ความเห็น: 8
เลขานุการที่ประชุม...ความสำเร็จของการประชุม
เบื้องหลังความสำเร็จของการประชุมที่สำคัญคือทีมเลขานุการที่ประชุม หน้าที่ของทีมเลขามีหลายอย่างตั้งแต่การอำนวยความสะดวกในการประชุม เตรียมเอกสารประกอบการประชุมต้องพร้อม ชัด กระชับ
ต้องนึกในใจว่าผู้ที่อ่านอาจไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นมาก่อนเลย ต้องตั้งสมมุติฐานว่าอย่างนั้นรวมไปถึงดูแลบรรยากาศในห้องประชุมเช่นการจัดที่นั่งแสงสว่างหรืออุณหภูมิในห้องประชุมให้ผู้เข้าร่วมประชุมรู้สึกสบายผู้มีหน้าที่เลขาการประชุมมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน...ควรสัมผัสได้ถึงสิ่งละอันพันละน้อยเหล่านี้...แต่ก็ไม่ใช่สาระที่ผู้เข้าร่วมประชุมต้องการเป็นสาระหลัก
สาระหลักคือ
เรื่องราวประกอบการประชุม
การสรุปนำเสนอท้าวความทีมาที่ไป
กำหนดประเด็นพิจารณา ให้ชัดเจน
วางเป้าหมายของทุกวาระของการประชุมเช่นมีการเสนอทางเลือกที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วจะได้ไม่หลงประเด็น และ
เมื่อมีมติออกมาแล้วแจ้งผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำสู่การเกิดผลในทางปฏิบัติชัดเจนได้
ขณะเดียวกันในการประชุมบางครั้งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มีเรื่อง มีประเด็นนำเสนอที่เปิดกว้าง (Open end) ในเรื่องที่มีความซับซ้อนมาก เจ้าของเรื่องและทีมงานเลขาฯต้องทำใจว่าอาจไม่ได้มติที่ชัดเจนในการเสนอครั้งนี้เป็นการหยั่งความคิดต่อที่ประชุม เรายังมีเวลามาประมวลความเห็นที่ได้จากการโยนหินถามทางประมวลเป็นเนื้อเรื่องประเด็นนำเสนอเข้ามาอีกรอบเพื่อหามติอีกครั้งก็เป็นได้
Other Posts By This Blogger
- Older « งาน.....กองการเจ้าหน้าที่
ความเห็น
![]() |
ขอแสดงความคิดด้วยคน
ความจริงการประชุมที่กระชับ/ไม่กระชับน่าจะเป็นความสามารถของประธานในที่ประชุมที่จะควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามวาระ (เช่นเรื่องแจ้งเพื่อทราบกลับมีการอภิปรายเสียมากมายยาวยืด)หรือความสามารถในการขับเคลื่อน/ควบคุมการอภิปรายมิให้สมาชิกในการประชุมยึดเวทีมากจนเกินไปหรือถกนอกเรื่องจนเบียนบังวาระที่สำคัญอื่นๆซึ่งทำให้การพิจารณาขาดความละเอียดรอบคอบเพราะใกล้หมดเวลา (เรื่องแบบนี้ประธานต้องมีทักษะ)
ส่วนการที่ที่ประชุมอภิปรายโดยขาดข้อมูลอาจเป็นเพราะการไม่ทำการบ้านคือไม่อ่านวาระการประชุมหรือเตรียมข้อมูลก่อนการประชุมของสมาชิกหรือประธานเองด้วย (เรื่องแบบนี้สมาชิกควรตระหนักถึงวาระและเวลาที่คนอื่นต้องพลอยเสียไปจากการถกที่เรื่อยเจื้อย-นี่คือผลเสียอย่าร้ายแรงของการประชุมที่ยาวยืดเกินความจำเป็น)
จากอาจารย์เก่าแก่ที่เคยเบื่อหน่ายกับการประชุมที่ขาดคุณภาพดังกล่าว
![]() |
เห็นด้วยทุกกรณีเลยค่ะ การประชุมจะสำเร็จไปด้วยดี ในความคิดของดิฉัน (ยังไม่ได้ค้นทฤษฎีนะคะ)อยู่ที่หลายๆฝ่าย เช่น
1.ฝ่ายเลขา ต้องเตรียมข้อมูลทุกอย่างพร้อมตามที่คาดว่าประธานน่าจะต้องการ อำนวยความสะดวกทุกอย่าง ทั้งก่อนและหลังการประชุม..ต้องไปศึกษากันหน่อยแล้ว..ว่าเลขาที่ดีต้องเป็นอย่างไรบ้าง การที่ท่าน...สะท้อนออกมา แสดงว่าท่านอยากเห็นฝ่ายเลขาปรับปรุงพอสมควร
2.ประธาน นี่ซิสำคัญ...ควรทราบว่าการเป็นประธานในที่ประชุมที่ดีต้องมีทักษะอะไรบ้าง...ซึ่งทราบว่าทั้งผู้เข้าร่วมประชุมและฝ่ายเลขาเองก็อึดอัดพอสมควรนะคะ...และฝ่ายเลขามักจะเป็นฝ่ายที่พูดไม่ค่อยออกโดยเฉพาะเมื่อเป็นแค่ข้าราชการสายสนับสนุน....ถ้าผู้เข้าร่วมประชุมไม่พอใจ...ท่านอาจจะเดินออกนอกห้องประชุมได้บ้าง แต่ถ้าฝ่ายเลขาอึดอัดนี่ซิคะ ทำอะไรไม่ได้เลย แล้วเลขาอึดอัดเรื่องอะไรจ๊ะ
-อาจจะเป็นเรื่องที่ประธานไม่ค่อยทำการบ้านล่วงหน้า...ตามที่เลขาได้เตรียมไว้ให้..หรือที่นอกเหนือจากนั้นประธานต้องการอะไรเพิ่มเติมอีก
-ไม่สามารถควบคุมการประชุมให้เป็นไปตามกรอบของเรื่องและเวลาที่เหมาะสม ทำให้ไม่สามารถประชุมได้ทุกประเด็นตามที่กำหนดในวาระการประชุมและเวลาล่วงเลยมากเกินไป ถ้าคิดว่าวาระมากเกินไป ไม่สามารถประชุมได้หมดในช่วงเวลาดังกล่าว ก็น่าจะพิจารณาตัดไปก่อนแล้ว...
-ไม่สามารถสรุปประเด็นจากการถกเถียง/อภิปรายในที่ประชุมได้ ทำให้ฝ่ายเลขา (ซึ่งก็ไม่เก่งอยู่แล้ว)สรุปลำบากม้าก..มาก
ดังนั้นคิดว่าก่อนการประชุม ฝ่ายเลขาและท่านประธานคุยกันสักนิดนะคะ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวทั้งประธานและเลขา เลขาจะได้ไม่ทำให้ประธานหน้าแตกในที่ประชุม.. และประธานจะได้ไม้ตำหนิเลขาในที่ประชุม...ข้อมูลจะได้พร้อมขึ้น
3.ผู้เข้าร่วมประชุม น่าจะปฏิบัติดังนี้
-ก็ต้องอ่านแฟ้มมาพอสมควรและก็ควรรู้ว่าวาระใดเพื่อทราบ วาระใดเพื่อพิจารณาจะได้ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
-ไม่ควรหลับในห้องประชุมนานเกินไปจนตื่นขึ้นมาแล้วโวยวายในเรื่องที่ที่ประชุมได้คุยกันจนมีข้อสรุปไปแล้ว
สุดท้าย ...บางวาระ บางเรื่องอาจจะไดข้อยุติก่อนการประชุมเพียง 1 วันหรือเวลาน้อยก่อนการประชุม ทำให้ต้องแจกเอกสารในที่ประชุม...อันนี้ทำให้ฝ่ายเลขาดูเหมือนจะบกพร่อง...เตรียมเอกสารไม่ทัน..ประธาน อ่านไม่ทัน ...ผู้เข้าร่วมประชุมก็เพิ่งอ่านแฟ้ม...อันนี้ก็คิดเสียว่า ทุกอย่างในโลกยืดหยุ่นบ้างก็ดีค่ะ...เข้าใจเขา..เข้าใจเรา...ให้อภัย...ทุกอย่างจะได้จบลงด้วยดี
.........คิดอยู่นานก่อนจะเขียน..กลั้ว..กลัว..ไม่แน่ใจค่ะว่าได้ละเมิดกฏิกาการเขียน บล็อกไปแล้วยัง...ถ้าผิด..ก็ลบทิ้งไปเลยนะคะ
![]() |
เห็นด้วยกับความเห็นที่ 4 แต่เราว่าน่าจะเปิดอบรมประธานในที่ประชุมด้วยนะ จะได้เนี๊ยบทั้งประธานในที่ประชุม และทีมเลขาไง จะได้มีเวลากลับไปอยู่กับครอบครัวบ้าง เพราะบางคนประชุมตั้งแต่เช้าจนดึก น่าสงสารจังนิ
ขอปรึกษาผู้รู้ค่ะ
หากต้องอยู่ในสถานการณ์ของการประชุมที่สร้างขึ้นมาเพื่อหาความ " ชอบธรรม" ในสิ่งที่ตนเอง(ประธานหรือพรรคพวก)ได้ตัดสินใจหรือทำไปแล้ว ควรทำอย่างไรดีค่ะ
![]() |
หน้าที่ของเลขานุการในการประชุมนั้นสำคัญยิ่ง เนื่องจากจะต้องทำหน้าที่ทั้งก่อนการประชุม ขณะประชุม และหลังการประชุม ไม่ว่าจะเป็นการนัดประชุม การเตรียมเครื่องดื่ม อาหารว่าง การจดบันทึกขณะประชุม การขยายความเมื่อสมาชิกมีข้อสงสัย จนกระทั่งการสรุปการประชุม
ที่มา: บทบาทหน้าที่ของเลขานุการ
![]() |
ไม่เคยเป็นเลขาการประชุมสักที ไม่รู้จะทำได้หรือเปล่า
13 December 2007 08:04
#4350
เท่าที่ผ่านมา ทีมเจ้าหน้าที่ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวาระการประชุม ยังขาดการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา เพื่อเสนอทางเลือก ข้อดี ข้อเสีย ข้อเสี่ยง ความคุ้มค่า ผลกระทบที่ได้และเสีย ทำให้การประชุมไม่กระชับ กรรมการถกเถียงกันโดยไม่มีข้อมูล และอาจเกิดผลเสียมากกว่า ดังนั้น ต้องทำให้เป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น ความจริง เราก็ทำประกันคุณภาพมานาน น่าจะมี proceedure สำหรับการประชุมของฝ่ายเลขา คิดไปทำท่าจะเพิ่มงานกันอีกแล้ว