ความเห็น: 0
การทดสอบเกลือบริโภคตาม มอก.2085-2544
ดำขำได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งสังกัดหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องทางด้านวิทยาศาสตร์เลย แต่มีงานวิจัยที่ศึกษาคุณสมบัติของเกลือบริโภค ซึ่งทำให้ดำขำได้มีข้อมูลมากขึ้น หลังจากได้ค้นเกี่ยวกับมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ของเกลือบริโภค (มอก. 2085-2544)
จากมาตรฐาน มอก.2085-2544 เกลือบริโภคนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่บังคับต้องตรวจสอบแต่หากต้องการตรวจสอบจะมีการตรวจสอบ 5 รายการด้วยกันคือ
1. ความชื้น
2. สารที่ไม่ละลายน้ำ
3. NaCl (โซเดียมคลอไรด์)
4. สารประกอบไอโอดีน (คิดเป็นไอโอดีน)
5 สารปนเปื้อนโลหะหนัก ได้แก่ ตะกั่ว สารหนู แคดเมียม ทองแดง และปรอท
จากคำถามของอาจารย์คือ ได้รับผลการทดสอบแล้วเนื่องจากไม่ได้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็ไม่เข้าใจการรายงานผลการทดสอบ จึงโทรศัพท์มาปรึกษาเพื่อความมั่นใจ ซึ่งตัวอย่างเกลือของอาจารย์ที่ส่งตรวจนั้นผ่านหมด เพียงแค่อาจจะไม่มั่นใจในการแปลผลจากค่าที่ได้เท่านั้นเอง ดำขำเข้าใจดีเพราะหากไม่ได้มีความรู้ในเรื่องใดเราถามคนที่เขามีความรู้มากกว่าก็จะทำให้เราเข้าใจมากยิ่งขึ้น
ค่ากำหนดของการทดสอบแต่ละรายการนั้นแตกต่างกันบ้างขึ้นอยู่กับชนิดของเกลือ ซึ่งกำหนดไว้ 3 ชนิด คือเกลือชนิดผง เกลือชนิดป่น และเกลือชนิดเม็ด
1. ความชื้น (% โดยน้ำหนัก) กำหนดให้มีได้ไม่เกิน 4.0, 6.0 และ 7.0 ตามลำดับ
2. สารที่ไม่ละลายน้ำ (% โดยน้ำหนักของตัวอย่างแห้ง) กำหนดให้มีได้ไม่เกิน 0.1, 0.3 และ 0.5 ตามลำดับ
3. NaCl (โซเดียมคลอไรด์) (% โดยน้ำหนักของตัวอย่างแห้ง) กำหนดให้มีไม่น้อยกว่า 96.0, 94.0 และ 93.0 ตามลำดับ
4. สารประกอบไอโอดีน (คิดเป็นไอโอดีน) (มิลิกรัมต่อกิโลกรัม) ให้มีค่า 30 และทดสอบเฉพาะเกลือเสริมไอโอดีนและคืดค่าไอโอดีนของน้ำหนักตัวอย่างแห้ง
5 สารปนเปื้อนโลหะหนัก (มิลิกรัมต่อกิโลกรัม) ได้แก่ ตะกั่ว (ไม่เกิน 2.0) สารหนู (ไม่เกิน 0.5) แคดเมียม (ไม่เกิน 0.5) ทองแดง (ไม่เกิน 2.0) และปรอท (ไม่เกิน 0.1)
ซึ่งรายการทดสอบคุณภาพของเกลือบริโภคตาม มอก.2085-2544 นั้น ศูนย์เครื่องมือ ฯ สามารถให้บริการได้หมด หากสนใจต้องการทดสอบสามารถติดต่อได้ที่ 074-286904-7 หรืออีเมล์ sec-all@group.psu.ac.th
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « น้ำมันขัน
- ใหม่กว่า » การขึ้นทะเบียนของนักวิทยาศาสตร์
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้