ความเห็น: 1
ทฤษฎีความผูกพัน: พ่อแม่ควรรู้
500 ล้านปีของความรัก 02 นำพาผมไปรู้จักกับ Attachment Theory ที่น่าสนใจอีกด้วย
เมื่อจุดประเด็นให้คิดว่าทำไมเด็กจำนวนมากจึงติดของรักสุดหวงที่เป็นดังผ้าขี้ริ้วแล้ว แม้จะเปลี่ยนของใหม่ให้ก็ไม่ยอม ก็จึงกลับมาที่การพิสูจน์ว่า "ทารกต้องการความรัก"
ในยุคนี้เรามักจะรู้แล้วนะครับว่าเด็กต้องการความรัก ความสนใจตั้งแต่เล็ก แต่ในยุคหนึ่งในประมาณหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น มีแนวคิดว่า อาหาร น้ำ ที่พักเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นจึงไม่ต้องอุ้มเมื่อร้องหากคิดว่ากินอิ่มแล้ว และไม่มีภัยเช่นมดกัด เตียงแฉะ ก็ปล่อยให้ร้องไป มิฉะนั้นเด็กจะเสียนิสัยต้องการคนโอ๋อยู่ร่ำไป
แต่มีการสังเกตุและการวิจัยจำนวนมากบอกว่า เด็กที่ถูกพรากจากพ่อแม่จะมีพฤติกรรมที่ซึมเศร้าผิดปกติ ไม่เติบโตอย่างที่ควร เหมือนเด็กในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่ต้องการความรักจากผู้ที่มาเยี่ยม หรือบางครั้งเศร้าเมื่อผู้มาเยี่ยม เล่นด้วย กลับไป
Attachment Theory บอกว่า เด็กปรับตัวกับการแสดงออกของพ่อแม่ตลอดเวลา และนิสัยที่จำเป็นของเด็ก (นิสัยที่จำเป็นของมนุษย์ด้วย) คือ การค้นหาสิ่งใหม่และการต้องการความปลอดภัย
ลองคิดภาพในอดีตนะครับ เมื่อพาลูกไปเจอของเล่นใหม่ ๆ ลูกจะดีใจที่ได้พบสิ่งใหม่ เล่นกับสิ่งใหม่ แต่ไม่นานก็จะหันมาหาแม่-พ่อว่ายังอยู่หรือไม่ อาจคลานกลับมากอดพ่อ-แม่ แล้วก็กลับไปสำรวจต่อ ตรงนี้ที่สำคัญคือ หากพ่อ-แม่ดูแลดีพอ เด็กก็จะเติบโตขึ้นอย่างมั่นใจ อยู่ในระบบที่ดี พวกนี้เป็นเด็กที่ผูกพันแบบ secure attachment เป็นเด็กมีคุณภาพครับ
หากพ่อแม่ไม่มีเวลาหรือแสดงอาการไม่สนใจ เด็กก็จะแสดงอาการไม่สนใจแม่ ไม่ร้องไห้และไม่ดีใจไม่ว่าแม่จะอยู่หรือไม่ เพราะเด็กสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง กลุ่มนี้เรียกว่ากลุ่ม avoidant ซึ่งก็จะไม่ผูกพันกับใครง่าย ๆ ประเภทอยู่คนเดียวดีกว่า
แต่หากพ่อ/แม่มีการแสดงออกไม่แน่นอน เช่นเดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เด็กก็จะงง ๆ ทำตัวไม่ถูก ไม่กล้าออกไปสำรวจโลก อาจจะติดพ่อ/แม่ไปเลย แม่ไปไหนก็ไม่ได้จะตามอยู่ตลอดเวลา ขาดความมั่นใจในตัวเอง กลุ่มนี้เรียกว่า ambivalent
กลุ่มสุดท้ายแย่หน่อยเมื่อเจอพ่อ/แม่ขาโหด ถูกทารุณกรรม เช่นแม่ติดยา ขู่ตะคอก ระบบความผูกพันจะรวนเร ทั้งอยากเข้าไปกอด แต่ก็กลัวจะถูกทำร้าย กังวลไปหมด กลุ่มนี้อาจมีน้อยจัดเป็นพวก disorganized
สิ่งที่เป็นในวัยเด็กจะติดตัวไปด้วยเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สถิติบอกว่ามีความเป็นไปได้ถึง 72% ดังนั้นการดูแลลูกในวัยเด็กจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ลูกจะมีวินัยหรือไม่ก็สร้างกันช่วงนี้เป็นหลัก
ความรู้เกี่ยวกับมนุษย์เหล่านี้น่าสนใจนะครับ สังคมอยู่ด้วยความรัก ความเข้าใจ ไม่ได้อยู่ด้วยความเกลียดชัง ผู้ที่มีความเกลียดชังจึงเป็นผู้ที่น่าสงสาร เพราะเขาอยู่กับยาพิษที่จะกัดกร่อนจิตใจไปตลอดเวลา
มองโลกด้วยมุมมองแห่งความจริง ความรัก ดีกว่ามองโลกด้วยอคติที่เราสร้างขึ้นน่าจะดีกว่า
ผม..เอง (แมวมีความผูกพัน)
Other Posts By This Blogger
- Older « ดีมาก็ดีตอบ ร้ายมาก็ร้ายไป (tit ...
- Newer » ยาขม
14 November 2014 00:29
#100607
ถูกต้อง คนที่คอยแต่อิจฉาริษยาผู้อื่น คอยแต่จะข่มคนอื่น และคิดร้ายต่อผู้อื่นเป็นบุคคลที่น่าสงสาร เพราะคนประเภทนี้ หาคนที่จะมาจริงใจด้วยยาก เพราะแม้แต่ตัวเองก็ยังไม่มีความจริงใจที่จะมอบให้ใครเลย