ความเห็น: 2
ย้อนรอยเวปศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ #1
ผมเริ่มเข้าทำงานที่ ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เมื่อ 2 มกราคม 2546 ก้าวแรกที่ผมเข้ามา ผมเองก็ไม่รู้หรอกว่าจะทำอะไรให้หน่วยงานนี้ได้บ้าง มีการยกโต๊ะทำงานให้ ซึ่งเป็นโต๊ะเดิมของรุ่นพี่ที่ลาออกไปก่อนหน้าที่ผมจะเข้ามา ห้องทำงานหลักของผมจึงเป็นห้องซ่อม รวมกันคนอื่นๆ ของฝ่ายซ่อมบำรุงรักษาและพัฒนาเครื่องมือ
เหลือบไปเหลือบมาพบว่ามีคอมคอมพิวเตอร์อยู่หนึ่งตัวหน้าตาแปลกไปจากทั่วไป เพราะมันคือ HP Netserver E200 วางแหมะอยู่ห้องผู้เชี่ยวชาญ จึงขออนุญาติหัวหน้าเพื่อเล่นกับมันดู สมัยนั้นผมไม่ได้เชี่ยวชาญอะไรเกี่ยวกับ Server (ถึงเดี๋ยวนี้ก็เหมือนกัน 555) จึงลองปลุกชีวิตมันขึ้นมา ตอนแรกผมเริ่มจาก Window 2000 Server และติดตั้ง IIS
ก่อนหน้านั้น เวปของศูนย์เครื่องมือฯไม่ได้อยู่ที่ศูนย์เครื่องมือฯ ครับแต่ฝากอยู่ที่ www.psu.ac.th/scientific_equipment/ ประมาณนี้ผมจำแน่นอนไม่ได้ คนดูแลคือพี่เทิดทูน (เดี๋ยวนี้ย้ายไปเป็นอาจารย์เทิดทูนแล้ว) ผมก็ขอ copy ข้อมูลมาลองติดตั้งไว้ที่ Server ตัวใหม่และขอ NameServer ไปทางศูนย์คอมพิวเตอร์ จึงได้มาเป็น www.sec.psu.ac.th
ก็ล้มลุกคลุกคลานกับ Windows 2000 ไม่กี่เดือนก็ต้องพ่ายแพ้เพราะมีปัญหาค้างบ่อย งอแง คนดูแลก็แก้ไม่เป็น ในสมัยนั้นยังใช้เวปแบบ static แค่นั้นเองยังรวนได้ทุกอาทิตย์ จึงตัดสินใจย้ายมาใช้ Linux server แทน แต่จะทำอย่างไรได้ในเมื่อไม่ได้จบมาสาย โปรแกรมเมอร์ งานนี้ก็ไม่ใช่งานหลักแต่ทำด้วยใจรัก อยากจะพัฒนาในช่วงที่เวลาว่าง ผมจึงเริ่มจาก Linux SIS (Linux School or Small Office Internet Server) ซึ่งพัฒนามาจาก Redhat Server แต่ปรับปรุงต่อยอดโดยทีมงานคนไทยให้สามารถใช้งานสำหรับภาษาไทยได้ง่ายขึ้น ก็พบว่าทำงานได้ดีกว่า Windows Server เยอะเลย เสถียรมาก อยู่ได้เป็นปีโดยไม่ต้องปิดเครื่อง ผมเริ่มหลงรัก Linux ขึ้นมาก็ตอนนั้นเอง
ตอนนั้นเองราวปี 2003 หรือ 2547 จึงเริ่มศึกษา php MySQL ด้วยตนเองและมีวิศวกรผู้ร่วมงานเข้ามาอีกหนึ่งคน ได้มาช่วยทำให้ www.sec.psu.ac.th เริ่มมีชีวิตชีวา พี่ iHum นั่นเอง ที่ว่ามีชีวิตชีวาก็เพราะเราเริ่มเปลี่ยนจากเวปแบบ static มาเป็นแบบ Dynamic โดยใช้ php และ MySQL เข้ามาช่วย
แต่ก็ใช่ว่า Linux SIS จะใช้งานได้ราบรื่นตลอดเพราะผมเองก็ไม่ได้จบมาทางนี้อาศัยใจรักหาอ่านจากหนังสือและ yahoo (สมัยนั้น yahoo hit กว่าสำหรับผมครับ) ก็ปรากฎว่าโดนลองของโดยมีรุ่นน้องโทรแจ้งจากศูนย์คอมพิวเตอร์ว่าเครื่องพีกำลังโดน ssh จากข้างนอกอยู่ พี่กำลังเปิดให้ใครเข้ามาหรือเปล่า ก็ตอบไปว่าเปล่านะ น้องก็เลยจัดการ block โดย firewall ให้พลางๆ ก่อน แต่ก็นับว่าโชคดีไม่มีอะไรเสียหาย นับจากนั้นจึงต้องปรับรุ่นของ OS ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
มาย้อนรอยกันดูผ่าน http://web.archive.org ว่าหลายปีก่อนหน้านี้หน้าตาของ www.sec.psu.ac.th เป็นอย่างไรโดยคลิกไปที่วันที่ที่มีวงกลมสีฟ้านะครับ ต้องขอยกความดีความชอบให้กับท่าน iHum ล้วนๆ ครับเพราะผมเองส่วนใหญ่แล้วก็ดูแลในเรื่อง Hardware OS และ Database เท่านั้น ร่วมช่วยเขียนเวปน้อยมาก
แม้เราจะมีภาระงานหลัก คือ ซ่อมบำรุงและดูแลเครื่องมือวิจัยราคาแพง แต่ด้วยใจรักก็อยากจะพัฒนางาน IT ของหน่วยงานให้ก้าวหน้าโดยอาศัยช่วงว่าง หรือนอกเวลางานหลัก ปรับปรุงพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น อาจจะเรียกได้ว่างานปิดทองหลังพระก็ว่าได้ เพราะแม้แต่ชื่อ web master ในหน้าเวปก็ยังไม่เคยใส่เลย
เตรียมพบกับ โฉมใหม่เวปไซต์ของศูนย์เครื่องมือฯ ได้ในเร็วๆ นี้ :)
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « การตั้งค่าภาษาไทยสำหรับ putty SSH
- ใหม่กว่า » สร้างภาพเพื่อ ??? ด้วย ???
ความเห็น
ช่วงนั้นมี search engine หลายตัวที่ใช้อีกตัวก็จะเป็น altavista ส่วน yahoo นั้นจะมีลักษณะของการค้นที่เป็น index หรือจัดหมวดหมู่ตามกลุ่มคำ
แหล่งข้อมูลด้านนี้สมัยนั้นอีกแหล่งก็คงเป็น news group ซึ่งตอนนี้ล้มหายตายจากไปหมดแล้ว (มั๊ง) ที่ยังพอเห็นอยู่บ้างก็เป็น list serve
อิอิอิ
รอชมโฉมเวปใหม่ครับพร้อมกับอ่านตอนที่ ๒ ครับ
อิอิอิ
เราเอง
01 มีนาคม 2558 13:56
#102139
อ่านแล้วเข้าใจอย่างยิ่งเลยค่ะ เรียกว่าหัวอกอันเดียวกัน เพราะทำด้วยใจรักจริงๆ แต่พี่โอ๋ยังห่างไกลจากที่เล่านี้เยอะมาก แต่เป็นการทำงานที่คนอื่นจะไม่รู้เลยว่ามันลำบากยุ่งยากขนาดไหนนะคะ