ความเห็น: 15
ประดู่แดง ที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ
เมื่อประมาณมกราคม พ.ศ. 2549 เป็นปีที่ประดู่แดงที่คณะทรัพยากรธรรมชาติออกดอกเป็นครั้งแรก ตื่นเต้นกันมากค่ะ ถามกันว่าต้นอะไรอออกดอกสวยจังเลย มีทั้งหมด 3 ต้น หน่วยอาคารฯ บอกว่า ประดู่แดง ครับ ช่วงนั้นผู้ที่มีกล้องถ่ายรูปกันใหญ่เพื่อไว้เป็นที่ระลึกค่ะ ปีนี้ พ.ศ. 2551 ประดู่แดงไม่ออกดอกค่ะ แต่เห็นแล้วก็คุ้มค่ากับการรอคอยตามภาพด้านล่างเมื่อมกราคม ปี 2550 ค่ะ
ภาพประดู่แดงที่คณะทรัพยากรธรรมชาติ

ประดู่แดง (ชื่อวิทยาศาสตร์ :Phyllocarpus septentrionalis Donn. Smith) เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ 10-12 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง ผลัดใบ ใบเป็นรูปมนรีออกเป็นคู่ สลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสีแดงสด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะทยอยกันบานไล่ขึ้นไปตั้งแต่โคนก้านช่อจนถึงปลายช่อ เวลาบานจะแดงสพรั่งทั้งต้น เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน มีถิ่นกำเนิดในประเทศกัวเตมาลา ทวีปอเมริกาใต้
ลักษณะดอก
- ชื่อสามัญ: ประดู่แดง (Monkey Flower Tree, Fire of Pakistan)
- ชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ: วาสุเทพ
- ประเภท: ไม้ยืนต้น
- การขยายพันธ์: ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
- การดูแล: ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำและความชื้นน้อย ชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี
ข้อมูล จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การปลดปล่อยใจตนเอง
- ใหม่กว่า » การหวีผมเพื่อสุขภาพ
ความเห็น
![]() |
** ขอบคุณพี่มิกกี้ที่นำภาพมาให้ชมกันค่ะ
** ทำให้บรรยากาศบริเวณคณะทรัพยากรธรรมชาติ สดชื่น และมีสีสันเลยทีเดียว
- กว่าจะนึกชื่อประดู่แดงได้ ทำเอาเปตองและพี่มอนลี่เหนื่อยด้วย เพราะต้องนึกชื่อแต่ก็นึกไม่ออก สักกะที จนพี่มิกกี่บอกว่าชื่อประดู่ไง ดอกไม้ราชนาวี เปตองเลยร้องเพลงราชนาวีเลย(ได้นิดเดียวนะ)
- เป็นรูปที่สวยค่ะ เลยได้แนวคิดจากพี่มิกกี้ใช่มาเป็นหน้าปก SAR ปี 51 ซะเลย และให้พี่แด๊ะช่วยออกแบบให้ค่ะ
ขอบคุณ น้อง มอนลี่ ลูกแกะตัวไม่น้อย ขิงขิง
เปตอง ประดู่แดงทำให้คณะทรัพย์ฯ สวยและดูมีชีวิตชีวา คงจะต้องรอคอยปี 52 ช่วงต้นปีค่ะ
เป็นภาพที่สวยงามมากครับ และขอบคุณที่คุณมิกกี้ ช่วยเผยแพร่สิ่งดีๆ ในคณะทรัพย์ฯ สู่ชาว มอ. ต้นประดู่แดงเหล่านี้ปลูกตั้งแต่การสร้างคณะฯเสร็จได้ไม่นาน น่าจะเป็นช่วงที่ ศ.ดร.สุจินต์ จินายน เป็นคณบดี ประมาณ พศ. 2524 ก็เกือบ 30 ปีมาแล้ว แต่ที่ต้นไม่โตและไม่สม่ำเสมอเป็นเพราะเพราะปลูกบนเนินดินลูกรังแข็งมาก ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมากครับ แต่เมื่อออกดอกก็สวยงามมากครับ
ต้นประดู่แดงใน มอ. ที่ปลูกมาก่อนที่คณะทรัพย์ฯ เท่าที่ทราบมี 1 ต้น ปลูกอยู่ทีข้างตึกฟิสิกส์ ด้านทิศตะวันออก ต้นโตเพราะดินดีพอสมควร สวยงามมากเช่นกัน แต่โชคไม่ดีเพราะอยู่ไกล้สายไฟแรงสูง จึงถูกตัดกิ่งก้านด้านไกล้สายไฟเป็นประจำจนเสียรูปทรง และสุดท้ายน่าจะถูกโค่นทิ้งไปแล้วนะ เมื่อหลายปีก่อน น่าเสียดายมากครับ เล่าให้ฟังตรงนี้เพราะทุกครั้งที่มีการตัดต้นไม้ก็รู้สึกไม่ค่อยดี เสียดายต้นไม้ เพราะแต่ละต้นมีคนปลูกและใช้เวลานานกว่าจะโตให้ได้ชื่นชม
- ขอบคุณ อ. pai ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ชาวคณะทรัพย์ค่ะ โอ้โห้! เป็นการรอคอยที่นานมากตั้งเกือบ 30 ปีกว่าจะเห็นดอกประดู่แดง 3 ต้นนี้
- ขอบคุณ ต้อยตีวิตค่ะที่ชม
![]() |
อยากทราบชื่อพันธุ์ และ อายุเก็บเกี่ยวน่ะครับ / ขอบคุณมากครับ
18 กันยายน 2551 22:36
#35908