ความเห็น: 5
ไข้เลือดออก ตอนจบ
จากตอนที่ 1 เราก็ทราบกันแล้วว่ามีวิธีใดบ้างที่สามารถป้องกันการเป็นไข้เลือดออกได้ โดยในตอนจบนี้ ผมเข้ามาแชร์วิธีป้องกันของทางคณะทรัพยากรธรรมชาติ ว่ามีวิธีป้องกันอย่างไร
ปัจจุบันนี้คณะฯ มีห้องเรียนและห้องประชุมจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละห้องก็จะมียุงอยู่ (แต่ละห้องจะมีจำนวนยุงไม่เท่ากัน) ดังนั้นหากเราต้องการกำจัดยุงเหล่านี้เราต้องมีเครื่องมือในการกำจัด เช่น ไม้ช๊อตยุง เครื่องดักยุง ยาฉีดยุง เป็นต้น
โดยคณะฯ ได้เลือกใช้วิธีการกำจัดยุงแบบเครื่องดักยุง ดังภาพที่ 1 เพราะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์
ภาพที่ 1 แสดงเครื่องดักยุง
จากภาพที่ 1 แสดงให้เห็นเครื่องดักยุงที่คณะฯ นำมาใช้งาน โดยเครื่องมีหลักการทำงานดังนี้
1. นำเครื่องเข้าไปในห้องที่ต้องการดักยุง
2. เสียบปลั๊ก พร้อมกดปุ่มเปิดไฟล่อแมลง
3. วางทิ้งไว้ในห้อง
4. ปิดไฟล่อแมลง พร้อมถอดปลั๊ก
5. นำยุงที่ดักได้ไปทิ้ง
ผลงานการดักยุง
จากการใช้งานพบว่า เครื่องดักยุงสามารถดักยุงได้จริง แต่ไม่สามารถดักยุงได้ 100% และสามารถลดจำนวนยุงได้ ดังนั้นหากเราดักยุงอยู่เป็นประจำเราก็สามารถลดประชากรของยุงได้ครับ ซึ่งจะทำให้เราห่างไกลไข้เลือดออกได้เช่นกัน
จากเรื่องราวที่ผมได้เล่าหากใครมีความรู้เรื่องยุง หรือวิธีที่แจ๋มๆ เจ๋งๆ ช่วยมาแชร์กันเยอะๆ นะครับ เพื่อจะได้นำมาประยุกต์ใช้กับหน่วยงานของเรา หรือหน่วยงานอื่นๆ ครับ.
Other Posts By This Blogger
- Older « ไข้เลือดออก ตอน 1
- Newer » ความสุขของ "ผม" คนทรัพยา.
ความเห็น
วิธีที่ดีที่สุดก็น่าจะเป็นเรื่องของการลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงครับ แต่คงเป็นเรื่องที่ทำค่อนข้างยาก แต่เป็นวิธีที่ลดจำนวนยุงได้ดีที่สุด
แต่ยังไงก็ดีกว่าใช้สารเคมีกำจัดอย่างท่านคนธรรมดากล่าว
แต่แบบนี้น่าจะกำจัดแมลงอื่น ๆ ไปด้วย แมลง/ แมงที่ชอบมาตอมไฟ เช่นแมงเม่า
อิอิอิ
เราเอง
02 April 2013 22:48
#86206
เรื่อง "ยุง" ดีกว่า เรื่อง "ยุ่ง ๆ " นะค่ะ