comment: 14
เหตุเกิดจากน้ำและบัฟเฟอร์
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีลูกค้ามาใช้เครื่อง HPLC1 ด้วยตนเองที่ศูนย์เครื่องมือฯ ลูกค้าพบว่า
1. ความดัน (Pressure) ของเครื่องต่ำกว่าปกติที่เจอมาใช้ ปกติสภาวะที่ใช้ ความดันประมาณ 60-70 bar แต่ วันนี้ ความดันแค่ 40 กว่าๆ เท่านั้น2. เมื่อสั่ง RUN สารมาตรฐานไม่เจอพีค ของสารเลย และลองสั่ง RUN ตัวอย่างก็เช่นเดียวกัน ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้น (1 สัปดาห์ก่อนหน้า) ยังเจอพีคที่ต้องการฉีดสารมาตรฐานแล้วไม่เห็นสัญญาณ โครมาโตแกรม หรือ พีค ของสารมาตรฐาน หรือตัวอย่างเลย ดังรูป
ดาดา จึงเข้าไปดู
อันดับแรก
1. ดาดา เช็คว่า สาย Capillary tube ที่ต่อจากคอลัมน์สู่ Detector ถุกต้องหรือไม่ พบว่า ต่อเข้าถูกต้องกับ Detector ที่ใช้งานคือ FLD (Fluorescence Detector) จึงตัดปัญหาเรื่องสัญญาณไม่พบ จากบันทึก Chromatogram ที่หายไป
2. ดาดา เช็ค purge valve พบว่าลูกค้าปิด purge valve ผลไม่สนิททำให้ ความดัน น้อยกว่าเดิม เมื่อปิด purge valve สนิท พบว่าได้ความดันกลับมาเท่าเดิมจากที่ลูกค้าเคยใช้ (ประมาณ 60-70 bar) ดาดา เลยให้ลูกค้าลองฉีดสารมาตรฐานอีกครั้ง แต่ พบว่า ยังคงไม่เห็นสัญญาณโครมาโตแกรมเช่นเดิม.....งง....
สอบถามลูกค้าอีกครั้งว่า สภาวะที่ใช้เหมือนเดิมหรือเปล่า ลูกค้า ตอบว่า เหมือนเดิม สารมาตรฐานก็เหมือนเดิม เพิ่งเตรียมใหม่เมื่อเช้าก่อนมาใช้เครื่อง และมั่นใจว่าเตรียมถูกต้อง รวมทั้งตัวอย่างก็เช่นกัน ทั้งๆที่ปกติจะมีพีคหลายพีค แต่ก็ไม่เห็นสัญญาณอะไรเลยจากตัวตรวจวัด ...สอบถามต่อ..เรื่องตัวทำละลายเคลื่อนที่ (Mobile phase) ลูกค้าบอกว่าใช้ Acetonitrile HPLC grade และน้ำ ดาดาเลยถามต่อว่า น้ำเตรียมเมื่อไหร่เปลี่ยนใหม่ทุกวันมั้ย ลูกค้าบอกว่า น้ำนี้น้องใช้มาหลายครั้งแล้วเตรียมและใช้มาหลายสัปดาห์แล้ว สัปดาห์ที่แล้วก็ใช้ก็ยังแยกได้เห็นพีคทุกพีคที่มีในตัวอย่างและสารมาตรฐาน จึงได้รู้ว่าน้ำที่ลูกค้าบอกมานั้นมีกรด acetic ผสมอยู่ด้วยและได้เตรียมมาเป็นระยะเวลานานแล้วแต่ยังคงใช้งาน และลุกค้าคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาเพราะเมื่อสัปดาห์ก่อนก็ใช้แต่ยังคงแยกและให้โครมาโตแกรมได้
นั่นไง.. ดาดาคิดว่าน่าจะเจอเจ้าปัญหาที่ทำให้พีคของารไม่แยกออกมาแล้วล่ะ...
ดาดาเลยแนะนำลูกค้าว่าสาเหตุน่าจะเกิดจากตัวทำละลายเคลื่อนที่คือน้ำที่มีกรดอะซิติกผสมอยู่ โดยปกติการใช้สารที่เป็นกรด บัฟเฟอร์ น้ำ จำเป็นต้อง เตรียมใหม่ๆ ไม่เตรียมทิ้งไว้นานๆ เพราะจะมีผลให้ค่า pH และคุณสมบัติ ทางเคมีเปลี่ยนไป จึงมีผลให้การแยกของลูกค้าในวันนั้นไม่สามารถตรวจวัดสัญญาณได้เลย
ข้อมูลบางส่วนจาก data sheet ของคอลัมน์ยี่ห้อหนึ่ง
แต่ลูกค้าก็ไม่มั่นใจ คิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวกัน อยากให้ศูนย์เครื่องมือฯ เช็คดูเครื่องมีปัญหาหรือเปล่าและเพื่อการยืนยันความต้องการของลูกค้าและรีเช็คตัวเองด้วยว่าเครื่องมือยังคงใช้งานได้จริงๆ ดาดาก็เลยจัดให้
โดย ดาดาเลือก Method ที่ใช้สอบเทียบเครื่อง HPLC1 มาใช้ในการรีเช็คพบว่า ได้สัญญาณโครมาโตแกรมทุกพีคของสารที่ใช้สอบเทียบดังรูป
เมื่อผลออกมาว่าเครื่องมือยังคงสามารถใช้งานได้ ดาดา จึงได้แจ้งผลการทดสอบของดาดาให้ลูกค้าทราบ
3. ลูกค้าจึงเตรียมตัวทำลายน้ำที่มีกรดอะซิติกผสมอยู่ มาทดสอบใหม่อีกครั้ง พบว่า สามารถแยกสารมาตรฐานและตัวอย่างได้ตามที่ต้องการ ดังรูป

.....................................................................................................................................
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « Fast atom bombardment (FAB)
- ใหม่กว่า » เมื่อ S และ H หายไป
comment
รายละเอียดเล็กๆ น้อยที่ หลายๆ คนไม่ใส่ใจ คิดว่าไม่สำคัญ แล้วก็พยายามค้นหาเหตุโน่นนี่
ถ้าคิดรอบด้าน ใส่ใจในรายละเอียด ก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงาน มากขึ้นครับ
เชียร์
เราเอง
![]() |
![]() |
นั่นไง.. ดาดาคิดว่าน่าจะเจอเจ้าปัญหาที่ทำให้พีคของารไม่แยกออกมาแล้วล่ะ...
ขอแก้ไขคำผิด เป็น
นั่นไง.. ดาดาคิดว่าน่าจะเจอเจ้าปัญหาที่ทำให้พีคของสารไม่แยกออกมาแล้วล่ะ...
![]() |
พี่ดาดาเก่งมาเลยค่ะรายละเอียดแม้นเพียงเล็กน้อยก็ยังรู้ได้ ^^ หนูคนนึงค่ะกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับ HPLC เหมือนกัน คือ เมื่อหนูฉีด acetonitrile ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายของสารที่หนูต้องการวิเคราะห์เพียงอย่างเดียว ผลปรากฏว่าเกิดพีคขึ้นมากหลายตำแหน่ง ทั้งๆที่ก่อนนำมาฉีด หนูได้ทำการกรองและ degas เรียบร้อยแล้ว พี่ดาดาพอจะให้คำแนะนำหนูหน่อยได้มั๊ยค่ะว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้
ปล.acetonitrile ที่ใช้เป็น เกรด HPLC และ moblie phase : 70/30 v/v ACN:water
รบกวนด้วยค่ะ
![]() |
อาการ แบบนี้ ยังไม่เคยเจอ มาก่อนค่ะ
แนะนำ
ลอง เช็ค ว่า สาร เกิดการปนเปื้อน จาก ภาชนะ หรือไม่ เตรียมใหม่อีีกครั้ง
หรือ คอลัมน์ มีสิ่งตกค้าง ส่งผลให้ ขณะที่ รัน มี พีค แปลกๆ แสดงออกมาด้วย
หากเป็นเช่นนั้น ควร ล้างคอลัมน์
หรือ อาจะเป็นไปได้ว่า membrane ที่ใช้กรอง ไม่เหมาะสม ( แค่การคาดเดานะค่ะ) เพราะ เคย มีลูกค้าที่มาใช้เครื่องด้วยตนเองที่ศูนย์เครื่องมือฯ มีปัญหาเครือง Mobile phase กรองด้วย membrane 2 ชนิด ด้วยกัน นำ มาใช้กับเครื่อง HPLC ให้ผลไม่เหมือนกัน
จึงจำเป็นต้อง เลือกใช้ membrane ชนิดที่ให้ผลที่ดี ( อันนี้จำไม่ได้แล้วว่า membrane อะไร เนื่องจากเป็นของลูกค้าคนนั้นค่ะ)
ลองดู นะค่ะ
![]() |
มีปัญหาเวลารันHPLCแล้วความดันสูงมากค่ะ flowได้แค่ 0.65ml/min เป็นเพราะอะไรค๊ะ ช่วยแนะนำเทคนิคในการกรองสารอย่างถูกวิธีด้วยนะค่ะ และมีคราบหินปูนติดที่ sinter glass ควรล้างด้วยอะไรค๊ะ
11 กุมภาพันธ์ 2554 16:55
#63608
ขอเป็นกำลังใจให้ DaDa จ๊ะ ผู้ซึ่งเป็นนักวิทย์ที่ดูแลลูกค้าใช้เครื่องด้วยตนเองเหมือนกัน
สงสัยวันนั้นจะอิ่ม อิอิอิ อิ่มน้ำรึเปล่า