ความเห็น: 3
การใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในการตัดสินใจ: กรณีศึกษา brochure
9 พ.ค. 2558 เช้าและเข้าที่ทำงานเพื่อสะสางงานที่ยังค้างอยู่ (ค้างแบบอมตะนิรันดร์กาล) ซึ่งน่าจะค้างตลอดไปจนกว่าจะเลิกทำงาน
เจอข้อมูลที่ส่งมาเพื่อขอความเห็นในการจัดทำ brochure เป็นในเสนอราคาดังนี้
จำนวนสั่งทำ |
ราคาต่อหน่วย |
ราคารวม |
500 |
32.50 |
16250 |
1000 |
22.00 |
22000 |
1500 |
17.40 |
26100 |
2000 |
16.25 |
32500 |
ผมมีความรู้สึกแปลก ๆ ว่า เราน่าจะหาความสัมพันธ์ของโครงสร้างราคานี้ได้ หากคิดในตรรกะ ราคาสินค้าน่าจะมาจากต้นทุนที่เป็น fixed cost และ operating cost โดย operating cost แปรตามจำนวนที่สั่งทำ โมเดลนี้คล้ายกับการสั่งทำเสื้อยืดที่มีการ screen ซึ่งจะมีค่า block เพิ่มตามจำนวนสีเป็น fixed cost แต่ในกรณีเสื้อยืดนี้ กำไรน่าจะแฝงอยู่ในจำนวนเสื้อมากกว่า แต่ในกรณี brochure นี้ผมคิดว่ากำไรน่าจะอยู่ใน fixed cost
ผมอยากให้บุคลากร SEC ลองคิดดูนะครับ โดยเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อว่า เราควรเลือกกรณีใด
และหากเราจะตั้งราคาค่าบริการ เราควรตั้งในราคาแบบนี้หรือไม่?
ผมคิดแล้วตัวเลขนี้แปลก ๆ ครับ ผู้เสนอราคาดูเหมือนว่าไม่มี systematic thinking มากนัก
ผม..เอง (แมววิชาการบ้างก็ได้)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การสร้างคุณค่าของตัวเองและองค์กร
- ใหม่กว่า » ตาแก่ขี้บ่น
ความเห็น
ครับท่านสมาน ดูจากข้อมูลแล้ว 2000 หน่วยแพงกว่า 1500 หน่วย ซึ่งไม่น่าจะถูกต้องตามหลักเศรษฐศาสตร์ และนั่นคือประเด็นที่ผมอยากให้บุคลากรที่รับผิดชอบได้คิดวิเคราะห์เองได้ครับ มิใช่จะเลือกจากราคาต่ำสุด 16.25 บาท ซึ่งผมเห็นว่าเป็นค่าลวงตา หรือต้องต่อรองราคาลงมาเพื่อให้สมเหตุสมผลมากกว่านี้
16 มิถุนายน 2558 15:27
#103222
อ่านบันทึกนี้แล้วลองไปคิดดู
ประมาณคร่าวๆ ค่าบล็อก (อาจจะรวมค่าออกแบบเข้าไปด้วย) 11,000 บาท ส่วนค่ากระดาษและสี ตกแผ่นละ 10.57 บาท ก็จะได้ประมาณนี้ค่ะ