ความเห็น: 8
คิดแบบองค์รวม (1) : กรณีศึกษา SE-ED
วันนี้ไปซื้อหนังสือจาก se-ed มา 3 เล่ม ตอนเดินออกจากร้านถามตัวเองว่าทำไม se-ed จึงประสบความสำเร็จกว่าเจ้าถิ่น
se-ed เป็นบริษัทจากส่วนกลางแต่มาตีเจ้าถิ่นเดิมได้ อะไรเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ?
วิเคราะห์เอาเองนะครับว่าจะมาจากการเห็นการณ์ไกล และการปรับตัวอย่างรวดเร็วของบริษัท
ผมเคยอยู่ในวงการร้านหนังสือหาดใหญ่มาก่อน หาดใหญ่มีเอเย่นต์อยู่ 4 รายคือ แพร่วิทยา บรรณาคาร ทรัพย์ภัณฑ์ และมนูสาสน์ แพร่วิทยาเคยไปเปิดสาขาที่ Lee Plaza แต่ดูเหมือนจะขายกิจการไปแล้ว
บริษัทจากส่วนกลาง “นายอินทร์” เคยเปิดที่หน้าสถานีรถไฟ (ปิดไปแล้ว) ดวงกมลเปิดหน้าสถานี แต่ se-ed เปิดตาม Carrefour, Lotus, Big C, ไดอาน่า และ B2S เปิดที่ เซ็นทรัล และโรบินสัน
ผมเคยซื้อหนังสือทุกที่ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด แต่ระยะหลังซื้อที่ se-ed carrefour กับ lotus มากที่สุดเพราะมีความสะดวกที่ไม่เสียเวลามาก
เวลาคือทรัพยากรมีค่าที่ทุกคนมี24 ชั่วโมงต่อวันเท่ากัน แต่ใช้ต่างกัน
se-ed ใหญ่มากนะครับ รบกับไทยรัฐได้ (สังเกต ไม่มีไทยรัฐขายที่ se-ed )
ผมว่า se-ed เข้าใจธรรมชาติของคนดี จับตลาดถูกว่า Hyper-market คือทางเลือกของคนในปัจจุบัน
ทำเล ทำเล และทำเล คือจุดขายของ se-ed ครับ ผมว่าระบบการจัดการของเอเย่นต์ท้องถิ่นก็ไม่ได้ด้อยกว่ามาก ทุกแห่งมีระบบคอมพิวเตอร์, bar-code ใช้หมด แต่การมองไกลและสายป่านไม่เท่ากัน (เอเย่นต์หนังสือไม่มีคำว่าขายทุนครับ)
ระบบราชการบริหารเวลาแบบไร้ประโยชน์มากไป ระเบียบโบราณหยุมหยิมมากไป วันดีคืนดีก็ยกระเบียบเก่าเรื่องการใช้เลขไทยขึ้นมาบังคับใช้ ใช้อำนาจบังคับว่าจะไม่รับเรื่องถ้าไม่ใช้เลขไทย โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่เกิดจากความล่าช้าที่เกิดขึ้น เอาระเบียบมาจับบังคับกันเข้าไป
ถ้าเราสนใจแต่ต้องทำให้กระบวนการ (process) ถูกต้องตามระเบียบอย่างเดียว โดยไม่ยืดหยุ่นบ้างก็ลำบาก เพราะ output อาจมีต้นทุนสูง outcome เลยเกินเวลาที่กำหนด แต่ระบบราชการใครจะไปสนใจ เสียหายก็เงินประชาชน(ไม่ใช่เงินจากกระเป๋าเราสักกะหน่อย) เราตรวจสอบถี่ถ้วนเพื่อป้องกันการรั่วไหลจำนวน 5 บาทจากร้อยบาท แต่ไม่เคยคิดว่าค่าตรวจสอบแบบถี่ถ้วนอาจมีมูลค่าสูงถึง 20 บาทต่อร้อยบาทได้ (คิดในหลายมิตินะครับ)
ที่เขียนบล็อกเยอะๆ อย่างนี้อย่าเพิ่งคิดว่า เขียนเพื่อถากถางทางเพื่อเป็นผู้บริหารต่อนะครับ (กลัวจริงๆ กับความคิดของคน) ผมกำลังจะเดินลงจากเนินเขาแล้วครับ (อยากเล่นเทนนิสให้สนุกทุกวัน) แต่อยากแสดงความคิดเห็นเอาไว้ก่อนที่แสงไฟจะหรี่ไปและแรงใจจะหมด
ได้หนังสือ “เข็มทิศชีวิต กับ the secret” มาอ่านครับ เขาบอกว่า the secret เป็นแนวธรรมะตะวันตก มาเปรียบเทียบกับธรรมะตะวันออก ซึ่งกำลังอยากอ่านด้วยใจอันระทึก (ว่าไปเข้านั่น)
แล้วจะมาเล่าให้ฟังต่อครับ
ผม..เอง
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « กบในกะลา: เราไม่ยอมรับว่าตนเองมี...
- ใหม่กว่า » พ่อแกะหลงทาง
ความเห็น
![]() |
นายอินทร์ยังอยู่นะครับ
แต่ที่เคยเปิดและปิดไปแล้วคือ "ดอกหญ้า" ครับ
ที่เดียวกะนายอินทร์ปัจจุบันนั่นแหละครับ ^_^
ปล. รู้สึกว่า ศูนย์หนังสือ ม.อ. เนี่ยก็เปิดได้ไม่นานเหมือนกันครับ
ปล.2 Secret เนี่ยรู้สึกว่าเป็นหนังสือขายดี แหะๆ ถ้าไม่รังเกียจ ผมขออนุญาตยืมอ่านด้วยนะครับ ^_^
ถ้าอาจารย์สนใจหนังสือธรรมะนะคะ
แนะนำงานของท่าน ว.วชิรเมธี
ท่านเขียนไว้น่าอ่านหลายเล่มทีเดียวค่ะ
มีเสียงให้ load ฟังได้ด้วยค่ะ ที่นี่เลย
เข็มหมุด recommended!!! ค่ะ
ขอบคุณครับคุณ Hum ที่แก้ไขให้
ผมพอรู้จักท่าน ว.วชิรเมธี แต่ตอนนี้ขอเดินข้างๆวัดก่อนครับ
แต่อ่านเข็มทิศชีวิตไปเกือบจบแล้วนา น่าอ่านมาก
- คนเราถูกสร้างมาด้วยจุดประสงค์ไม่เหมือนกันนะคะ..คนบางคน..อาจเกิดมาเป็นผู้บริหารไปตลอดซีวิดก็ได้นะค๊า...อิอิ..
- แต่ชอบจังที่อาจารย์บอกว่า..บางทีใช้เงินไปเยอะกว่า ในการตรวจสอบเงินที่อาจรั่วไหลซึ่งเป็นเงินน้อยกว่า...แล้วเมื่อไหร่จะปรับเปลี่ยนได้ซะทีคะเนี่ย...
- เลยพาลไปนึกถึงปัญหาใกล้ตัว..อย่างเช่น ใบเสร็จงานวิจัยนะคะ...งบเป็นล้าน ก็ต้องมีใบเสร็จให้ครบ มันจะกี่ใบกันละนี่...แล้วจะเก็บไว้ให้ใครดูหนอ...(อย่างน้อย 10 ปีอีกต่างหาก จำเป็นขนาดไหนที่ต้องดู) สมัยที่ทำ ปอเอก เค้าตัดงบให้แล้วก็คือให้เลย (ก็ในเมื่อพิจารณาแล้วว่างานนี้ควรใช้เงินเท่านี้ว่ามันเหมาะสม ก็ตัดให้มาเลย) แล้วก็ไม่เคยต้องเรียกดูใบเสร็จ...แต่ดูที่ผลงานสำเร็จมากกว่า...เอาเวลาจัดการใบเสร็จไปทำอย่างอื่นได้อีกตั้งเยอะ (รึจะเอาไปเล่นเทนนิสให้สุขภาพแข็งแรงก็ยังได้)...จริงมั้ยคะ
09 ธันวาคม 2550 18:59
#4049
อาจารย์ขาทำไมคนที่อยู่บนเขาถึงอยากลงมา
แต่คนที่อยู่บนดินอยากจะขึ้นไปละ