ความเห็น: 1
เทคนิคบริหารนิ้วมือ...ลดเสี่ยงอาการโรค "นิิ้วล็อก"
"นิ้วล็อก แล้วหล่าว" (นิ้วล็อกอีกแล้ว)
เป็นคำพูดที่ได้ยินจากสาว ๆ ห้องข้างเคียง
ภาพจากนิ้วล็อกจาก oranan.blogspot.com
ได้อ่านหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ซึ่งให้ความรู้ เกี่ยวกับ โรคนิ้วล็อก และท่าบริหารนิ้วมือ จึงขอแบ่งปันเพื่อน ๆ ดังนี้ค่ะ
หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าอาการนิ้วล็อกเกิดเฉพาะผู้หญิงที่ชอบชอบปิ้งและถือของหนักเท่านั้น แต่ความจริงแล้วเกิดได้กับทุกคนที่ชอบใช้งานในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นนักช้อป นักแชต หรือกลุ่มพ่อบ้านแม่บ้านที่หิ้วของหนัก ๆ บิดผ้าแรง ๆ
แม้ว่าโรคนี้จะเป็นโรคที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิต แต่ถ้าเรารู้จักป้องกันไม่ให้เกิดความเจ็บปวดและสร้างความรำคาญใจเนื่องจากใช้นิ้วมือไม่สะดวกก็จะดีกว่า
แพทย์อายุรเวท วิภาพร สายศรี แห่ง Doctor Care Clinic ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนิ้วล็อกว่า เป็นอาการของนิ้วมือที่ไม่สามารถยืดออกหรืองอเข้าได้ เนื่องจากมีการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณนิ้วมือ ในระยะแรกจะมีอาการปวดเป็นหลัก ขยับนิ้วงอเหยียดจะทำให้ปวดและอาจมีเสียงดังกึกเกิดขึ้น แต่ยังสามารถกางนิ้วออกได้ ในระยะหลังมีอาการรุนแรงมากขึ้น เมื่อมีอาการติดล็อกเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้วจะไม่สามารถเหยียดออกมาได้ ต้องเอามือข้างหนึ่งมาช่วยแกะออก บางรายมีอาการอักเสบบวมมาก ถ้าใช้นิ้วเหยียดออกมาจะปวดมาก มีปัญหาในชีวิตประจำวัน พบมาในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในช่วงอายุประมาณ 40-50 ปี
ปัจจัยส่วนใหญ่เกิดจาการทำงานที่ต้องใช้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกัน เช่น การทำงานบ้าน ซักผ้า บิดผ้า ใช้กรรไกรตัดผ้า ตัดกิ่งไม้ พิมพ์งานตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ชอบเล่นกีฬา เช่น กอล์ฟ เทนนิส นักดนตรีประเภทไวโอลิน อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นแล้วมีโอกาสหายได้
ถ้าผู้ป่วยหมั่นทำกายภาพ เช่น การแช่มือในน้ำอุ่น บริหารนิ้วมือบ่อย ๆ โดยการขยับหรือกำลูกบอล หลีกเลี่ยงการใช้งานที่ต้องใช้มือเป็นเวลานาน ๆ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรหยุดพักมือบ่อย ๆ เป็นระยะ เช่น ใช้งาน 45 นาที ควรพักมือประมาณ 10 นาที
สำหรับวิธีฝึกท่าบริหารนิ้วมือมีดังนี้
1. กำลูกบอลหรือกำแบฝ่ามือ นิ้วมือ เมื่อมีเวลาว่างหรือบริหารในเวลาที่ต้องใช้มือเป้นเวลานาน ๆ
2. กดบริเวณฝ่ามือที่มีพังผืดหนาตัวขึ้นมาบริเวณฐานนิ้ว ค่อย ๆ กดคลึงไปเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าก้อนพังผืดคลายลง
3. ยืดฝ่ามือและนิ้วมือโดยการใช้มือข้างหนึ่งมาจับปลายนิ้วมือแล้วค่อย ๆ ดึงขึ้นช้า ๆ ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที
หากมีอาการนิ้วล็อกหรือใช้นิ้วมือบ่อย ๆ ก็ลองฝึกบริหารนิ้วมือนะค่ะ
"สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง"ค่ะ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การบริหารงาน "คือการบริหารคน"
- ใหม่กว่า » มื้อเที่ยง...กับนาซิดาแฆ
18 April 2013 17:45
#86993
มีบางท่านเล่าให้ฟังว่า การหิ้วถุงพลาสติกที่ใส่ของจำนวนมาก และหนัก เสี่ยงต่อการมีอากานิ้วล็อกได้ค่ะ