ความเห็น: 0
การทดสอบหาปริมาณโปรตีนในน้้ำยางและถุงมือยาง
บันทึกนี้ เป็นเรื่องราวของการทดสอบหาปริมาณโปรตีนในน้ำยางและในถุงมือยาง ถามว่าทำไมลูกค้าจึงต้องทดสอบหาปริมาณโปรตีนด้วย ทั้งนี้เพราะโปรตีนที่อยู่ในน้ำยางธรรมชาตินั้นมีหลากหลายชนิด และโปรตีนจำนวน 30-60 ชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ (Huber, Ma., and Terezhalmy, GT., 2006) ดังนั้นในวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่ใช้จึงต้องมีการกำจัดโปรตีนในน้ำยางออก ซึ่งสุดท้ายแล้วกำจัดได้หมดหรือไม่ก็ต้องมาทดสอบหาปริมาณกันต่อ
ในน้ำยางธรรมชาติมีปริมาณโปรตีนอยู่ 1-1.8 % ขึ้นอยู่กับแหล่งที่ปลูกยางและปัจจัยต่าง ๆ อย่างไรก็ตามทราบกันดีอยู่ว่าโปรตีนประกอบไปด้วยธาตุ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน และซัลเฟอร์ มารวมกันเป็นโพลิเมอร์ของหมู่อะมิโนเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์
ในกระบวนการผลิตจะมีการกำจัดโปรตีนออกโดยเติมสารละลายแอมโมเนียเพื่อให้โปรตีนแตกเป็นกลุ่มเพปไทด์เล็ก ๆ (Perrella, FW., and Gaspari, AA., 2002) แต่ก็จะทำให้คุณสมบัติขิงน้ำยางเปลี่ยนไป และหากกำจัดโปรตีนด้วยการหวุนเวี่ยงก็จะทำให้โปรตีนตกตะกอน และสามารถกำจัดโปรตีนได้ถึง 50% อย่างไรก็ตามถึงแม้ในกระบวนการผลิตนั้นมีวิธีการกำจัดโปรตีนออกแล้ว ก็ต้องทดสอบหาปริมาณโปรตีนที่เหลืออยู่
ซึ่งการทดสอบหาปริมาณโปรตีนนั้นมีหลายวิธี เช่น การวิเคราะห์โดยการเทียบสี (การวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีนด้วยวิธีลาวรี) ซึ่งวิธีนี้ถูกอ้างอิงตาม ASTM D 5712 เป็นการทดสอบหาโปรตีนและในกรณีการหาโปรตีนในน้ำยาง (exactable protein) นั้นจะต้องสกัดโปรตีนตามวิธี ASTM D 1076 และนำไปทดสอบตาม ASTM D 5712 (Lowry method) เป็นการพัฒนาวิธีมาจากวิธีไบยูเรต (Biuret) ทำให้ได้ความไว (Sensitivity) มากขึ้น สามารถวัดได้ที่ระดับความเข้มข้นของโปรตีนต่ำๆ ลงไปถึง 5 μg/mL โดยมีหลักการกว้าง ๆ คือ ปลายไนโตรเจนที่อยู่ที่พันธะเปปไทด์จะจับตัวกับไอออนของทองแดง (Cu2+) ภายใต้สภาวะที่เป็นด่างทำให้ได้เป็นสารประกอบเชิงซ้อนสีน้ำเงิน
วิธีลาวรีมีความว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) สำหรับค่า pH ของสารละลายที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วง 10-10.5 สารที่วิเคราะห์ได้ด้วยวิธีนี้ เช่น อนุพันธ์ของกรดอะมิโนบางชนิด ยา ไขมัน น้ำตาล เกลือ เป็นต้น วิธีนี้มีสารรบกวน (Interfering substances) หลายชนิด เช่น ไอออนของแอมโมเนีย สารพวกฟีนอลิก กลีเซอรอล น้ำตาลต่างๆ เช่น กลูโคสและซูโครส เป็นต้น ควรกำจัดหรือเจือจางก่อนทำการวิเคราะห์ (Lowry, 1951)
นอกจากการวิเคราะห์หาปริมาณโปรตีนด้วยวิธีลาวรี แล้วยังมีการหาปริมาณโปรตีนด้วยเครื่อง HPLC โดยการหาปริมาณกรดอะมิโน
สำหรับศูนย์เครื่องมือ ฯ กำลังดำเนินการทดสอบหาปริมาณโปรตีนในถุงมือและในน้ำยาง เนื่องจากมีลูกค้าสอบถามมามาก และเราเปิดตัวงานใหม่สำหรับการทดสอบทางด้านยางและวัสดุ ดังนั้นงานส่วนใหญ่ของงานนี้จะเป็นการให้บริการใหม่ ๆ ของศูนย์เครื่องมือ ดำขำเองซึ่งไม่มีความรู้ทางด้านยางเลย ก็ต้องพยายามหาข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้งอการของลูกค้าด้วย
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ทำไมต้องใส่สารอะลูมินาเมื่อทดสอบ...
- ใหม่กว่า » มาตรฐานอุตสาหกรรม
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้