ความเห็น: 2
self-heating temperature
ดำขำได้รับโจทย์จากลูกค้าเอกชนรายหนึ่งที่ต้องการส่งออกถ่านไม้ แต่สิ่งสำคัญคือเขาเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ที่ไม่ทราบเลยว่าต้องตรวจสอบอะไรบ้าง แต่ก็คุยปรึกษามา ดำขำก็พยายามค้นหารายละเอียดให้ จนได้ข้อมูลและทดสอบคุณภาพของถ่านได้ แต่หลังจากที่เขาคุยกับ shipping ก็มีอย่างหนึ่งที่ shipping ต้องการให้ทดสอบ นั้นก็คือ การทดสอบการติดไฟได้เองของถ่าน (Self heating temperature)
ดำขำบอกได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ได้ยินการทดสอบนี้ แต่ก็ขอบคุณลูกค้าว่าทำให้ดำขำทราบว่าทำไมเขาต้องทดสอบค่านี้ก่อน หลังจากที่พยายามค้นหาข้อมูลเพื่อพยายามทดสอบให้ แต่แล้วก็ไปพบว่าที่กรมวิทยาศาตร์บริการ เขามีการให้บริการ ดำขำลองโทรไปก็ได้คุยกับนักวิทย์ที่ทดสอบรายการนี้ ที่แท้ก็เป็นพี่ที่ดำขำรู้จักนั่นเอง เพราะดำขำเคยทำงานที่กรมวิทย์มาก่อน เลยคุยกันนาน แถมยังเป็นศิษย์เก่า ม.อ. เราด้วย
ในการทดสอบต้องใช้เวลานาน เนื่องจากต้องติดตามว่าที่อุณหภูมิเท่าไร ถ่านไม้จึงไม่ติดไฟได้เองโดยนำตัวอย่างประมาณ 5 กิโลกรัมใส่ในเตาอบตามอุณหภูมิกำหนด และมีสายเทอร์โมคัปเปิล และบันทึกอุณหภูมิด้วยเครื่อง temperature datalogger และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ตามมาตรฐาน United Nation ปี 2009 ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ่านไม้จะติดไฟได้เองประมาณ 200 -250 องศาเซลเซียส ราคาทดสอบ 1600 บาท ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานไหนให้บริการทดสอบนอกจากกรมวิทยาศาสตร์บริการ
เราทราบกันดีว่าเชื้อเพลิงจากถ่านไม้นั้น มีการใช้งานน้อยลง เนื่องจากมการใช้เชื้อเพลิงจากแหล่งอื่นแทน โดยเฉพาะแก๊ส เพราะใช้ง่าย สะดวก รวดเร็วทันใจ แต่แก๊สก็ไม่เหมาะกับการทำอาหารบางอย่าง เช่น ปิ้ง ย่าง จึงยังคงมีการใช้ถ่านไม้ในการปรุงอาหาร ไม่ใช่แค่คนแถบเอเชียที่นิยมใช้ถ่านไ้ในการปรุงอาหาร แถบยุโรปและอเมริกาก็นิยมใช้กัน จึงเป็นสินค้าส่งออกกัน โดยขนส่งทางเรือ เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วมีปัญหาเกิดไฟลุกไหม้เองของถ่านระหว่างการขนส่ง ทำให้เกิดความเสียหายมาก จึงทำให้ต้องตรวจสอบค่าการติดไฟได้เองของถ่าน (Self heating temperature) ก่อนส่งออก
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « เรื่องของรังนก
- ใหม่กว่า » การแก้ปัญหาน้ำกระด้าง
23 กันยายน 2558 09:09
#103902
ช่วยแก้คำผิดของชื่อบันทึกด้วยครับ