อ่าน: 1443
ความเห็น: 0
ความเห็น: 0
การเสนอหนังสือ
การเสนอหนังสือราชการผู้บันทึกเสนอเรื่องจะต้องพิจารณาให้ข้อเสนอตามหน้าที่รับผิดชอบและถูกต้องตามระเบียบ ชี้แจงข้อมูล สรุปให้ชัดเจนพอที่ผู้บังคับบัญชาจะพิจารณาตกลงใจสั่งการได้
1. หากเป็นเรื่องรับทราบ เมื่อสรุปเรื่องเสนอและผู้บังคับบัญชาลงนามรับทราบก็เก็บได้เลย หากผู้บังคับบัญชาสั่งให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานอื่นทราบ ต้องส่งให้บุคคลผู้นั้นหรือหน่วยงานนั้น ๆ ลงนามรับทราบในหนังสือ กรณีที่ผู้รับทราบมีหลายคนหรือหลายหน่วยงาน เพื่อความรวดเร็วก็สำเนาให้ทราบ และลงนามรับทราบไว้เป็นหลักฐานในใบแจ้งเวียนที่หน่วยงานกำหนดขึ้นไว้
2. หากเป็นเรื่องต้องพิจารณาเสนอ ก็ส่งให้ผู้เกี่ยวข้องหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบันทึกข้อมูล หรือข้อเสนอแล้วสรุปเรื่องเพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาพิจารณาสั่งการ เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จึงดำเนินการต่อไป
3. หากเป็นเรื่องนโยบายหรือเป็นเรื่องสำคัญให้เสนอผู้บังคับบัญชาสั่งการโดยตรง
4. หากเป็นเรื่องที่มีข้อมูล หลักฐานพร้อมที่จะตอบ หน่วยงานที่มีหนังสือแจ้งมาและมิใช่เรื่องสำคัญหรือเป็นนโยบาย ให้ทำหนังสือตอบเสนอพร้อมกับต้นเรื่อง เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาลงนามในหนังสือตอบได้เลย
5. การเสนอหนังสือยกร่างให้ลงนาม มีวิธีปฏิบัติดังนี้
ก. การยกร่างหนังสือให้อธิการบดีพิจารณาลงนาม จะต้องปฏิบัติดังนี้
1. จัดพิมพ์หนังสือที่ยกร่างให้อธิการบดีพิจารณาลงนาม โดยใช้แบบฟอร์มหนังสือที่ลงนามโดยอธิการบดี พร้อมสำเนา 4 ชุด และจะต้องผ่านการตรวจทานจากธุรการภาควิชา โดยเซ็นชื่อพร้อมวันที่ ที่มุมล่างด้านซ้ายมือของสำเนาหนังสือ
2. จัดพิมพ์บันทึกที่หัวหน้าภาควิชาลงนามถึงคณบดี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและคณบดีจะเสนออธิการบดีพิจารณาลงนามต่อไป
3. จัดพิมพ์ซองให้เรียบร้อย และแนบไปพร้อมหนังสือที่ยกร่าง
4. เมื่ออธิการบดีลงนามเรียบร้อยแล้ว กองกลางจะดำเนินการจัดส่งไปให้ หากเจ้าของหนังสือประสงค์จะจัดส่งไปเอง จะต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
created: 01 August 2013 16:07
Modified: 01 August 2013 16:11
[ Report Abuse ]
Other Posts By This Blogger
- Older « วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการออกเลขที่...
- Newer » การตรวจทานเอกสารก่อนส่ง
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้