ความเห็น: 0
ตัวเชื่อมวิเคราะห์สารอินทรีย์ระเหย จากวัสดุใกล้ตัว Part 2
จากบันทึกก่อนหน้า เรื่อง ตัวเชื่อมวิเคราะห์แก๊สจากวัสดุใกล้ตัว Part I
ก็เดินทางต่อมาโรงงานที่ 2 โดยโรงงานนี้สนในสารอินทรีย์จากปล่องบำบัดกลิ่นว่ามีมากน้อยแค่ไหน จุดเก็บเลยมี 2 จุด คือปล่องแก๊สก่อนบำบัดกับหลังบำบัด
งานนี้สารที่สนใจมีปริมาณน้อยใช้วิธี passive ให้สารเข้าถุงเก็บไม่ได้ เพราะความเข้มข้นของเนื้อสารที่หาน้อยมาก เลยเลือกใช้วิธี Active ใช้ Pump ดูอากาศผ่านตัว trap เพื่อดูดซับสารอินทรีย์ให้ได้มากขึ้น แล้วค่อยมาทำการคายการดูดซับด้วยตัวทำละลาย ก่อนวิเคราะห์ด้วยเครื่อง GC-MS ต่อไป
ปัญหาที่พบคือ ช่องที่สามารถดูสารได้ของปล่องขนาด 3 เซนติเมตรซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าปลายดูดสารข้าวของตัว Trap มาก (เล็กกว่า 0.3 เซนติเมตร)
พอดีตอนนั้นกำลังกินน้ำอัดลมแก้ร้อนอยู่พอดี เห็นขนาดฝาขวดพอ ๆ กับช่องของปล่อง ลองเอามือไปทาบปล่อง สนิมที่ติดฝามือมา เท่ากับขนาดฝาขวดพอดี แสดงว่าใช้ฝาขวดเป็นตัวเชื่อมได้
หน้าตาของออกมาแบบนี้ใช้แรงนิดหน่อยก็ใส่เข้าไปได้ ส่วนตัว trap ใช้ 2 ชิ้น อันหนึ่งเป็นทางดูดสารจากในปล่องสู่ตัว trap อีกอันเป็น blank ดูดอากาศบริเวณนั้น
Pump ดูดอากาศให้สารอินทรีย์เข้าสู่ตัว Trap ก็แขวนได้ข้างบนด้วยเลย รอเวลาเหมาะสมก็ปิดจุกตัว trap ทั้งหัวและท้ายเก็บกลับมา ทดสอบที่แลปต่อไป
ปล.
1. บันทึกก่อนหน้า ตัวเชื่อมวิเคราะห์แก๊สจากวัสดุใกล้ตัว Part I
2. ขอบคุณวิศวกรศูนย์เครื่องมือ ฯ ที่ซ่อมปั๊มให้ ทำให้สามารถเปิดต่อเนื่องได้เกิน 2.5 ชั่วโมง
3. ขอบคุณเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมบริษัทที่ขึ้นปีนแท๊งด้วยกัน
สนใจทดสอบติดต่อ
สามารถโทรมาสอบถามได้ที่
โทร: 074-286904-10 Fax: 074-212813
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
http://www.sec.psu.ac.th
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ตัวเชื่อมวิเคราะห์แก๊สจากวัสดุใก...
- ใหม่กว่า » ชุดเครื่องมือเก็บตัวอย่างอากาศที...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้