ความเห็น: 1
สังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทร
แผนพัฒนาของไทยใส่หลักนโยบายนี้ไว้ร่วมกับ การเป็นสังคมคุณภาพ และสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
แต่บางครั้งอัตตา (ตน) ที่เรามีก็ทำให้ข้อนี้เป็นจริงได้ยาก
พวกเรามักมองว่าตัวเองไม่ผิด คนอื่นผิดมากกว่า ดังคำกล่าว
ความผิดคนอื่นเห็นเท่าภูเขา ความผิดเราเห็นเท่าเส้นผม
ผมเคยให้สัมภาษณ์นักข่าวโดยคิดว่าพูดไปอย่างชัดเจนแล้ว แต่ข่าวที่ออกมาก็ผิดไปอีกจนได้ ท้ายที่สุดก็มาดูที่ตัวเองว่าพลาดไปเองที่ใด ก็พบว่าอาจจะดีกว่าถ้าหากเราพิมพ์ข้อมูลแจกให้นักข่าวไปเลย การมองตนเองบ่อย ๆ การค้นหาว่าตนเองทำพลาดที่ใดผมว่าตัวเองได้นะครับ เพราะจะได้ทำได้ดีกว่าเดิม การมองว่าผิดที่ผู้อื่นตัวเองจะเกิดการพัฒนาได้อย่างไร
สังคมดีไม่มีขายอยากได้ต้องสร้างเอา
สร้างอย่างไรละครับ ให้คนอื่นปรับเข้าหาเรา เราปรับเข้าหาเขา หรือต้องปรับกันทุกคนครับ ค่านิยมองค์กร (shared value) จะสร้างได้อย่างไร บางครั้งผมมองสังคมเหมือนครอบครัว ผู้นำต้องรับผิดชอบทุกอย่าง เด็ก ๆ บางคนเอาแต่ใจตัวเอง วานให้ไปซื้อของก็บอกเหนื่อย ไม่ไป ไม่ทำ ผู้นำก็ต้องให้อภัย ภาวนาขอให้เด็กโตเป็นผู้ใหญ่เสียที ต้องอดทน ต้องรอคอยครับ
การให้เป็นความสุขมากกว่าการรับครับ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « อิจฉา ทำไมต้องมีด้วย
- ใหม่กว่า » Change Management...การเปลี่ยนแป...
20 ตุลาคม 2550 21:42
#389