ความเห็น: 0
10 ลางบอกเหตุฮาร์ดดิสก์ใกล้ตาย
ผมเชื่อว่าทุกคนสมัยนี้ และอนาคตต่อจากหนี้ คอมพิวเตอร์(PC)หรือโน๊ตบุ๊ค สำคัญมากกับชีวิตประจำวันของคนหลายๆ คน ผมใช้ชีวิตอยู่กับเทคโนโลยี ที่ไม่มีวันที่จะตามทัน เทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ล้ำสมัยมากขึ้น
ผมนั้งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ได้ทั้งวันโดยที่ไม่มีวันเบื่อ เพราะมันสามารถ ที่จะทำอะไรก็ได้ ที่เราอยากจะทำ สามารถหาความรู้ใหม่ๆ ได้หากมี INTERNET เปิดโลกเขาเราให้กว้างขึ้น ขณะนั่งเขียนแชร์นี้ ก็ยังต้องใช้โน๊ตบุ๊ค ฮาๆ ผมใช้โน๊ตบุ๊ค รุ่นนึง มาระยะเวลา เกือบ 5 ปีแล้ว ตอนนี้ก็มีสัญญาณเตือนออกมาแล้วว่า อาการไม่ค่อยดี เหมือนคนป่วย คือ ฮาร์ดดิสก์ เริ่มมีเสียงดังติ๊กๆ เป็นอาการในระยะแรก ซึ่งผมคงไม่รอให้มันเสีย เพราะ ข้อมูลที่อยู่ในฮาร์ดิสก์ มีความสำคัญมากกว่ามูลค่าของเงินที่ต้องซื้อโน๊ตบุ๊คเครื่องใหม่ และแล้วผมก็ซื้อฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่มาเรียบร้อย
"เสียง่าย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย" คงจะเข้าใจกันนะครับ
ผมมีสาระดีๆ มาฝากครับ อย่าลืมใส่ใจรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้กันนะครับ
1. เสียงดังติ๊กๆ อย่านึกว่าเป็นเข็มนาฬิกา : ฮาร์ดดิสก์ทุกตัวในโลกนี้ไม่เคยติดตั้งนาฬิกาปลุกไว้ข้างใน และถ้ามันเป็นปกติดีก็ไม่ควรจะมีเสียงดังติ๊กๆ ให้ชวนระทึกขวัญด้วย เสียงดังที่ว่านี้ ถ้าจะให้พิจารณากันอย่างละเอียดคุณต้องเอาหูแนบกับฮาร์ดดิสก์ว่าเสียงมาจากส่วนใด เพราะการวิเคราะห์หาสาเหตุจะทำได้ตรงจุดจริง ๆ ถ้าเสียงมาจากตรงกลางให้สันนิษฐานว่ามาจากชุดขับเคลื่อนมอเตอร์ที่อาจเกิดความผิดพลาดหรือชำรุดขึ้น แต่ถ้าเสียงดังมาจากรอบ ๆ นอกในรัศมีของกล่องฮาร์ดดิสก์ ให้สันนิษฐานว่าปัญหามาจากหัวอ่านติดขัด ซึ่งอาจจะกำลังเคาะกับแผ่นจานอยู่ก็เป็นได้ ตรงนี้อันตรายมากเพราะทำให้ข้อมูลเสียหายได้ทั้งลูกเลย |
|||
6. ไฟติด แต่ไฟล์ดับ! : ถ้าคุณต่อสายสัญญาณไฟแสดงสถานะของฮาร์ดดิสก์ในเมนบอร์ดถูกต้อง หลอด LED ด้านหน้าเคสต้องแสดงอาการให้เห็นเวลาที่มีการเขียนอ่านข้อมูลเกิดขึ้น หลอดไฟดวงเล็ก ๆ นี้ช่วยให้คุณสังเกตความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง ถ้าในระหว่างที่มีการเขียนข้อมูลหรือไฟล์ลงฮาร์ดดิสก์ หลอดไฟย่อมกะพริบอยู่ตลอด แต่หลังจากคุณกลับเข้าไปดูข้อมูลที่เขียนหรือโอนถ่ายลงไปกลับพบว่าทุกอย่างว่างเปล่า ไม่มีอะไรถูกเขียนลงไปในฮาร์ดดิสก์เลย แล้วทำไมหลอดไฟถึงได้กะพริบแบบนั้น ตรงนี้บอกอะไรเราได้บ้าง อย่างแรกเลยคือ เกิดความผิดพลาดในระดับโครงสร้างการจัดเก็บไฟล์ ปัญหาที่ว่านี้อาจมาจากระบบ FAT หรือแม้แต่โครงสร้างพาร์ทิชันเสียหาย ไฟที่กะพริบแสดงถึงการโอนข้อมูลไปยังตำแหน่งของเซกเตอร์ที่ใช้เก็บข้อมูล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเขียนลงไปได้สำเร็จจริงๆ ยิ่งถ้าคุณปิดหน้าจอไว้ในระหว่างที่มีการโอนไฟล์ใหญ่ๆ หลอดไฟที่กะพริบอาจทำให้คุณเข้าใจว่าระบบกำลังทำงานอยู่ ตรงนี้ถ้าไม่เปิดดูหน้าจอจะไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น 7. ฮาร์ดดิสก์ตีกลอง : สำหรับอาการที่ว่านี้มีความแตกต่างจากข้อที่ 1 โดยสิ้นเชิง ถ้าคุณได้ยิ้นเสียงรัวกลองดังกึกก้องมาจากฮาร์ดดิสก์ และไม่ยอมหยุดซักที อาการแบบนี้บอกได้อย่างเดียวว่ามันจะขอลาแล้วละครับ เสียงดังที่คล้ายกับการตีกลองนั้นมาจากหัวอ่านไปกระทบกับจานอย่างจัง หรือแม้แต่หัวอ่านเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งล็อก จนไปกระกบกับแผ่นจาน ถ้าเป็นแบบนี้ข้อมูลทั้งหมดในอาร์ดดิสก์อาจได้รับความเสียหายจนถึงขั้นกู้ไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้าเสียงกลองเพิ่งเริ่มรัวให้คุณรีบพาฮาร์ดดิสก์ไปซ่อมด่วนเลยนะครับ! 8. สแกนดิสก์ไม่ผ่าน : การตรวจสุขภาพฮาร์ดดิสก์ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองก็คือ สแกนมันให้ทั่วทั้งจาน ไม่ว่าคุณจะใช้บริการจากยูทิลิตีบนวินโดวส์เอง หรือโปรแกรมจากเธิร์ดพาร์ตี้ก็ตาม หากสแกนไม่ตลอดรอดฝั่งแล้วละก็ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานได้เลยว่าฮาร์ดดิสก์กำลังมีปัญหาเกิดขึ้น สาเหตุก็มีทั้งโครงสร้าง FAT เสียหาย รวมถึงตารางพาร์ทิชันที่อาจเสียหายด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ หากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซกเตอร์ ตรงจุดสำคัญๆ ก็จะส่งผลให้การสแกนฮาร์ดดิสก์ตรงตำแหน่งพื้นที่นั้นๆ ไม่ผ่านด้วยเช่นกัน หรือแม้แต่ค้างนิ่งไปเลยก็มีให้เห็นด้วย 9. สั่งดีแฟรกแต่ไม่ฉลุย : ดีแฟรก หรือการจัดเรียงข้อมูลหรือไฟล์ที่ไม่ต่อเนื่องซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วฮาร์ดดิสก์ให้กลับมาเป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนเดิม เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วให้ก็จริง แต่ถ้าการดีแฟรกไม่ผ่านฉลุยหรือไม่ยอมจบสิ้นซักทีล่ะ ปัญหาจะมาจากไหนได้ นอกจากฮาร์ดดิสก์นั่นเอง ถ้าคุณพบอาการที่ว่านี้ในระหว่างการดีแฟรกฮาร์ดดิสก์นั้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ถึงสุขภาพฮาร์ดดิสก์ของคุณเริ่มไม่ดีแล้ว ความเป็นไปได้ของปัญหามีอยู่สองอย่างครับ อย่างแรกมาจากตัวอุปกรณ์เองที่อาจชำรุดเสียหาย และอย่างที่สองมาจากโครงสร้างพื้นฐานการจัดเก็บข้อมูลเกิดความเสียหายในระดับซอฟต์แวร์ ตรงนี้เราไม่สามารถใช้การดีแฟรกมาช่วยได้นอกจากต้องสร้างพาร์ทิชันและฟอร์แมตโครงสร้าง FAT ขึ้นมาใหม่ 10. สร้างพาร์ทิชันไม่ได้ : สัญญาณอันตรายในข้อสุดท้ายนี้ค่อนข้างรุนแรงครับ ถ้าคุณเผอิญกำลังประสบอยู่ละก็ ขอบอกเลยว่าอาจจะต้องทำใจเอาไว้ด้วย ถ้าอาการที่ว่านี้เกิดกับฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่แกะกล่องคงไม่ต้องซีเรียสอะไร เพราะยังไงก็เคลมได้ชัวร์ๆ แต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ที่หมดประกันไปแล้วล่ะ สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้เวลาที่ไม่สามารถสร้างพาร์ทิชันขึ้นมาได้เลย ไม่ว่าจะใช้โปรแกรมใดๆ ก็ตาม การตีความหมายไม่ควรอยู่ในวงแคบๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์พังแน่ ๆ หรือมันเพิ่งหล่นมาใช้ไหมนี่ ปัญหาอาจจะมาจากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย ซึ่งหากคุณหาอะไหล่ที่เป็นรุ่นเดียวกันมาถอดเปลี่ยนเข้าไปใหม่ ก็สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์ได้แล้ว แต่ถ้าแผ่นจานเสียหายละก็หมดสิทธิ์ทันทีครับ ต้องกินยาทำใจอย่างเดียว |
ขอบคุณ www.manager.co.th
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « อะไรที่เป็นครั้งแรก มักจะตื่นเต้...
- ใหม่กว่า » พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ 2558
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้