ความเห็น: 18
โลจีสติกส์ ศาสตร์มีอนาคต
โลจิสติกส์ (Logistics) แปลว่า การส่งกำลังบำรุงในทางทหาร ซึ่งก็คือ การขนส่งยุทโธปกรณ์จากแนวหลังไปสู่แนวหน้าให้ถูกสถานที่ ทันเวลา เป็นการดำเนินการสุดท้ายของการขนส่ง จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เราจึงได้นำเอาวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับระบบการขนส่ง คมนาคม ทำให้โลจิสติกส์ถูกบัญญัติให้เป็นความหมายของระบบการขนส่ง
ความหมายของโลจิสติกส์ (Logistics) อีกนัยหนึ่ง หมายถึง การจัดการวางแผน กำหนดสายงานและควบคุมกิจกรรมทั้งการเคลื่อนย้ายและไม่เคลื่อนย้ายในการลำเลียงสินค้าจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งที่มีการบริโภค โลจิสติกส์ คือวิธีการและกระบวนการที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายและต้นทุนโดยรวมในการกระจายสินค้าให้ต่ำที่สุด เพื่อการอำนวยความสะดวกของกระบวนการไหลของสินค้าตั้งแต่จุดเริ่มจนถึงมือผู้บริโภค ตามแนวคิดของโลจิสติกส์ จึงประกอบด้วย
กิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมด้วยกัน คือ 1. การขนส่ง 2. การสินค้าคงคลัง 3.กระบวนการสั่งซื้อ
กิจกรรมสนับสนุนในกระบวนการไหลของสินค้าตามแนวคิดของโลจิสติกส์ คือ กิจกรรมที่มีส่วนในกระบวนการกระจายสินค้า และเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้งานของกิจกรรมหลักดำเนินไปได้สะดวก ได้แก่ การจัดการด้านโกดัง การยกขน การบรรจุหีบห่อ การจัดซื้อจัดหา การจัดตารางผลิตภัณฑ์ การจัดการด้านข้อมูล
หลักการง่าย ๆ ของโลจิสติกส์ในระบบของการขนส่ง คือ ไปให้ถึงที่หมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา
สรุปภาพรวม
โลจิสติกส์ = การจัดหา + การจัดการพัสดุ + การกระจายสินค้า
จากการที่ โลจีสติกส์ (Logistics) เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่ง ที่มีการเคลื่อนย้ายการจัดเก็บ จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ซึ่งอาจจะมีการจัดเก็บเป็นระยะเวลาที่ยาวนานหรือชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่นๆ จึงมีศาสตร์แขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยหลายแขนงอย่างน้อย 3 ศาสตร์ ด้วยกัน คือ
ศาสตร์แรก เรื่อง วิศวกรรมศาสตร์ จะคำนึงถึงกิจกรรมการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้าเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงหรือระยะเวลาในการขนส่งน้อยที่สุด
ศาสตร์ที่สอง ด้านบริหารธุรกิจ จะมองในเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศ โดยพิจารณาภาษี กฏหมาย ค่าระวาง นโยบาย หรือ ยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ เพื่อประกอบการวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ
ศาสตร์ที่สาม ด้านการจัดการสารสนเทศ จะศึกษาในส่วนของ Software และ Hardware นำมาควบรวมในการบริหาร ช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
สมาพันธ์โลจีสติกส์แห่งประเทศไทย ได้คาดการณ์ว่า ความต้องการบุคลากรด้านโลจีสติกส์ อีก 5 ปีข้างหน้าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 17,000 คนต่อปี แต่ปัญหาสถานศึกษาไม่สามารถผลิตบุคลากรได้เพียงพอกับความต้องการ ทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้
เมื่อหันมามองศักยภาพของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าศาสตร์ทั้ง 3 ของมหาวิทยาลัย คือ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการจัดการ และการจัดการสารสนเทศ ปัจจุบันนับว่ามีความเข้มแข็งอยู่ในระดับที่เชื่อถือได้ ดังนั้น การเปิดสอนหลักสูตรทางด้านโลจีสติกส์ อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม กล่าวได้ว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจจะมีการเปิดสอนสาขาโลจีสติกส์ภาย ในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีนี้ (เดาเอาเองนะครับ อย่างเพิ่งคิดว่าเป็นจริง) คำนวณเล่นๆ ว่า ลักษณะการเปิดสอนสาขาโลจีสติกส์ ของ ม.อ. น่าจะเป็นไปใน 2 รูปแบบ หลักๆ คือ
1. พัฒนา ศาสตร์ที่เข้มแข็งอยู่แล้ว โดยใส่ศาสตร์เกี่ยวกับโลจีสติกส์เพิ่มเข้าไป เช่น
สาขาการจัดการด้านโลจีสติกส์ โลจิสติกส์การตลาด โลจิสติกส์การกระจายสินค้า โลจิสติกส์ธุรกิจ การจัดการพัสดุ การจัดการโลจิสติกส์พัสดุ ของคณะวิทยาการจัดการ
สาขาวิศวกรรมโลจีสติกส์ วิศวกรรมการกระจายสินค้า โลจิสติกส์อุตสาหกรรม ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
สาขาสารสนเทศระบบโลจีสติกส์ คณะวิทยาศาสตร์
สาขากฏหมายโลจีสติกส์ คณะนิติศาสตร์
สาขาเศรษฐศาสตร์โลจีสติก คณะเศรษฐศาสตร์
เป็นต้น
ซึ่งบางสาขาอาจจะมีการเตรียมการณ์ไว้แล้ว หรือไม่มีก็สุดแต่จะคาดเดา เพราะผมยังไม่ได้เข้าไปล้วงความลับที (^_^)
2. บูรณาการ ศาสตร์ทั้ง 3 เข้าด้วยกัน เพื่อจัดการเรียนการสอนสาขาโลจีสติกส์โดยเฉพาะ เป็นหลักสูตรบูรณาการคล้ายๆ หลักสูตรการจัดการสารสนเทศ (MIT) ซึ่งแบบนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน แต่ก็เป็นไปได้ถ้าได้รับการผลักดันครับ
มาทายกันดีกว่าว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเปิดหลักสูตรที่เกี่ยวกับโลจีสติกส์หรือไม่? ถ้าเปิดคาดว่าจะเริ่มเปิดสอนกันในปีไหน?
ที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ หน้า 31 วันที่ 8 มีนาคม 2551
http://www.jb-mhg.com/b_logistic/Log_101_b.htm
http://www.utcc.ac.th/engineer/logistics/logistic.htm
http://www.doh.go.th/dohweb/hwyorg33100/page/Logistics.htm
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ตัวเลขเล่าเรื่อง (6.2) - ตามหาคน...
- ใหม่กว่า » นักศึกษา กับ นิสิต แตกต่างกันอย่...
ความเห็น
เราจะเห็นคำว่า logistics สักประมาณ 10 ปีมานี่เอง และนิยมใช้ในการขนส่งเป็นหลัก แต่ก็อย่างที่คุณ Mbunsong ว่าเอาไว้แหล่ะครับว่ามันกว้างกว่านั้น
ผมมีหนังสืออยู่เล่มหนึ่งคือ supply chain strategy
ซึ่งอาจดูว่ากว้างกว่า logistics และเคยได้ยินผู้รู้บางท่านใส่ เรื่องการเงินเข้ามาใน supply chain ด้วย
ซื้อหนังสือมาตั้งไว้นานแล้ว ยังไม่มีโอกาสได้อ่านเลย สนใจยืมไปอ่านก่อนได้ครับ เขียนโดยรศ.ดร.สาธิต พะเนียงทอง
ระบบ Logistics คือ การจัดการในทุกขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่เริ่มต้นที่จะมีสินค้า ไปจนถึงขั้นตอนสุดท้าย
ที่เป็นตัวสินค้า รวมไปถึงกระบวนการที่จะนำสินค้าเหล่านั้นไปสู่มือผู้บริโภคคนสุดท้าย เป็นไปอย่างราบรื่น
ประหยัด ถูกต้องตามความต้องการที่แท้จริง ภายในระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุด
โลจิสติกส์ ในความหมายจริงๆ กว้างกว่าคำว่า การขนส่ง แต่เป็นการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน
จึงสามารถกำหนดจุดเน้นได้หลายๆ ส่วน อาทิ
- Management
- Engineering
- Product
ม.อ. มีแนวคิดที่จะดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ (Logistics) มาตั้งแต่ปี 2548
โดยเลือกที่จะเน้นด้านการจัดการ (management) และกำหนดแนวทางที่จะดำเนินการไว้ 3 ลักษณะ
- เปิดหลักสูตร ป.ตรี เน้น Bilingual และพัฒนาเป็นหลักสูตรนานาชาติ เพื่อสื่อถึงความเป็นสากล
- เปิดหลักสูตร ป.บัณฑิต เน้น Bilingual เช่นกัน สำหรับบุคคลที่อยู่ในระบบหรือทำงานที่เกี่ยวข้อง
เนื้อหาหลักสูตรเน้นการประยุกต์ใช้งานได้ทันที - การฝึกอบรมระยะสั้น
ในการดำเนินงานกำหนดให้คณะวิทยาการจัดการ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และประสานงานกับคณะที่เกี่ยวข้อง
อาทิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ เป็นต้น
ซึ่งมหาวิทยาลัยมีแผนที่จะดำเนินการในแผนฯ 10 แต่จะปีไหนไม่แน่ใจ แต่ไม่เกินปี 2554
เอามาเล่าสู่กันฟังว่า ม.อ. เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ และมีแนวคิดที่จะดำเนินการมาก่อนแล้ว
แต่อาจประสบปัญหาในเรื่องบุคลากรที่ความรู้ด้านนี้ยังน้อยอยู่
![]() |
![]() |
เพิ่งสอบเสร็จเมื่อเที่ยงนี้เองครับ
ตอนนี้ก็เปิดสอน อยู่ในหลักสูตร การจัดการอุตสาหกรรม (MIM) วิศวกรรมอุตสาหการ ครับ
![]() |
มี่ มรช. ก็เปิดสอนสาขาวิศวกรรมโลจีสติกส์และการจัดการแล้วนะคะ
ดูแล้วหลักสูตรก็ดีด้วยนะ
ใครสนใจเข้ามาที่ www.cru.in.th
นะคะ
![]() |
ระหว่างตัดคอคอดกราด กับระบบ landbridge คิดว่าระบบใดจะดีกว่าคะ เพราะอะไรถึงดีกว่า
![]() |
จัดโดย กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และสมาคมผู้ประกอบธุรกิจวัตถุอันตราย ระหว่างวันที่ 9-13 กันยายน 2552 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์เพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณรัตติยา, คุณธิติพันธ์, คุณชลวรรณ หรือ คุณบูรณีโทรศัพท์ 02-690-5681-4
![]() |
![]() |
ตามอ้างถึงความเห็นที่ 2 นะครับ
ผมอยากยืมมาศึกษาบ้างอะครับเพราะอยากมีความรู้ทางด้านนี้พอสมควรเพราะตอนนี้ไม่ค่อยรู้อะไรเลย
![]() |
มหาวิทยาลัยเกริกเปิดสอนหลักสูตรสาขาการจัดการโโลจิสติกส์คับ...อาจารย์ทุกท่านก็สอนดีเข้าใจง่ายค่ะเป็นกันเองมากๆๆ จบมามีงานทำแน่ค่ะ
สนใจติดต่อได้ที่...www.krirk.ac.th...
นก....
![]() |
เรียนด้านโลจิสติกยากไหมคะ
แล้วจบไปทำงานที่ไหนได้บ้่าง
แล้วเงินเดือนดีไหม 555+
![]() |
โรงเรียนธุรกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (ITBS) ในเครือ TIFFA
โรงเรียนธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ (International Transport and Business School : ITBS) ภายใต้การดูแลของ สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Thai International Freight Forwarders Association : TIFFA) รับรองหลักสูตรโดย กระทรวงศึกษาธิการ ITBS ได้เปิดดำเนินการผลิตบุคลากรในสาขาวิชาชีพเฉพาะด้านโลจิสติกส์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา โดยเปิดอบรมหลักสูตรธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ ภาคทฤษฏี 240 ชั่วโมง ด้วยการเรียนการสอนตามหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพมาเป็นเวลา 12 ปี ทั้งเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานจริง ที่สร้างบุคลากรป้อนเข้าสู่ธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ และทั้งเพื่อคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าทำงานร่วมกับบริษัทสมาชิกของสมาคม TIFFA ด้วยสถิติของนักศึกษาที่จบได้งานทำมากกว่า 90% ของแต่ละรุ่น
หลักสูตรนี้เสนอโดย คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันต่างๆ ทั้งภาครัฐ-เอกชนที่มีชื่อเสียง และมีประสบการณ์ตรงกับธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หลังสำเร็จการอบรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัตินั้น จะมีการทดสอบภาคทฤษฏี และประเมินผลภาคปฏิบัติ เพื่อรับใบประกาศนียบัตร รับรองโดย กระทรวงศึกษาธิการ และ สมาคม TIFFA ร่วมกับ สถาบัน ITBS ทั้ง ITBS ยังแนะนำและประสานงานให้เข้าทำงานกับ บริษัทสมาชิกสมาคมทิฟฟ่า จำนวน 190 บริษัท และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
- ธุรกิจผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarders)
- ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก (Importer & Exporter)
- ตัวแทนออกของ (Customs Broker)
- สถานีบรรจุสินค้าด้านนอกท่า (ICD)
- สายการเดินเรือ (Shipping Line)
- สายการบิน (Air Line)
- บริษัทประกันภัย (Cargo Insurance Company)
- ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank)
- ธุรกิจอื่นๆ
· สถิติได้งานร้อยละ 93% ในแต่ละรุ่น (อีก 7 % ทำการศึกษาต่อ ป.โท หรือมีกิจการส่วนบุคคล)
· รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมผู้รับการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA)
· สอนโดยวิทยาการจากกรมศุลกากร,เจ้าหน้าที่จากสายการเดินเรือ,สายการบินและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
· นำค่าใช้จ่ายฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200 %
ภาคปกติ (ภาคทฤษฎี และปฏิบัติ) รับจำนวนจำกัด 50 ที่นั่ง
เปิดอบรม ทฤษฎี 8 สิงหาคม – 23 กันยายน 2554
ฝึกปฏิบัติงาน 26 กันยายน – 15 พฤศจิกายน 2554
อบรมทุกวันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น.
ภาคค่ำ (ภาคทฤษฎี) รับจำนวนจำกัด 30 ที่นั่ง
เปิดอบรม ทฤษฎี 19 กันยายน 2554 – 9 มีนาคม 2555
อบรมทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 18.00 – 21.00 น.
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
ผู้ที่มีความรู้ตั้งแต่ ม.6 / ปวช. ปวส. และปริญญาตรีขึ้นไป (ไม่จำกัดสาขา) ไม่จำเป็นต้องเคยเรียน หรือ ทำงานด้านนี้มาก่อน
หรือ ผู้ที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนสายงาน หรือต้องการความรู้เพิ่มเติม
*ในกรณีที่ต้องการให้จัดหางานให้ต้องมีวุฒิ ปริญญาตรีขึ้นไป (ไม่จำกัดสาขา)
รายละเอียดหลักสูตร มี 10 หัวข้อหลัก
1. ธุรกิจผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder Business)
2. เงื่อนไขและเอกสารที่ต้องใช้ในธุรกิจการขนส่งและการค้าระหว่างประเทศ (Incoterms and Documents Required)
3. พิธีการศุลกากร (Customs Clearance Procedures)
4. การขนส่งทางทะเล (Seafreight)
5. การขนส่งทางอากาศ (Airfreight)
6. การบรรจุและขนถ่ายสินค้า (Operations)
7. การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport Operation : MTO)
8. โลจิสติกส์และซัพพลายเชน (Logistics & Supply Chain)
9. การตลาด (Marketing : CS & Sell Technique)
10. Introductory English for Shipping Terminology
ติดต่อและสอบถามข้อมูลด้ที่ 089-1477-798 (บลู)
หรือที่ ITBS โดยตรง 0-2671-4004 ext. 300-306
www.itbsthai.com E-mail : itbs@itbsthai.com
![]() |
ทุกวันนี้โลจิสติกส์มีมีความต้องการด้านบุคลากรมาก ทำให้หางานได้ง่าย พี่แนะนำให้น้องเรียนโลจิสติก หรื การจัดการธุรกิจการบิน ที่ ม.เกริก สิครับ จบไปมีงานทำแน่นอน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http//www.logistics.krirk.ac.th
![]() |
สวัสดีครับ พี่ชื่อพี่ต้น นะครับ พี่กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกสื สำหรับน้องๆ ที่กำลังมองหาที่เรียนต่อปริญญาตรี สำหรับน้องๆ ที่จบ ม. 6 แล้ว พี่ขอแนะนำให้น้องๆลอง มาสมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยเกริก คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สาเหตุที่พี่แนะนำให้มาเรียนที่นี่นั้นเพราะตอนนี้พี่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกริก พี่จึงมองเห็นว่าตอนนี้การเรียนโลจิสติกส์ซึ่งเป็นสาขาใหม่ที่เปิดขึ้นเพราะทางองค์กรต่างๆ ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านนี้โดยเฉพาะ และต้องการเป็นจำนวนมาก และสำหรับน้องๆที่จบสาขานี้แล้วรับรองว่ามีงานทำแน่นอนเพราะขณะนี้ทุกองค์กรจะต้องมีงานด้านนี้ ดังนั้นบุคลากรที่จบโลจิสติกส์ จะกลายเป็นบุคลากรที่มีความสามารถแน่นอนครับแล้วที่ม.เกริกก็ได้เปิดสาขาท่นาสนใจอีกสาขาคือสาขาการจัดการธุรกิจการบินน่าสนใจนะครับน้องคนไหนที่อยากเรียนด้านนี้ม.เกริกยินดีต้อนรับนะครับมาเป็น
เข้ามาเป็นพี่น้องกันนะครับ
นายกฤษณะ สิตะยัง
531-00-0215
![]() |
พี่ค่ะพอดีว่าหนูสนใจเกี่ยวกับคณะโลจิสติกอ่ะค่ะ อยากให้พี่ช่วยบอกรายละเอียดว่าเป็นแบบไหน เรียนแบบไหนอ่ะค่ะ ขอบใจล่วงหน้าน่ะค่ะ
![]() |
mandala บอกกล่าวว่า " มหาวิทยาลัยมีแผนที่จะดำเนินการในแผนฯ 10 แต่จะปีไหนไม่แน่ใจ แต่ไม่เกินปี 2554
เอามาเล่าสู่กันฟังว่า ม.อ. เล็งเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ และมีแนวคิดที่จะดำเนินการมาก่อนแล้ว
แต่อาจประสบปัญหาในเรื่องบุคลากรที่ความรู้ด้านนี้ยังน้อยอยู่"
ไม่ทราบว่าหลักสูตรดังกล่าวมีแล้วหรือยัง
![]() |
พี่อยากทราบว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีคณะโลจิสติกส์ รึป่าว แร้วค่าเรียนเท่าไร่ สมัคยังไง ใครรู้ช่วยบอกหน่อยน่ะ อยากเรียนมาก
10 มีนาคม 2551 23:13
#24115