ความเห็น: 3
ดูแลลูกค้าใช้เครื่องด้วยตนเอง : เตรียมความเข้มข้นสารมาตรฐาน
เปิดทำงานสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ก.ค. ด้วยเช้าวันจันทร์ที่แสนวุ่นวาย มากๆ วันนี้ DaDa มีนัดอบรมหน้าเครื่อง HPLC-Agro ให้นักศึกษาจากคณะ อก. 1 ราย (ทั้งวัน 9.00-15.00 น. ) ดังนั้น ในวันนี้ DaDa จะไม่นัดลูกค้าท่านอื่นๆมาแน่นอน เอกสารการอบรมเตรียมไว้แล้ว สารเคมีต่างๆก็พร้อมแล้ว วันนี้นักศึกษามาก่อนเวลานัดประมาณ 10 นาที บางคนมาสายเป็น ครึ่งชั่วโมง หรือ เป็น ชั่วโมงก็มีนะคะ ถามไม่โทรบอกอีกต่างหาก เราก็ได้แต่ รอ รอ รอ ค่ะ
นำนักศึกษามาที่ชั้น G เพราะเครื่องวางอยู่ที่ชั้นนี้ เปิดประตูห้อง Lab เข้า เจอนักศึกษาที่มาใช้ HPLC-1 เครื่องด้วยตนเอง พี่ดา ค่ะ column nut หักติดอยู่เอาไม่ออกพี่ช่วยน้องหน่อย ดูจากลักษณะแล้ว ต้องขอแรงผู้ชายหรือเครื่องมือสักอันที่จะดึง nut ที่หักติดข้างในให้ออกมา ซึ่งต้องใช้เวลาแต่นักศึกษาอบรมก็ยืนรออยู่ โชคดี กะทิหนูดี เดินผ่านมา ขอช่วยดูแลลูกค้าคนนี้แทน
DaDa ก็เริ่มสอนการใช้เครื่องได้ตามปกติ ระหว่างสอน มีอีกค่ะคราวนี้ ถูกขัดจังหวะด้วยเสียงจากลูกค้าใช้เครื่อง HPLC-2 ด้วยประโยค พี่ดา ค่ะ น้องเปิดฝาขวด waste ไม่ออกค่ะ ช่วยน้องหน่อย ดาก็เปิดดู อืม เปิดไม่ออกจริงๆด้วย ต้องขอแรงผู้ชายอีกแระ จำได้ว่ากะทิหนูดี เดินมาอีกพอดี ขอช่วยจัดการต่อ สอบถามภายหลังว่า เป็น น้อง หะ-หมี P ที่มาช่วยเปิดฝาขวดออกให้
การสอนหน้าเครื่องผ่านไปได้ด้วยดี มีถูกขัดจังวะด้วยโทรศัพท์ภายในเป็นช่วงๆ น้องนักศึกษาที่อบรมอาจจะไม่พอใจนิดหน่อยสังเกตได้จากสีหน้าเพราะว่า เราอบรมให้เขาแต่มีการขัดจังหวะการอบรมค่อนข้างบ่อย ก็ ขอโทษ นะค่ะ ประโยคนี้ค่ะ ได้ผล น้องบอกว่าไม่เป็นไรค่ะ แต่จริงๆ ช่วงการอบรม DaDa จะพยายามไม่เบียดเบียนช่วงเวลาของการอบรมให้ลูกค้าน้อยที่สุดเพราะเค้าลงทะเบียน นัดวันเวลากับเรามาแล้วดังนั้นเราก้ต้องให้เวลากับเขาให้เต็มที่เช่นกัน
ก่อนการปิดเครื่อง เสียงจากลูกค้าใช้เครื่อง HPLC 1 ก็ลอยมาอีกว่า พี่ดา ค่ะ แบบนี้มันโอเคหรือเปล่าค่ะ แบบนี้หมายถึง โครมาโตแกรมที่ฉีดได้มีลักษณะเป็นลูกคลื่นค่ะ ไม่เป็นเป็นพีค ดูแล้วท่าจะยาว เลยบอกว่ารอแป๊บนะ พี่สอนต่ออีก 2 นาทีแล้วเดี๋ยวมาช่วยดูให้
เมื่อเข้ามาช่วยดู สอบถามไปว่า น้องทำอะไร ทดสอบอะไร ได้คำตอบว่าทดสอบน้ำตาล ที่ที่กำลังฉีดคือสารมาตรฐานแต่มันมัลักษณะเป็นคลื่น ดาถามว่าน้องเตรียมความเข้มข้นเท่าไหร่ น้องบอกว่า 1 g/L ดาลองให้น้องแปลงหน่วย 1 g/L เท่ากับที่ ppm ได้คำตอบคือ 1000 ppm โอเค ตอบถูก แล้วถามต่อแล้วน้องเตรียมความเข้มข้นมาถูกหรือเปล่า น้องตอบกลับทันที ถูค่ะ ดาจึงถามต่อ ที่ถูกนี่เตรียมยังไง เท่าไหร่ ได้คำตอบว่า สารมาตรฐานทั้งหมด 5 ตัว ผสมกัน ความเข้มข้น 1000 ppm ดาบอกกลับไปว่าถ้า 1000 ppm จริง น้องจะไม่เห็นโครมาโตแกรมเป็นคลื่นหรอกต้องเห็นเป็นพีคซิ ถามอีกครั้งสารความเข้มข้นเท่าไหร่ เตรียมอย่างไร ก็น้องเตรียม 5 สารมาตรฐานละ 1000 ppm ผสมกัน ความเข้มข้นก็ 1000 ppm นั่นไงเตรียมและคำนวณความเข้มข้นผิดเห็นๆเลยอ่ะ จะเป็นไปได้อย่างไร ที่ความเข้มข้น อย่างละ 1000 ppm มาผสมกันแล้วได้ความเข้มข้นเท่าเดิม มันต้องลดลงซิ คำนวณเป็นหรือเปล่า ได้คำตอบมาว่าไม่เป็นค่ะ
มา สอนกันหน่อย สูตรง่ายๆเลยค่ะ M1V1 = M2V2
M1V1=M2V2 เมื่อ M = ความเข้มข้น , V = ปริมาตร
เช่น ลูกค้าบอกว่า เตรียมสารมาตรฐานแต่ละตัวทั้งหมด 5 ตัวๆละ25 ml มีความเข้มข้น 1000 ppm นำทั้ง 5 มาผสมกัน นั่นหมายความว่า เมื่อแทค่าในสูตรจะได้ดังนี้
M1 = 1000 ppm , V1 = 25 ml , M2 = ความเข้มข้นที่ได้ , V2 = 125 ml ( 5 x 25 = 125 ml)
ดังนั้น M2 = ( 1000 ppm x 25 ml) / 125 ml = 200 ppm เท่านั้น เอง ไม่ใช่ 1000 ppm
นักศึกษาก็ถึงบางอ้อค่ะ นั่นหมายความว่านักศึกษาเตรียมและคำนวณความเข้มข้นสารมาตรฐานผิด อีกทั้งการทดสอบน้ำตาลด้วย detector RID สัญญาณค่อนข้างน้อยดังนั้นต้องเตรียมให้สารมีความเข้มข้นสูงๆจึงจะ detect สัญญาณได้
น้องไปคำนวณและเตรียมความเข้มมาใหม่ ให้ถูกต้อง อืม เสร็จไปอีกงาน
มีเวลา เกือบๆ ชั่วโมงก่อนจะ 16.30 มาชั่งตัวอย่างสำหรับทดสอบ CHNS ต่อ และเตรียมไว้สำหรับทดสอบ O ในวันพรุ่งนี้ด้วย
พรุ่งนี้มีนัดกับงาน ASO เพื่อ ตรวจติดตามคุณภาพภายในโดย DaDa และทีมงาน
Other Posts By This Blogger
- Older « Scope บริการสอบเทียบ Micropipette
- Newer » ดูแลลูกค้าใช้เครื่องด้วยตนเอง : ...
08 กรกฎาคม 2556 17:38
#90366
ประเด็นเรื่องของการรบกวน/ ขัดจังหวะระหว่างการอบรมนี่เป็นประเด็นที่ต้องพิจารณาหลัก ๆ เหมือนกันนะครับ
เมื่อถูกขัดจังหวะ ทำให้ขาดความต่อเนื่อง ความสนใจจะลดลงทันที
ถ้าเป็นไปได้ก็ต้องให้ถูกขัดจังหวะน้อยที่สุด
กรณีที่ไม่เป็นห้องแยก คนข้าง ๆ ก็น่าจะพิจารณาว่าเมื่อไหร่ควรจะขัดจังหวะด้วยเช่นกัน
อิอิอิ
หวาดาใจดีมีจิตบริการ
ลูกค้าติด
อิอิอิ
เราเอง