ความเห็น: 0
ประวัติของออปแอมป์
ประวัติของออปแอมป์
จอร์จ ฟิลบริกค์ ( George Philbrick ) เป็นบุคคลหนึ่งที่ทำการพัฒนา และทำให้ออปแอมป์เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เขาได้ตั้งบริษัทชื่อ ฟิลบริกค์ แอสโซซิเอท ( Philbrick Associates )โดยได้ออกแบบ และผลิตออปแอมป์ในแบบสุญญากาศเดี่ยว ( Single Vaccum Tube Op-Amp ) ขึ้นมาทดลอง และได้นำออกสู่ตลาดในปี พ.ศ. 2491 ต่อมาได้มีการพัฒนาออปแอมป์เพื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นการใช้งานในเชิงคณิตศาสตร์เท่านั้น โดยใช้เป็นวงจร บวก ลบ คูณ หาร และแก้สมการดิฟเฟอเรนเชียล
ออปแอมป์ถูกพัฒนาขึ้นในรูปแบบของไอซี ( IC ) ผลิตขึ้นโดยบริษัทแฟร์ไชลด์ ( Fairchild ) ในช่วงปี พ.ศ. 2507 – 2511 เช่น ออปแอมป์ เบอร์ 702 , 709 และ 741 ขณะเดียวกัน บริษัทเนชั่นแนล เซมิคอนดัคเตอร์ ( National Semiconductor ) ได้ผลิตออปแอมป์ เบอร์ 101/103 ขึ้นมาเช่นกัน ต่อมาได้นำเทคโนโลยีการผลิตโดยการนำฟิลด์เอฟเฟคทรานชีสเตอร์ ( Field Effect Transistor เรียกย่อๆว่า FET )มาใช้แทนไบโพลาร์ทรานซีสเตอร์ ( Bipolar Transistor ) โดยการนำ JFET มาเป็นส่วนอินพุตของออปแอมป์ ทำให้กระแสด้านอินพุตต่ำ เนื่องจากอินพุตอิมพีแดนซ์สูงมาก ส่วนทางด้านเอาต์พุตของออปแอมป์จะใช้ MOSFET ทำให้เอาต์พุตอิมพีแดนซ์มีค่าต่ำมาก ดังนั้นจึงสามารถนำออปแอมป์มาใช้งานได้ดี และมีประสิทธิภาพดีมากขึ้น
คุณสมบัติของออปแอมป์
ออปแอมป์ (Op-Amp) เป็นชื่อย่อสำหรับเรียกวงจรขยายที่มาจาก Operating Amplifier เป็นวงจรขยายแบบต่อตรง (Direct couled amplifier) ที่มีอัตราการขยายสูงมากใช้การป้อนกลับแบบลบไปควบคุมลักษณะการทำงาน ทำให้ผลการทำงานของวงจรไม่ขึ้นกับพารามิเตอร์ภายในของออปแอมป์ วงจรภายในประกอบด้วยวงจรขยายที่ต่ออนุกรมกัน ภาคคือ วงจรขยายดิฟเฟอเรนเชียลด้านทางเข้า วงจรขยายดิฟเฟอเรนเชียลภาคที่สอง วงจรเลื่อนระดับและวงจรขยายกำลังด้านทางออก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนออปแอมป์จะเป็นรูปสามเหลี่ยม ไอซีออปแอมป์เป็นไอซีที่แตกต่างไปจากลิเนียร์ไอซีทั่วๆ ไปคือไอซีออปแอมป์มีขาอินพุท 2 ขา เรียกว่าขาเข้าไม่กลับเฟส (Non-Inverting Input) หรือ ขา + และขาเข้ากลับเฟส (Inverting Input) หรือขา – ส่วนทางด้านออกมีเพียงขาเดียว เมื่อสัญญาณป้อนเข้าขาไม่กลับเฟสสัญญาณทางด้านออกจะมีเฟสตรงกับทางด้านเข้า แต่ถ้าป้อนสัญญาณเข้าที่ขาเข้ากลับเฟส สัญญาณทางออกจะมีเฟสต่างไป 180 องศา จากสัญญาณทางด้านเข้า
คุณสมบัติของออปแอมป์ในทางอุดมคติ
1. อัตราขยายมีค่าสูงมากเป็นอนันต์หรือ อินฟินิตี้ (AV = )
2.อินพุทอิมพีแดนซ์มีค่าสูงมากเป็นอนันต์ (ZI = )
3.เอาท์พุทอิมพีแดนซ์มีค่าต่ำมากเท่ากับศูนย์ (ZO = 0)
4.ความกว้างของแบนด์วิท (BANDWIDTH) ในการขยายสูงมาก (BW = )
5.สามารถขยายสัญญาณได้ทั้งสัญญาณ AC และ DC
อ้างอิง http://jeeranan-jeeranan.blogspot.com/2011/09/blog-post_3031.html
Other Posts By This Blogger
- Older « Solid state driveSSD
- Newer » วิธีการเปลี่ยนภาษาไทย Windows 10...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้