ความเห็น: 0
ไฟดับ 3 วัน ติดต่อกันเครื่อง LC/MS ขอหยุดพักผ่อนด้วย
สัปดาห์ที่ผ่านมาฟ้าฝนไม่เป็นใจเลย ตกทุกวัน จนตอนนี้ หวัดรับประทานไปเรียบร้อยแล้ว
อีกทั้ง ไฟก็ ดับบ่อยมาก ส่งผลต่อเครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หลายเครื่องด้วยกันต้อง Restart เครื่องใหม่ตลอดๆ
เครื่อง LC/MS
LC-MS เป็นเทคนิคขั้นสูงสำหรับการวิเคราะห์สารที่มีความซับซ้อน ตัวอย่างจะถูกแยกให้บริสุทธิ์ด้วยคอลัมน์ (Column) โดยเทคนิคที่เรียกว่า โครมาโตกราฟีชนิดของเหลว (Liquid Chromatography, LC) จากนั้นสารบริสุทธิ์จะถูกตรวจวัดด้วยเครื่องแมสสเปกโทรมิเตอร์ (Mass Spectrometer) โดยตัวอย่างจะถูกทำให้แตกตัวเป็นไออนด้วยวิธีต่างๆ เช่น Electrospray Ionization (ESI), Atmospheric Pressure Chemical Ionization (APCI) สามารถวิเคราะห์มวลของไอออนที่เกิดขึ้นด้วยวิธี Time of Flight (TOF) ซึ่งสามารถบันทึกค่ามวลของไอออนได้ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว แต่ให้ผลการวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้
LC-MS ใช้ในการศึกษาน้ำหนักโมเลกุลและอธิบายโครงสร้างทางเคมี (Structure Elucidation) ของสารได้ และสามารถวิเคราะห์สารหลายชนิด เช่น ยาและเมแทบอไลท์ของยา ยาฆ่าแมลง ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสารมลพิษ หามวลโมเลกุลของโปรตีน และนอกจากนี้ยังสามารถตรวจวัดมวลแบบ High Resolution ได้ด้วย
บันทึกนี้ขอกล่าวถึงเครื่อง LC/MS ที่ได้รับผลกระทบจากระบบไฟดับ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ย้อนไปเมื่อสัปดาห์ วันที่ 20-22 พ.ย.5
เช้าวันที่ 20 พ.ย.
DaDa มาทำงานเริ่มด้วยการถอด ion source ของเครื่อง LC/MS มาทำความสะอาด
สืบเนื่องจาก ion source สกปรกจากการ รันตัวอย่างมีสี เมื่อวาน (19/11/56) เพื่อจะได้รัน ตัวอย่างต่อไป
ระหว่างขั้นตอนรอทำความสะอาด DaDa ออกรายงานผล LC/MS ที่รันเสร็จเมื่อวาน ที่ห้อง G02
ได้ยิน นุนอนนาน พูดว่า เมื่อคืนไฟดับ นาน เมื่อได้ยินอย่างนั้น
DaDa รีบไปที่ห้อง G01 เพื่อดู LED ไฟระบบ pump ของเครื่อง LC/MS พบว่า ไฟดับสนิทปกติต้องเป็นสีเขียว (ตอนถอด ion sourceไม่ทันได้สังเกต)
นั่นหมายความว่า DaDa ต้อง restart เครื่อง LC/MS เพื่อ on ระบบ ของ LC/MS ใหม่
ซึ่งต้องใช้เวลา อย่างน้อย 2-3 วัน กว่าจะระบบปั๊ม คงที่ จึงจะทดสอบตัวอย่างได้
ซึ่งขั้นตอนการ restart วันนั้น ดังนี้ (คำแนะนำของ serviceman ผ่านโทรศัพท์)
ปิดสวิทซ์ electronics ตามด้วย ปิดสสวิทซ์ system power ตามลำดับ
เปิด system power ต่อด้วย เปิดสวิทซ์ electronics ตามลำดับ
เมื่อเปิด สวิทซ์ electric จะต้องได้ยินเสียงปั๊มทำงานงานประมาณ 1 วินาที
หาก ไม่ได้ยิน ต้องเริ่มใหม่ หรือ ให้สงสัยว่า ส่วนใดส่วนหนึ่งมีปัญหา (ในวันนั้นเปิดได้ปกติ)
เปิดคอมพิวเตอร์ ของ เครื่อง LC/MS (เนื่องจากไฟดับทำให้ คอมฯ ดับตามไปด้วย) เลือก icon Ping EPC เพื่อตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่าง เครื่อง LC/MS กับ คอมพิวเตอร์
หากระบบของ เครื่อง LC/MS กับ คอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกันสมบูรณ์ จะปรากฏข้อความดังรูป ซึ่งในวันนั้นก็เป็นไปตามรูป
เมื่อเช็คแล้วว่าระบบเชื่อมต่อกันถูกต้อง ก็เข้าสู่โปรแกรม MassLynx เข้าสู่หน้าต่าง tune
เลือก เมนู Vacuum แล้วเลือก Pump
Rotary pump และ Turbo molecular pumps จะเริ่มทำงานพร้อมกัน ในขณะเดียวกันไฟ LED ที่ Vacuum pump ที่เครื่อง Mass จะเป็นสีส้มอมเหลือง
เมื่อระบบ pump ทำงานได้ที่สภาวะสุญญากาศไฟ LED ที่ Vacuum pump ที่เครื่อง LC/MS จะเป็นเปลี่ยนเป็นสีเขียว
ตรวจสอบ Pressure เลือก เมนู Vacuum แล้วเลือก Monitor ที่ Penning ค่า pressure ควรอยู่ที่ 10-7 mbar ซึ่งต้องใช้เวลา ประมาณ 2-3 วัน และเมื่อ Penning ค่า pressure อยู่ที่ 4 × 10-6 mbar ต้องทำ MCP Detector Conditioning ก่อนเริ่มทดสอบตัวอย่างด้วย (ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง) ซึ่งในวันที่ 20 หลังจาก restart ประมาณ 15.20 น. ที่ Penning ค่า pressure อยู่ที่ 3.51 x 10-6 mbar พร้อมที่จะทำ MCP Detector Conditioning..แต่...เดี๋ยวก่อน..
แต่...ประมาณ 15.45 น. ในวันเดียวกัน ไฟดับอีกครั้ง และกินเวลานานส่งผลให้ระบบ Vacuum ของเครื่อง LC/MS ดับไปด้วย จากการสอบถามใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง ไฟจึงจะใช้งานได้ ทำให้ เย็นวันนั้นเครื่องมือทุกเครื่อง ที่ศูนย์เครื่องมือฯ ต้องปิดการทำงาน
กว่าจะได้เปิดเครื่อง restart ใหม่ อีกครั้งตอนเช้าของวันที่ 21 พ.ย. 56 …… (เศร้า....อ่ะ...)
เช้าวันที่ 21 พ.ย.
เปิดเครื่อง LC/MS อีกครั้ง คราวนี้ใช้เวลาค่อนข้างนาน เนื่องจากระบบ Lock การเชื่อมต่อของเครือง LC/MS กับ คอมพิวเตอร์ไม่สำเร็จ
ต้องใช้เทคนิคและโปรแกรมพิเศษ เพิ่มเติมขึ้นมาอีกก็ ได้ พี่ iHUM มาดำเนินการให้ เกือบ 11 นาฬิกา จึงสามารถเปิดเครื่อง LC/MS ได้ และต้องรออย่างน้อย 2-3 วัน กว่าจะได้รันตัวอย่าง (เริ่มเครียดแล้วหละ เพราะมีตัวอย่างนัดรับผลวันจันทร์ 25 พ.ย.56 )
คิดในใจว่า ไม่เป็นไรขออย่าให้ไฟดับอีกก็แล้วกัน เสาร์-อาทิตย์ จะเข้ามารันตัวอย่างหากเครื่องสามารถใช้งานได้ทัน..... แต่...
เช้าวันศุกร์ที่ 22 พ.ย. 56
DaDa เดินเข้าประตูชั้น G ได้ยินเสียง silence ของเครื่อง Deep freeze ส่งเสียงดัง
คิดในใจ อย่าบอกนะว่าเมื่อคืนไฟดับอีกแล้ว?????
เปิดประตูเข้าชั้น G ชะโงกหน้าเพื่อดูสัญญาณไฟสีเขียวที่ LC/MS ชัดเลย ไม่เห็นสัญญาณไฟสีเขียว มัน ดับสนิท ไฟดับอีกแล้ว … Oh.. my God!!!!!..
ในวันที่ 22 พ.ย. 56 พบว่า ผลจาก ไฟดับ ติดต่อกัน ส่งผลให้เครื่อง LC/MS และ เครื่อง Mass มีปัญหา
เครื่อง LC/MS ไม่สามารถ restart ได้ ตลอดทั้งวัน พี่ iHUM พยายาม restart แต่ก็ไม่สามารถทำได้ จากการวิเคราะห์ ของวิศวกร serviceman และ iHUM คาดว่าน่าจะมีปัญหาที่ power supply ดังนั้นเครื่อง LC/MS เข้าสู่กระบวนการรอซ่อมช่วงบ่ายของวันที่ 22 พ.ย.56 เป็นต้นมา
เมื่อวานนี้ 25 พ.ย.56 serviceman และ iHUM มาแกะๆ ซ่อมๆ ก้มๆ เงยๆ แถวๆ เครื่อง LC/MS จนซ่อมได้และสามารถ restart เครื่อง และ On ระบบ pump ของเครื่องได้แล้ว วันนี้ ค่า Penning ค่า pressure อยู่ที่ 10-7 mbar คืนนี้จะทำ MCP conditioning ประมาณ 10 ชั่วโมง คาดว่าหากไฟไม่ดับอีก วันพุธนี้ DaDa คงได้รันตัวอย่างซะที
จากที่ไฟดับ 3 ครั้ง 3 วัน ติดต่อกัน คราวนี้ไม่ใช่แค่ LC/MS แต่ เครื่อง MS ก็มีสัญญาณไฟ สีแดง (ปกติต้องสีเขียว) ที่ Forvac ของ source ด้วย
โทรแจ้ง Serviceman เนื่องจาก serviceman ไปอบรม กทม.
Serviceman ให้เช็ค สถานะ แบตเตอรรี่ สำรองไฟของเครื่อง Mass พบว่า เหลือแค่ 30 % เท่านั้น ซึ่งเครื่อง Mass นี้มีแบตเตอรรี่ สำรองไฟ ที่ค่อนข้างทำงานได้ดี แต่คราวนี้ เป็นยังไงไม่แน่ใจ เพราะ ส่งผลต่อ เครื่อง Mass อย่างเห็นได้ชัดเจน…. ขอยกยอด อาการของเครื่อง Mass เป็นบันทึกต่อไปนะค่ะ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « HPLC: Integrate ถูกต้อง แต่ prin...
- ใหม่กว่า » 27 พ.ย.56 : MCP conditioning - L...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้