comment: 0
VFA -Volatile Fatty Acid ในน้ำเสีย
วันนี้ดำขำได้รับโทรศัพท์จากนักศึกษารายหนึ่งจากจังหวัดตรัง ไม่ใช่เด็กม.อ. เรานะ แต่เป็นนักศึกษาจาก มทร. ศรีวิชัย น้องรู้จักศูนย์เพราะอาจารย์แนะนำ ดำขำก็ไม่ถามต่อหรอกว่า จริง ๆ อาจารย์ของน้องอาจเป็นศิษย์เก่าของ ม.อ. เราก็ได้นะ
แต่เข้าเรื่องเลยดีกว่า สิ่งที่น้องถามมาดำขำยังติดใจอยู่ว่าให้ข้อมูลน้องถูกหรือเปล่า เพราะมันดูจากความหมายแล้วมันไม่เหมาะกับตัวอย่างเลย ดำขำเลยมาหาข้อมูลเพิ่ม
ก็จริงอย่างที่คิด สิ่งที่น้องถามหาคือการทดสอบหาค่า VFA (Volatile Fatty Acid) ในน้ำเสียจากโรงงานแป้ง ซึ่งถ้าดูแล้วก็น่าจะใช้ GC แต่การทดสอบตัวอย่างในน้ำเสียดำขำก็เจอเขาใช้ได้หลายวิธีนะ แต่ที่คิดว่าจะเหมาะสมที่สุดกับตัวอย่างน้องน่าจะเป็นการไตเตรต
ซึ่งปกติค่านี้จะเป็นการตรวจสอบน้ำเสีย เพื่อการผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ โดย
VFAs (Volatile Fatty Acids) - เป็นผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายโดยไม่ใช้อากาศ โดยเมื่อสร้างกรดเสร็จแล้ว แบคทีเรีย จะเข้ามาย่อยสลายกรด ให้กลายเป็นก๊าซชีวภาพ(ก๊าซมีเทน)
การวิเคราะห์หาค่า VFA เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อระบบผลิตก๊าซชีวภาพเป็นอย่างมากเพราะเป็นค่าที่บ่งบอกถึงสภาพความเป็นกรดของน้ำเสียที่ก้นบ่อและจะต้องไม่สูงกว่า 85 mg/l
วิธีการทดสอบทำได้โดยนำตัวอย่างน้ำไปต้มจนเดือด จากนั้นทิ้งไว้ให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง แล้วนำมาไตเตเตรตด้วย 0.0025 N NaOH จนถึงจุดยุติ pH=7 ซึงต้องใช้ magnetic bar คนตลอด 60 รอบต่อนาที และจดปริมาตรของ NaOH ที่ใช้
คำนวณหาค่าความเป็นกรดของน้ำเสีย (Volatile Fatty Acid)
จาก Volatile Fatty Acid= BXNX50X1000
Value of water
Volatile Fatty Acid คือ สภาพความเป็นกรด
B คือปริมาตรสารละลายกรดมาตรฐานที่ใช้ในการไตเตรตจนถึงจุดยุติที่ pH = 7 (ml)
N คือ นอร์มันลิตี้ของสารละลายกรด NaOH ความเข้มข้น 0.025 นอร์มัน
Value of water คือ ปริมาตรตัวอย่างที่ใช้ (ml)
พรุ่งนี้น้องเขาจะส่งตัวอย่างมาทางรถตู้ ทั้งตัวอย่างแป้งด้วยซึ่งอันนี้หาปริมาณไนโตรเจนอย่างเดียว ดำขำคิดว่าต้องคุยเรื่องวิธีการทดสอบกับน้องใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะยังไง เราก็จะทดสอบให้น้องให้ได้ค่ะ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การทดสอบหาค่าความเค็มในน้ำ
- ใหม่กว่า » PT กับการประกันคุณภาพ
Comment on this Post