ความเห็น: 6
ย้อนอดีตผ่านแชร์ PSU.ตอนที่ 2
สมันนั้นมีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ เป็นที่พักพิงของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในม.อ.หน่วยงานใหญ่ในปัจจุบัน เช่น คณะแพทย์ฯ และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ต้องอาศัยคณะวิศวะฯ เป็นที่ทำงานและการเรียนการสอน ไปหาหมอก็ต้องไปที่ตึกคณะวิศวะฯ แต่เท่าที่สังเกตจะให้บริการกับบุคลากรของ ม.อ. เป็นส่วนใหญ่
- หน่วยการเจ้าหน้าที่ หน่วยคลัง หน่วยกิจการนักศึกษา ฯลฯ ของ ม.อ. และสหกรณ์ออมทรัพยฯ และสหกรณ์ร้านค้า ธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ต้องอาศัยคณะวิทยาศาสตร์ ใต้ตึกฟักทอง สรุปแล้วคณะวิศวะฯ และคณะวิทย์ฯ เป็นที่พักพิงของเหล่าหน่วยงานต่าง ๆ ใน ม.อ.
- หากท่านใดเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็แผนกบริการยาที่คณะวิทยศาสตร์
- การรับเงินเดือนสมัยก่อน ต้องไปยืนเข้าแถวที่ตึกคณะวิทย์ฯ แล้วเจ้าหน้าที่การเงินจะเรียกชื่อไปรับเงินพร้อมเซ็นต์ชื่อรับเงิน ต่างกับสมัยนี้แค่ใช้บัตรไปกดเงินก็ได้รับแล้ว
- เทคโนโลยีสมัยนี้ทันสมัยเป็นอย่างมากคนที่คิดเรื่องนี้ช่างเป็นคนเก่งจริง ๆ
- สมัยนั้นเข้าเมืองหาดใหญ่ต้องอ้อมไปสามแยกคอหงส์ และสามแยกคลองเรียน เพราะถนนช่องเขาและถนนข้างวัดโคกนาวยังไม่มียังเป็นส่วนยางพารา
ย้อนกลับมาที่คณะทรัพย์ฯ สมัยนั้นมีรถใช้อยู่ 1 คัน คือรถแลนด์โรเวอร์ พี่สนิท ปลื้มใจ เป็น พขร. เวลาจะเข้าเมืองไปติดต่อซื้อของ ต้องไปพร้อม ๆ กัน ส่วนในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของภาควิชาสัตวศาสตร์ มีรถยนต์ ได้รับบริจาคโดยท่าน ผศ .ดร.เจือ สุทธิวนิช (คณบดีคนแรกของคณะทรัพย์ฯ) เป็นผู้ประสานงานรับบริจาค
สมัยผมทำงานอยู่ที่ภาควิชาฯ ในตำแหน่งคนงานลูกจ้างชั่วคราว ก็มีท่านอาจารย์ของภาควิชาฯ แนะนำว่าคุณน่าจะเรียนต่อภาคค่ำเพื่อจะได้มีวุฒิสูงกว่านี้เพื่ออนาคตที่ดีในการทำงาน
ผมก็ได้สมัครเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนบุนนาคพณิชยการในตัวเมืองหาดใหญ่ สมัยนั้นสนุกมากหลังเลิกงานรีบกลับบ้าน (เช่าบ้านอยู่ตรงข้ามกับ ร.ร.โสตนศึกษา คนหูหนวก) บั่นจักรยานคู่ใจไปเรียนหนังสือภาคค่ำ และที่โรงเรียนแห่งนี้เองได้พบรักกับนักศึกษาร่วมรุ่น และได้แต่งงานอยู่กินกันมาจนถึงปัจจุบัน
18 กุมภาพันธ์ 2524 ได้สอบแข่งขันบรรจุเป็นข้าราชการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่พิมพ์ดี ได้รับเงินเดือน 1,395.- บาท รู้สึกดีใจเป็นอย่างมากที่ฝันเป็นจริงเพราะมีความตั้งใจว่าอยากจะเป็นข้าราชการของ ม.อสมัยเป็นเจ้าหน้าที่พิมพ์ดีด ก็ตั้งใจทำงานด้วยความขยันและอดทน ซึ่งก็มีส่วนช่วยสนับสนุนให้คณาจารย์ของภาควิชาฯ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ และได้ทำหน้าที่พิมพ์ตำราให้คณาจารย์ของภาควิชาฯ ได้รับต่ำแหน่ง ผศ. เกือบทุกท่าน พิมพ์ทั้งกลางวันและกลางคืน หรือนอกเวลาเพราะสมัยนั้นอาจารย์มีการขอต่ำแหน่งทางวิชาการกันเป็นจำนวนมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งสมัยที่คอมพิวเตอร์ยังไม่มี ผมได้พิมพ์ตำราให้กับ ท่าน ผศ. วรวิทย์ วณิชาภิชาติ “เรื่อง ไข่และการฟักไข่” ได้ปรึกษาก่อนพิมพ์ว่าจะทำอย่างไรให้ดิ่งหลังได้ (คือข้างหลังต้องตรง) ทำอยากพอสมควร ต้องนับตัวอักษรประมาณสิบตัวอักษรของบรรทักสุดท้าย แต่ผลที่ได้รับคือ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น เป็นตำราเล่มแรกที่ของภาควิชาฯ ที่ทำรูปเล่มเหมือนกับพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ก็เป็นที่มาของเพลง น้ำตาพิมพ์ดีด ซึ่งผมแต่งไว้ร้องเพื่อผ่อนคลาย “ผมเป็นพนักงานพิมพ์ดีด นั่งน่าซีดต้องพิมพ์ดีดทั้งวัน เหน็จเหนี่ยเงื่อไหลเป็นมัน(ซ้ำ) พิมพ์จนมือสั่นเพื่อให้ทันเวลา” ค่อยเขียนต่อตอน 3 นะครับ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ย้อนอดีตผ่านแชร์ PSU.
- ใหม่กว่า » ย้อนอดีตผ่านแชร์ PSU. ตอนที่ 3
ความเห็น
ขอบคุณ คุณลุงเปือน มาเรื่อย ๆ
ชอบอ่านเรื่องราวแต่หนหลัง
เราเด็กรุ่นใหม่ จะได้รู้ถึงความลำบาก
ยากเย็น ของคนรุ่นเก่าก่อน
กว่าจะเดินทางมาถึงซึ่งวันนี้ได้
ขอบคุณนะค่ะ สิ่งที่ฝันก็เป็นจริง ว่า ก่อนที่จะเกษียณฯ พี่จะมาบันทึกให้น้อง ๆ ได้อ่านกัน ขอให้มาเล่าอีกนะค่ะ บุคลากรรุ่นหลังจะได้ทราบ กว่าจะเป็น ม.อ. ณ ปัจจุบันนี้
อ่านแล้วเห็นภาพเลยค่ะ
“ผมเป็นพนักงานพิมพ์ดีด นั่งน่าซีดต้องพิมพ์ดีดทั้งวัน เหน็จเหนี่ยเหงื่อไหลเป็นมัน(ซ้ำ) พิมพ์จนมือสั่นเพื่อให้ทันเวลา”
13 กรกฎาคม 2558 18:01
#103414
ชอบจังเลยค่ะ พี่เปลือนน่าจะให้ใครช่วยอัดเสียงเพลงเอามาบันทึกไว้ด้วยเลยนะคะ ทำได้ไม่ยากค่ะ จะได้มีครบรสเลย และถ้าพอจะหารูปสมัยนั้นได้ก็จะยิ่งครบสูตรเลยทีเดียว เป็นบันทึกประวัติศาสตร์สำหรับพวกเราชาว ม.อ.ได้เลยนะคะนี่