ความเห็น: 1
หากต้องแข่งขันเรามีสมรรถนะหลักใดที่โดดเด่น?
ด้วยความที่เราเป็นองค์กรภาครัฐ มีความมั่นคง การคิดในประเด็นการแข่งขันจึงน้อยมาก และถ้าสังเกตให้ดีเมื่อมีการ ranking กัน อันดับของเรามักมีแนวโน้มที่ต่ำลงไปเสมอ
ผมคิดว่าส่วนหนึ่งมาจากการตื่นของประเทศจีน ranking เดิมอาจมีบางประเทศที่ไม่ได้ส่งข้อมูลเข้าร่วมจัดอันดับ เราจึงอยู่ในอันดับที่สูง แต่เมื่อสถาบันต่าง ๆ ส่งข้อมูลให้กับองค์กรที่ทำการจัดอันดับมากขึ้น เราก็เลยลดอันดับลงมา
องค์กรสมัยใหม่ต้องมี ความรู้ ความยืดหยุ่น ความรวดเร็ว พลัง และความสามารถในการเรียนรู้ที่มากกว่าเดิม (การพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้: กานต์สุดา มาฆะศิรานนท์, 2557) และโดยโครงสร้างของภาครัฐ ความยืดหยุ่นและความรวดเร็ว จะไม่สามารถทำได้เลย ดังนั้นการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับจะแก้ปัญหาในจุดนี้ได้ดียิ่งขึ้น
ในปัจจุบัน กูรูส่วนใหญ่ให้น้ำหนักไปที่ "ทรัพยากรบุคคล" เป็นสมรรถนะหลักที่สำคัญที่สุด มากกว่า money, method หรือ material เพราะนวัตกรรมจากความคิดสร้างสรรค์ทรงพลัง และโลกเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็วแล้ว การซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้อย่างสะสวกรวดเร็ว
SEC เป็นหน่วยงานบริการที่ต้องตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ ๆ ว่า องค์กรของเราเองมีอะไรเป็น "Core Competency" ที่จะสามารถไปแข่งขันกับโลกภายนอกได้ มีอะไรเป็นจุดอ่อนที่ขัดขวางความสามารถในการแข่งขันของเรา เช่น กฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวย สถานที่ หรือทัศนคติของเราเอง
SEC เพิ่งจัดการประเมินบุคลากรครั้งที่ 1/2558 เสร็จสิ้นไปแล้ว ก็จะต้องมีการเรียนรู้ (Learning) และบูรณาการ (Integration) กันที่ดำเนินการตามแนวทาง Continuous Improvement การบริหารบุคคลก็ต้องอาศัยหลักการที่จะต้องบริหารเพื่อตอบสนองต่อ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ขององค์กรก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นเรื่องปกติธรรมดา
บางครั้งการเป็นผู้นำก็พบปัญหาที่ลำบากใจว่า จะต้องเลือกว่า บริหารให้บุคลากรรักหรือบริหารเพื่อความก้าวหน้าขององค์กร ซึ่งอาจมีคำตอบว่าก็ทำให้ได้ทั้ง 2 ประเด็นซิครับ คำตอบประเภทนี้มักมาจากบุคคลที่อยู่ในโลกของความฝันครับ เหมือนกับวาระ"ปรองดอง"แห่งชาติ เพราะในความเป็นจริงนั้น Uthopia ไม่มีอยู่จริงครับ
ผม..เอง (แมวลำบากใจ..อีกแล้ว)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ไม่มีใครวางแผนงานที่สมบูรณ์แบบได...
- ใหม่กว่า » ข้อคิดจากกรณีศึกษา Japan Airlines
01 มีนาคม 2558 14:04
#102142
ตามmanagerial grid แล้ว Team Leadership – High Production/High People ดูเหมือนจะเป็น style การบริหารที่ดีที่สุด แต่ในทางปฏิบัติก็เกิดยากที่สุด นักบริหารส่วนใหญ่จึงพยายามทำเพียงแค่ Middle-of-the-Road Management – Medium Results/Medium People เพราะสามารถตอบสนองทั้งความต้องการขององค์กรและความต้องการของบุคลากรได้ แม้ว่าจะไม่เต็มร้อย แต่ก็ทำให้องค์กรก้าวหน้าได้ ลูกน้องก็มีความสุขระดับหนึ่งค่ะ