ความเห็น: 5
Intermediate check # 1_ตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการใช้งานเครื่องชั่ง
เมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2555 ได้มีโอกาศเข้ารับการอบรมเรื่อง การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
นอกจะต้องตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี (Method validation)
สำหรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ 17025 ยังจะต้อง การตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการใช้งาน (Intermediate Check )อีกด้วย
วัตถุประสงค์
เพื่อความมั่นใจว่าเครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการได้มาตรฐานและได้คุณภาพตลอดระยะเวลาในระหว่างการสอบเทียบหรือใช้งาน
และ เพื่อให้ทราบถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและสามารถแก้ไขได้ทันเวลา
ดังนั้น สำหรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ Micropipette ที่ได้รับการรับรองตามาตรฐาน มอก 17025
จำเป็นต้องทำ Intermediate Check ของทุกเครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
ถึงแม้ว่าการใช้งานเครื่องดังกล่าวไม่ได้ใช้ แบบสมบุกสมบัน แต่ในข้อกำหนดของ ISO 17025
ข้อกำหนด 5.5.10 จำเป็นต้องตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการใช้งาน(intermediate check)
เพื่อให้มั่นใจในสถานะการสอบเทียบของเครื่องมือ การตรวจสอบเหล่านี้จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนการดำเนินงานที่กำหนดไว้
ข้อกำหนดของ ISO 17025 นอกจากเราทำ Intermediate check เครื่องมือต่างๆที่จำเป็นแล้วสิ่งสำคัญที่ต้องมีอีกคือ กำหนดแผนทำ Intermediate check
ความถี่บ่อยแค่ไหนและจะต้องทำเมื่อไร ห้องปฏิบัติการเป็นผู้กำหนดเอง โดยอาจพิจารณาจากความถี่ของการใช้งาน การสอบเทียบ เป็นต้น
และต้องมีวิธีปฏิบัติงาน ซึ่งจะต้องมีกำหนดเกณฑ์การยอมรับ และวิธีการประเมินผลด้วยว่าทำไปแล้วผ่านหรือไม่ผ่านไม่อย่างนั้นทำไม่ก็ไม่มีประโยชน์
การทำ Intermediate Check ของเครื่องมือที่ใช้สำหรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ Micropipette
ตามแผนการตรวจสอบเครื่องมือวัดระหว่างการใช้งาน (Intermediate Check) สำหรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ Micropipette (Plan-RES-Calibration-01)
ซึ่งประกอบด้วย
1. เครื่องชั่ง 5 ตำแหน่ง
2. เครื่องชั่ง 4 ตำแหน่ง
3. Thermometer/ Relative Humidity Data Logger
4. เทอร์โมมิเตอร์ชนิด Liquid-in-Glass แบบ Partial Immersion
5. Barometer
ดังนั้น เดือน พ.ค. 55 ที่ผ่านมา ตามแผนการตรวจสอบเครื่องมือวัดระหว่างการใช้งาน (Intermediate Check) สำหรับห้องปฏิบัติการสอบเทียบ Micropipette (Plan-RES-Calibration-01)
ต้องทำ Intermediate Check ของ เครื่องชั่ง 5 ตำแหน่ง (ช่วงขอขยายขอบข่ายการรับรอง)
ซึ่งผู้รับผิดชอบได้แก่ พี่Wawa ผู้จัดการด้านเทคนิคประจำห้องปฏิบัติการสอบเทียบ Micropipette และ ผู้สอบเทียบ คือ DaDa
ก่อนการทำ Intermediate check จะต้องควบคุมสภาวะแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ
สำหรับการควบคุมสภาวะแวดล้อมทางกายภาพของห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่อง Micropipette
ก่อนการทำ Intermediate check มีการควคุม / บันทึกค่าอุณหภูมิห้อง ความชื้นสัมพัทธ์ และความดันบรรยากาศ ดังนี้
- ควบคุมอุณหภูมิห้องให้อยู่ในช่วง 20 ± 2 องศาเซลเซียส ตลอดการทำ Intermediate check
- ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) ให้มีค่าอยู่ในช่วง 60 ± 10% ตลอดการทำ Intermediate check
- ความดันบรรยากาศ ให้เปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงไม่เกิน 60 ± 10 mbar ตลอดการทำ Intermediate check
(อ้างอิงจาก ISO-8655-6:2002 Piston-operated volumetric apparatus - Part 6: Gravimetric methods for
the determination of measurement error)
ขั้นตอนการตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการใช้งาน (Intermediate Check) ของ เครื่องชั่ง ไม่ยากค่ะ
กำหนดจุดสำหรับการทำ Intermediate check เครื่องชั่ง ณ จุดน้ำหนัก 0.005g 50g 150g และ 200g โดยใช้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน E2
หรือเลือกใช้ตุ้มน้ำหนักตามความเหมาะสมกับเครื่องชั่งและครอบคลุมช่วงการใช้งานอย่างน้อย 3 จุด
และบันทึกในแบบฟอร์มบันทึกผลการตรวจสอบเครื่องมือระหว่างการใช้งาน (Intermediate Check)
1. ทดสอบความเป็นเชิงเส้น โดยใช้ตุ้มน้ำหนักแต่ละตุ้มน้ำหนักชั่งซ้ำ 10 ซ้ำ บันทึกค่าน้ำหนักที่ได้
2. ตรวจสอบผลกระทบของการวางน้ำหนักไม่ตรงกลางจาน (Eccentric Loading)
- ใช้ตุ้มน้ำหนักขนาด 50 g เป็นต้น โดยวางตุ้มน้ำหนัก ณ ตำแหน่งต่างๆ
แต่ละตำแหน่งวางตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน ทำซ้ำ 3 ซ้ำ บันทึกค่าและคำนวณค่าเฉลี่ยตามรูป
- คำนวณค่าความไม่แน่นอน
เกณฑ์การยอมรับ Intermediate check เครื่องชั่ง
ค่า Uncertainty + Correction จะต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด ของทุกจุดที่ทำ Intermediate check
ค่า Eccentric Loading จะต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
การประเมินผลการทำ Intermediate check เครื่องชั่ง
- ถ้าผลการทำ Intermediate check ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดแสดงว่าเครื่องชั่งสามารถใช้งานได้
- ถ้าผลการทำ Intermediate checks ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดให้ส่งเครื่องชั่งสอบเทียบใหม่
จากผลการประเมินเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 55 พบว่า
1. ค่า Uncertainty + Correction ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด (ผ่าน)
2. ค่า Eccentric Loading ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด (ผ่าน)
อีก 4 รายการ ดำเนินการตามแผนช่วงเดือน สิงหาคม 2555
ขั้นตอนไม่ยากค่ะ แต่ ที่ยากก็ตรงที่ห้องต้องควบคุมสภาวะแวดล้อม ค่อนข้างหนาว
เข้าห้องสอบเทียบครั้งนึงออกมา ฮัดชิ้ว ฮัดชิ้ว เพราะความหนาว แล้วก็ปวดหัวทุกทีเลยซิ......หวัดรับประทานตลอดๆ...
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « บรรยากาศการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ...
- ใหม่กว่า » บันทึกหลังไมค์ : guard column ตอ...
ความเห็น
บางครั้งบางคราว หรือ หลายครั้งหลายคราว ผู้ใช้มักจะอ่อนไหวไปกับสภาพแวดล้อม มิใช่เครื่องมือ.....
เพราะฉนั้น นอกจากจะต้องดูแลเครื่องมือ แล้ว ยังต้องดูแลผู้ใช้เครื่องมือด้วย...เช่นกัน....
เป็นเรื่อง Human Error นี่เอง
แบบนี้ต้องให้วิศวกรดูแล (คน) เพิ่มขึ้นอีกอย่างแล้ว นอกเหนือจากดูแลเครื่องมือ
เราเอง
สงสัยห้องสอบเทียบจะหนาวจัด และก็หนาวจริงๆ
ตรวจสอบความดันบรรยากาศด้วยนะครับ 60 ± 10 mbar ไม่น่าจะเป็นค่านี้ พิมพ์ผิดหรือเปล่า :)
แก้ไขแล้วเป็น ความดันบรรยากาศ ให้เปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงไม่เกิน ± 10 mbar
วิศวกร (TM หญ่าย) เข้ามาดูแลก็ดีอย่างนี้นี่แหละ...
12 มิถุนายน 2555 15:21
#77786
เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์หลายอย่างค่อนข้างจะอ่อนไหวไปกับสภาพแวดล้อม (คนใช้ไม่รู้เป็นแบบเดียวกันหรือเปล่านะ อิอิอิ) หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้น (ตามที่ระบุ) และโดยส่วนใหญ่แล้ว เรื่องอุณหภูมิเป็นเรื่องที่สำคัญ จึงเป็นที่มาที่ไปอีกอย่างว่าทำไมห้องแลปจึงต้อง "ติดแอร์" แถมยังเย็นจนผู้ใช้ต้องใส่เสื้อหนาๆ ซะอีก
เพื่อให้ได้ค่าจากการวัด (ด้วยเครื่องมือ) ที่แม่นตรง และมีความเที่ยง การตรวจสอบทั้งเครื่องมือ ทั้งสภาพแวดล้อมล้วนมีความจำเป็น
โดยเฉพาะเครื่องมือที่มีราคาแพงๆ
เราเอง