ความเห็น: 2
ให้วันเวลาที่ผ่านไปอย่างมีความหมาย
เสาร์ 8 มีนาคม 2558 เข้ามาทำงานที่ค้างอยู่ เพื่อให้สามารถเริ่มงานใหม่ในวันจันทร์ได้อย่างสบายใจ
ทำเสร็จแล้วสบายใจขึ้นอย่างมาก คงนอนหลับได้สบายเพราะได้เตรียมพร้อมสำหรับสัปดาห์ต่อไปไว้แล้ว เพราะหัวหน้าต้องไม่ทำตนให้เป็น "คอขวด" ที่ช้าเพราะขั้นตอนของตนเอง แต่ควรทำตนเป็น "สารหล่อลื่น" เพื่อให้ระบบงานเดินไปได้อย่างลื่นไหล
กลับมาอ่าน How to Conquer the Problem อีกครั้ง วันนี้ขอนำเสนอจดหมายภายในของ apple เป็นประเด็นเด่น
ในโลกนี้มีงานที่ทำโดยไม่ต้องคิดและงานที่ใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน ซึ่งเป็นงานที่มือของคุณจะต้องสัมผัสไปทุกที่ ไม่สามารถประนีประนอมด้วยคำว่าแค่นี้ก็พอแล้ว แล้วก็ต้องเสียสละและยินดีที่จะเสียสละวันหยุดสุดสัปดาห์ได้ เพราะบริษัทแอปเปิลทำงานแบบนี้ คนทำงานที่นี่ไม่ได้มาทำงานด้วยความรู้สึกว่าปลอดภัย แต่พวกเขามาเพื่อดูขีดความสามารถของตัวเอง พวกเขาอยากให้งานตัวเองผ่านไปอย่างมีความหมาย เพราะเหตุนี้ความยิ่งใหญ่จึงเกิดกับบริษัทแอปเปิล แต่ไม่เกิดกับที่อื่น
จดหมายนี้มีพลังอย่างมากมาย และผมก็ชอบคำว่า "อยากให้งานตัวเองผ่านไปอย่างมีความหมาย" และ "ให้วันเวลาที่ผ่านไปของผมได้ถูกใช้ไปอย่างมีความหมาย" เช่นกัน
และประเด็นรองก็คือ เราคงต้องพยายามถามตัวเองบ่อย ๆ ว่า ความคิดและการกระทำของคุณเป็น down force หรือ up force สำหรับทีมงานแล้วละครับ
ที่ผมเคยอ่านเจอมาก่อนคือเราได้ inspire บุคคลอื่นอยู่สม่ำเสมอหรือไม่ ซึ่งหน้าที่การ inspire เป็นหน้าที่ของผู้นำหรือหัวหน้าครับ
ในองค์กรที่ "คิมซองโฮ"บอก จะแบ่งบุคลากรออกเป็น 4 ประเภท คือ
- แบบนักวิจารณ์: ในบริษัทที่ล่มสลายมักเต็มไปด้วยนักวิจารณ์ที่เอาแต่กอดอกดูอย่างเดียว
- แบบเฉื่อยชา: แม้แต่การโต้แย้งเพื่อหาคำตอบก็ยังทำไม่ได้
- แบบหัวดื้อ: พุ่งไปข้างหน้าโดยไม่คิดหรือเตรียมการอะไรก่อน
- แบบนักแก้ปัญหา: หาคำตอบที่ควรจะเป็น
หนังสือนี้ยิ่งอ่านยิ่งสนุกครับ เพราะหลายประเด็นแทงใจแบบตรง ๆ ที่วัฒนธรรมไทยไม่กล้ากระทำหรือบอกกล่าวกัน
ขอเวลากับการแสวงหาความสุขกับการอ่านก่อนนะครับ
ผม..เอง (แมวฟิน)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ปฏิรูปการรับรู้
- ใหม่กว่า » ทักษะที่สำคัญจากบทเรียนของ JAL
12 มีนาคม 2558 16:22
#102266
เห็นข่าวนี้แล้วคิดถึงบันทึกนี้ของอาจารย์เลยค่ะ