลงมือ เรียกพี่ก่อนแล้วกันครับ พี่ก็กรุณารับไปด้วยนะครับ แหะๆ
ผมไม่ใช่คนที่ไหนไกลครับ "คนบ้านเรา" นี่เอง
(เวลาออกเสียงคำว่า "เรา" กรุณาม้วนและกระดกลิ้นเล็กน้อย จะได้อารมณ์ถูกใจคอทองแดงเป็นพิเศษ (ฮา)
แหม พี่ชมแบบนี้ผมก็อายม้วนต้วนไปเลยสิครับ เขียนไม่ออกกันพอดี ;-)
กลับมาอ่านแล้วยิ้มอีกรอบกับคำตอบของคุณ NovemberRain
แต่ว่าพี่โอ๋ก็ยังงงอยู่ดีค่ะว่า ตกลงบ้านเรานี่ "หาดใหญ่" ไหมคะเนี่ย
แล้วก็ไม่ได้ชมนะคะ คิดอย่างที่บอกจริงๆ เขียนสนุกเป็นตัวของตัวเองแบบนี้ เขียนที่ไหนก็มีแฟนแน่ๆค่ะ ไม่ต้องกลัวเลย เวทีไหนก็ไม่ใหญ่กว่าใจเรา (เขียนไปเขียนมาเว่อ....ไปไหมคะนี่
ขอบคุณครับท่านที่กรุณาไปเสาะแสวงหาของดีๆ ฟรีๆ มาให้ใช้กัน
ผมว่าผมมีของเล่นใหม่ให้เด็กๆ (โข่ง) เล่นแทน Reference Manager แล้วล่ะ ผมจะลองไปตะลุยดูว่า อันไหนที่ยังต้องการแต่เจ้า ซอทีไร (ตั้งชื่อภาษาไทย อย่างนี้ก่อน นึกชื่อสวยๆ ได้แล้วค่อยตั้งใหม่) ยังไม่มีให้ใช้ ผมไม่รู้เหมือนกันว่า ระหว่าง Web of Science กับ Pubmed ความครอบคลุมของ Article อย่างไหนจะครอบคลุม article ทางฝั่งนี้มากกว่ากัน แถวๆนี้เขาใช้บริการ Pubmed มากกว่า อย่างว่าล่ะครับคนชอบเที่ยวผับ (Pub) ก็ต้องไปที่คุ้นชินก่อน อิๆๆๆ ถ้าหรอย และซู๊ดดดดดดดดยอด อย่างทีท่านว่าก็น่าเล่น ผมลองหตัวฟรีที่มาแทน Refman มานานแล้วท่าน แต่ไม่เจอของดีซักกะทีนึง ตั้งแต่ Sixpack ที่ run บน *nix ทั้งหลาย แต่ก็ไม่อัพเดต นอนนิ่งๆ อยู่ตั้งแต่ปี 2000 โน่น แล้วก็มีของ (กึ่ง) ฟรี ที่รู้สึกว่าทาง WHO เขาใช้ในการ training อยู่ ผมเคยได้ link จากเพื่อนมานานแล้ว ตอนนี้หายไปไหนแล้วไม่รู้ เคยโหลดมาลองแล้วก็ยังไม่ดี หมายถึงยังทำงานได้ไม่ดีเท่านายเถื่อนจากในเมือง เลยจำใจยอมใช้ Refman มาเรื่อยๆ (ตั้งแต่ 7.x ยัน 11) มีอยู่ปีหนึ่งเปลี่ยนไปใช้ ProCite เพราะเหตุว่า RefManดันค้น article online ไม่ได้ต้อง ดูดมาก่อนแล้วค่อย Import เข้าไปอีกที ส่วนEndNote นั้นเคยลองตั้งแต่สมัยเป็นเวอร์ชั่น 3 เดี๋ยวนี้ปาเข้าไป 10 (X) แล้ว มีตัวฟรีที่ทำงานบน DOS อีกตัวที่ลองน่าจะดี แต่คงไม่มีใครทำงานบบะ DOS อีกแล้ว 8-) วันไหนครึ้มอกครึ้มใจจะลองๆ เล่นดูครับท่าน
AJAX !!!!!!!
![]() |
อยากสอบถามน่ะครับ คือ
ผมใช้ EndNote X1 ปัญหาก็คือ การตั้งค่าของ layout authur ภาษาไทย(และคณะ) กับภาษาอังกฤษ (,et al)
หากงานเขียนมีทั้งอ้างอิงภาษาไทยและภาษาอังกฤษจะตั้งค่าอย่างไร
ขอบคุณครับ
![]() |
อีกอย่างผมเอา EndNote ออกไปนานแล้วตั้งแต่หันมาใช้ Zotero เลยต้องไปหยิบยืมโปรแกรมจากที่ทำงานมาลองใหม่ ;-)
ตอบของ คุณ uthai arwon ก่อนแล้วกันครับ ที่จริงผมหาทางออกให้ยังไม่ได้ครับ แหะๆ ;-) เพราะการเขียนอ้างอิงภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดเก็บใน EndNote เป็นคนละ style กัน
ในส่วนของ EndNote library เราจะจัดเก็บรูปแบบไหนก็ได้ครับ เปลี่ยน output style ได้ตามชอบ แต่พอมาเขียนในตัวเอกสาร (ใช้ Cite While You Write, CWYW, ของ EndNote) มันเป็นปัญหาขึ้นมา เพราะเท่าที่ผมเข้าใจ CWYW จะยอมให้เราใช้ได้ style เดียวเท่านั้น (ซึ่งก็ควรเป็นอย่างนั้น ไม่งั้นสับสนน่าดู) แต่พอมาเขียนสองภาษาที่รูปแบบการอ้างอิงต่างกัน เลยปวดหัว
ทางที่ผมแนะก็คือ เลือกเอา style ใด style หนึ่งที่ง่าย ใกล้เคียงกับที่เราต้องการ และที่แก้ไขน้อยที่สุด แล้วค่อยมาแก้ (edit citation) เอาระหว่างแทรกอ้างอิงแต่ละอัน หรือจะแทรกไปทั้งหมดก่อน แล้วค่อยมาไล่แก้ทีหลัง (ใช้ search function ของ Word ช่วยก็ได้ครับ ไม่ต้องส่องหาเองตาเปียกตาแฉะ)
แต่ใน Zotero ง่ายกว่านิดนึงครับ
เพราะ ใน Zotero ผมกำหนดชื่อผู้แต่งไทยทั้งชื่อและนามสกุลเข้าด้วยกันในส่วนเดียวโดยให้มีเว้นวรรคคั่นได้ ไม่ต้องแยกเป็น first name, last name (เหมือนๆ กับเราเขียนเฉพาะ last name ของฝรั่ง โดยเว้นช่องชื่อไว้ว่างๆ แต่ในช่อง last name ที่เราเขียน มีทั้งชื่อและนามสกุล (ไทย) ของเราอยู่ (ว้า -- ยิ่งพูดยิ่งงงแฮะ) ฉะนั้นเวลาอ้างอิงมันก็จะไปทั้งชื่อทั้งนามสกุล ไม่แยกจากกัน ผมจะมีเอกสารทั้งไทยทั้งอังกฤษอยู่ใน library เดียวกันได้ ตอนอ้างอิงก็มาแก้ไขลบคำภาษาอังกฤษออกนิดหน่อย (เช่น เปลี่ยน "et al" เป็น "และคณะ" หรือ "and, &" เป็น "และ") ผ่านทาง Zotero citation editor ซึ่งก็ไม่ได้เสียเวลาอะไรมากครับ ไม่เกินครึ่งนาทีเราก็แก้เสร็จอันนึง
อีกอย่าง ผมว่า citation editor ของ Zotero ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกว่าของ EndNote เยอะครับ ผมรู้สึกว่ามัน "เป็นธรรมชาติ" กว่า EndNote
ส่วนคำถามของ คุณ GuyBCool ผมเข้าใจว่าเป็น output style เป็น format ที่ Zotero ไม่ support ครับ
ไม่ได้หมายความว่า Zotero ไม่รับ text file ในการ import นะครับ แต่หมายความว่าตัวเนื้อในของ text file นั้น มีการจัดรูปแบบเอกสาร (format) ในแบบที่ Zotero ไม่รู้จัก
รูปแบบที่ Zotero รู้จักก็เช่น BibTex, MARC, RIS ทั้งสามอันนี้มีรายละเอียดในการจัดเก็บต่างกันเล็กน้อย (และทั้งสามอันเป็น text file ธรรมดา เปิดอ่านกับ text editor อันไหนก็ได้)
ส่วนใหญ่ ข้อผิดพลาดแบบที่คุณ GuyBCool เจอมักจะเป็นในขั้นตอนกำหนด output style
ดูใน comment 2 ของผม รูปแรกนะครับ ในรูป ผมกำหนด output style ให้เป็น RIS ก่อน (RIS เป็นรูปแบบที่ bibliographic softwares ทั่วไปเกือบทุกตัวรู้จัก) แล้วผมถึง export ออกมาเป็น text file อีกที จากนั้นค่อยเอา text file อันนั้นไป import เข้า Zotero
ลองดูอีกทีครับ ;-)
![]() |
![]() |
-ขอบคุณครับ
สงสัยผมต้องลองไปใช้ตัวอื่น ๆ ดูซะแล้ว เผื่อว่าจะทำได้ง่ายขึ้น(ขี้เกียจจังเนอะ คนเรา ง่ายกว่าสมัยแรก ๆ ตั้งเยอะ ยังอยากง่ายกว่านี้อีก โธ่!)
![]() |
คือ ผม จะได้อ่าน บทความดี ๆ ของคุณ NovemberRain ก็วันเนี้ยแหละครับ หลังจากที่ผ่านไปเป็นปี.....
เข้าประเด็นดีกว่าครับ อยากถามว่าโปรแกรมตัวนี้เนี้ยครับ ใช้ APA style หรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
กระต่ายน้อยตาแดง
03 December 2007 14:46
#3396
น่าลอง น่าลอง... ตอนนี้ิยังใช้ EndNote อยู่ แต่รู้สึกว่ายังไม่ถูกใจครับ
สอบถามครับว่า เราสามารถ convert ฐานข้อมูลจาก EndNote ไปยัง Zotero ไ้ด้มั๊ยครับ