ความเห็น: 2
สรุปดูงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันที่ 21 ธันวาคม 2554 ได้มีโอกาสดูงานด้านประกันคุณภาพที่มช. สรุปได้ดังนี้
สำนักพัฒนาคุณภาพเป็นหน่วยงานเทียบเท่าคณะ มีบุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำสำนักฯทั้งสิ้น 22 คน จำแนกตามฝ่ายงานได้ ดังนี้
1. สำนักงานสำนัก จำนวน 8 คน
2. ฝ่ายส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 6 คน
3. ฝ่ายส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน จำนวน 2 คน
4. ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 4 คน
5. หน่วยพัฒนาเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 2 คน
วันที่ 21 ธ.ค. 2554 มีการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักฯ จึงไม่ได้พบปะกับผู้อำนวยการ/หัวหน้างาน จึงมีโอกาสพูดคุยกับคุณศันสนีย์ กระจ่างโฉม และคุณเกษร ใจสุข พบว่าภารกิจของฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษารับผิดชอบสำรวจภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต สำรวจความพึงพอใจของนายจ้าง สร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรในตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน-ภายนอก จัดการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะ/หน่วยงาน และมหาวิทยาลัย ซึ่งขอบเขตภาระงานถือว่ากว้างกว่าสำนักงานประกันคุณภาพ ม.อ.
ประเด็นที่น่าสนใจในการจัดการด้านประกันคุณภาพได้แก่
1. มช.มีระบบ CMU-MIS (http://mis.cmu.ac.th/cmumis/) ภายในระบบดังกล่าว มีระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพได้แก่
- ภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต ซึ่ง สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาระบบให้บัณฑิตกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ทุกคณะ/หน่วยงานสามารถเข้ามาดึงข้อมูลไปใช้ได้ตลอดเวลา ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาจะนำข้อมูลในระบบมาทำรายงานในรูปเล่ม
- ระบบ CMU QA เป็นระบบที่มช.พัฒนาเอง และใช้มาประมาณ 2-3 ปี ลักษณะการใช้งานคล้ายคลึงกับระบบ CHE QA Online คือ คณะสามารถทำ SAR ผ่านระบบดังกล่าวได้ ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะ CMU QA พัฒนาก่อนการเปลี่ยนตัวบ่งชี้ปีการศึกษา 2553 แต่สามารถใช้งานต่อเนื่อง ปัจจัยที่ทำให้ระบบมีความต่อเนื่องเนื่องจาก
-
- เมื่อเปลี่ยนตัวบ่งชี้ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาจะแจ้งผู้รับผิดชอบระบบ CMU QA ของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศทันที มีการประชุมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถเปลี่ยนเกณฑ์ และตัวบ่งชี้ได้ทันการใช้งาน
- บุคลากรทั้งสองฝ่ายทำงานร่วมกันมากว่า 5 ปี ผู้รับผิดชอบCMU QA ของสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเข้าใจในเกณฑ์และตัวบ่งชี้
- CMU QA เปิดระบบให้ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาสามารถเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ แก้ไขเกณฑ์ได้
- ระบบ CHE QA Online เมื่อการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะและมหาวิทยาลัยผ่านระบบ CMU QA แล้วเสร็จ สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ จะ upload ข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่ระบบ CHE QA Online ให้สกอ.
2. ฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นผู้กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานระดับมหาวิทยาลัยเอง เขียนรายงาน SAR เอง รวมรวมหลักฐานจากคณะ/หน่วยงาน และชี้แจงข้อมูลต่อคณะกรรมการประเมินคุณภาพร่วมกับผู้รับผิดชอบของคณะ/หน่วยงาน เป็นการออกแบบระบบงานเพียง 2 ระดับ คือคณะ/หน่วยงาน กับฝ่ายฯ จากการสอบถามถึงวิธีการเขียน SAR พบว่าฝ่ายฯจะศึกษาข้อมูลขอตัวบ่งชี้นั้นและหาข้อมูลประกอบ หากมีข้อสงสัยก็ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบภารกิจนั้น ๆ ส่วนข้อมูลที่ใช้ประกอบการจัดทำ SAR ยึดข้อมูลของคณะเป็นหลัก
3. บุคลากรของฝ่ายส่งเสริมมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นผู้ทาบทามและแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะ/หน่วยงาน และเป็นเลขานุการประเมินคุณภาพภายในเองทุกหน่วยงาน (เช่นเดียวกับ มข.) การจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในจะแล้วเสร็จตั้งแต่วันสุดท้ายของการประเมินฯหน่วยงานนั้น
4. หน่วยงานสนับสนุนจัดทำโครงร่างองค์กรตามเกณฑ์ TQA มาแล้ว 2 ปี โดยหน่วยงานสนับสนุนไม่ต้องจัดทำ SAR และประเมินคุณภาพภายในตามเกณฑ์และตัวบ่งชี้สกอ. สมศ.
5. มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้ทุกองค์กรพัฒนาตามเกณฑ์ TQA มีการจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการอบรมทุกโครงการกำหนดให้ทุกคณะ/หน่วยงานส่งตัวแทนเข้าร่วม และขณะนี้ทุกหน่วยงานมีโครงร่างองค์การแล้ว 6. บุคลากรที่พูดคุยด้วย บอกว่ามีความสุขกับการทำงาน งานมีระบบที่ชัดเจน ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากคณะ/หน่วยงาน หากมีปัญหาในการประสานงาน ผู้อำนวยการจะให้นัดหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหา
อนึ่ง มีประเด็นที่น่าสนใจ คืออาคารสำนักงานอธิการบดีของมช.มีนโยบายงดใช้เครื่องปรับอากาศ (ยกเว้นห้องผู้บริหาร) เพื่อประหยัดพลังงาน
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « โอกาสศึกษาดูงาน
- ใหม่กว่า » ดูงานที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้
30 ธันวาคม 2554 14:16
#73341
แหม! กลัวงานค้างปีเหรอคะ คุณหยกมณี...ดีมาก
ว่าแต่เราไปดูกับเขามาด้วยจะสรุปอะไรดีเนี่ย!
ยิ่งเป็นปลาทองอยู่ด้วยเรา....