ความเห็น: 1
ระบบการคิดคะแนนหอพัก
ระบบการคิดคะแนนหอพักระบบที่ยังไม่สมบูรณ์ (และยังไม่ยุติธรรม)
การให้น้ำหนักคะแนนในส่วนของคุณวุฒิและระยะเวลาในการทำงาน ยังไม่เหมาะสม
มหาฯลัย ให้ความสำคัญกับคุณวุฒิ มากกว่าระยะเวลาในการทำงานรับใช้มหาลัย
เหมือนกับระบบการขึ้นเงินเดือนที่ผ่านมา ซึ่งไม่ยุติธรรมกับคนที่รับใช้มหาลัยมาเป็นระยะเวลานาน
คะแนนผู้จบปริญญาเอก 20 คะแนน
จบปริญญาโท 15 คะแนน
จบปริญญาตรี 10 คะแนน
จบอนุปริญญา 5 คะแนน
แต่คะแนนระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ปีละ 1 คะแนน คนจบปริญญาโทต้องทำงาน 5 ปีจึงจะได้คะแนนเท่ากับปริญญาเอกที่เข้ามาใหม่
ผมขอถามมหาฯลัยหน่อยว่า นอกจาก KPI แล้วผู้ที่จบปริญญาเอกทำคุณประโยชน์ใดๆ ให้กับมหาฯลัยมากไปกว่าผู้ที่จบปริญญาโทหรือไม่?
สอนมากกว่าหรือไม่?
ทำงานวิจัยมากกว่าหรือไม่?
มีศักยภาพในการทำงาน/ทำงานวิจัยมากกว่าหรือไม่?
ผลิตผลงานวิจัยมากกว่าหรือไม่? (ถ้าท่านว่าใช่ มาแข็งกันก็ได้ วุฒิปริญญาเอกนะต่อให้ ไม่คิดคะแนน)
บริการวิชาการมากกว่าหรือไม่?
คณะมอบหมายงานให้ทำน้อยกว่าหรือไม่?
กรุณาช่วยตอบให้ชัด
การคิดคะแนนแบบมักง่าย 5 10 15 20 มันง่ายไปหรือเปล่า หรือมันไม่ต้องคิด หรือท่านยังไม่ได้คิด หรือว่าท่านไม่เดือดร้อนอะไรกับการคิดคะแนนแบบนั้น?
ระบบการคิดคะแนนควรให้น้ำหนักใกล้เคียงกันเช่นเดียวกับการให้คะแนนตำแหน่งทางวิชาการ หรือไม? [ศ. (ซี10) 15 คะแนน รศ.(ซี9) 11 คะแนน ผศ (ซี8) 9 คะแนน อาจารย์/พนักงาน 7 คะแนน] เพราะคะแนนต้องเอามารวมกันทุกข้อไม่ได้คิดแต่ละข้อเป็น 100%
อย่างไรก็ตามจากประสบกาณ์ใน ม.อ. 7 ปี ผมไม่หวังว่า อะไรๆ ใน ม.อ. จะดีขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ถ้าตัวเองไม่เดือดร้อนก็ไม่คิดจะทำอะไร
วิสุทธิ์ สิทธิฉายา
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « สงขลานครินทร์-7 ปี ยอดเยี่ยม-เบื...
08 มิถุนายน 2556 22:11
#88507
ความเท่าเทียมกันแบบสัมบูรณ์ไม่มีอยู่จริงในระบบที่ปั่นป่วน
ความเท่าเทียมจะมีได้ก็อยู่ที่การขับเคลื่อนของเราเอง และเราไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อสภาวะเปลี่ยนไป
ความเท่าเทียมจะเกิดขึ้นได้เมื่อเรามองเห็นความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นไม่ว่ากับเรา หรือกับคนอื่น
ผมเห็นด้วยเรื่องราวบันทึกนี้ครับ
คุณค่าของคนอยู่ที่?
อิอิอิ
เราเอง