ความเห็น: 3
ข้อบังคับวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม 4 สาขา
จากข้อสงสัยว่า เราในฐานะนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งนั้น ทำให้ดำขำต้องหาข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่า เราต้องสอบเพื่อสอบวิชาชีพนักวิทยาศาสตร์หรือไม่ วันนี้เลยนำข้อมูลมาเพื่อให้ทุกคนได้ทราบกันเพิ่มเติม
จากการค้นข้อมูลนั้น ผู้ที่ดูแลเรื่องนี้คือสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้แทนคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท.) สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันมีการใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2551 มาตรา 3 บัญญัติให้ วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม หมายถึงวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขานิวเคลียร์ สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการควบคุมมลพิษ สาขาการผลิต การควบคุม และการจัดการสารเคมีอันตราย และสาขาการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์และการใช้จุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค ทั้งนี้บุคคลที่จะประกอบวิชาชีพในสาขาดังกล่าวต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สชวท.) และมาตรา 41 ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม โดยมิได้รับใบอนุญาติจากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เว้นแต่เป็นการกระทำในอำนาจหน้าที่ในฐานะข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งนี้ผู้ประกอบวิชาชีพ ดังต่อไปนี้ต้องได้รับอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดังนั้นแสดงว่าดำขำเป็นเจ้าหน้าของรัฐก็ไม่ต้องสอบวิชาชีพ แต่หาก ม.อ. ออกนอกระบบ เราจำเป็นต้องสอบวิชาชีพหรือไม่ อันนี้ก็น่าสงสัยอยู่นะค่ะ ซึ่งในการขอรับใบอนุญาตมีตัวอย่างขั้นตอนดังนี้ค่ะ
วิธีการสมัครขอรับใบอนุญาตฯ สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ
ให้ผู้ที่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรืออยู่ระหว่างสมัครสมาชิก ดำเนินการสมัคร ดังนี้
1. ลงทะเบียนออนไลน์ ( Clik ลงทะเบียน)
2. ยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมหลักฐานแสดงคุณสมบัติตามประกาศ ดังนี้
- ประเภทผู้ชำนาญการ Download
- ประเภทผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (ขอแก้ไข) Download
- ประเภทผู้ควบคุมมลพิษทางน้ำ อากาศ และของเสียอันตราย Download
- ประเภทผู้ควบคุมมลพิษเสียงและความสั่นสะเทือน Download
- ประเภทผู้ควบคุมขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล Download
***การยื่นเอกสารสมัครขอรับใบอนุญาตฯให้ดำเนินการตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2558***
3. เมื่อผู้สมัครดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะจัดส่งหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ให้ท่านทางไปรษณีย์ต่อไปภายใน 30 วันทำการนับแต่ได้รับการอนุมัติให้ได้รับใบอนุญาตฯ ทั้งนี้ การออกหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ดังกล่าวนั้นเนื่องจากกฎกระทรวง เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ยังไม่ประกาศใช้จึงไม่สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฯ ได้ และสภาวิชาชีพฯ จะออกใบอนุญาตให้ท่านต่อไปเมื่อกฎกระทรวง เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตมีผลบังคับใช้
4. ผู้สมัครขอรับใบอนุญาตฯ ในแต่ละประเภทดังกล่าวข้างต้นต้องรับผิดชอบในการตรวจสอบและรับรองตนเองว่า เป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามประกาศคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ ในแต่ละประเภทที่ผู้สมัครเกี่ยวข้อง และต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆ ให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามความเป็นจริง ในกรณีที่มีความผิดพลาดอันเกิดจากผู้สมัคร หรือตรวจพบว่าเอกสารหลักฐาน ซึ่งผู้สมัครนำมายื่นไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามประกาศ สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะถือว่าผู้สมัครเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ทางสภาวิชาชีพฯอาจระงับการอนุมัติการให้ใบอนุญาตนั้นได้
http://www.cstp.or.th/index.php/page/post/87
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « มาตรฐานของห้องปฏิบัติการ
- ใหม่กว่า » เล่าความต่อกับร่วมประชุมมสัมมนาก...
ความเห็น
![]() |
ขอสอบถามนะคะ
ถ้าเราได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ควบคุมมลพิษหลังจากวันที่ 3 ตุลาคม 2558
แบบนี้เราสามารถยื่นเรื่องขอรับใบอนุญาตได้ไหมคะ
ขอบคุณคะ
18 ธันวาคม 2558 08:18
#104305
ก๊ยังเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลอยู่นะครับ ก็น่าจะยังไม่ต้องสอบครับ