ความเห็น: 0
ข้อมูลการอัพเกรด Microsoft Window Server [C]
จริง ๆ เนื้อหานี้ควรจะมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว เนื่องจากทางบริษัท Microsoft ได้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการหยุดการสนับสนุนระบบปฏิบัติการหลาย ๆ รุ่น เช่น Window XP ที่หมดตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2015 ซึ่งได้สร้างผลกระทบต่อผู้ใช้ทั่วโลกมากทีเดียว ส่วนอีกอัน Windows Server 2003 R2 ก็ได้หมดอายุไปแล้วเช่นกัน ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2015 ที่ผ่านมา ดังแสดงได้จากตาราง
อ้างอิง Microsoft Support Lifecycle
Microsoft มีนโยบายเรื่องการอัพเดตแพตช์ที่แบ่งเป็น 2 ระดับคือ mainstream support และ extended support
- mainstream support ช่วงแรกหลังวางขายซอฟต์แวร์ ออกแพตช์ความปลอดภัย และจะปรับแก้บั๊กหรือฟีเจอร์บางอย่างของตัวระบบปฏิบัติการถ้าจำเป็น แต่เมื่อเลยระยะเวลาที่กำหนดแล้วจะออกออกแพตช์ความปลอดภัยให้เพียงอย่างเดียว (ถ้าใครทันยุค SP1/2 จะเห็นว่ามีฟีเจอร์เปลี่ยนเยอะระหว่างรุ่น)
- extended support หลังหมดระยะ mainstream support แล้วจะออกแพตช์ความปลอดภัยให้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่เพิ่มฟีเจอร์หรือแก้บั๊กให้อีก แต่เมื่อเลยระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ถือว่าการสนับสนุนสิ้นสุด
โดยปัญหาเรื่องการอัพเกรด Windows Server 2003 มีผลกระทบกับองค์กรขนาดใหญ่จำนวนมาก มีการสำรวจพบว่ายังมีคอมพิวเตอร์ประมาณ 10 ล้านเครื่องที่ยังรัน Windows Server 2003 อยู่ โดยที่ยังไม่มีแผนการชัดเจนว่าจะย้ายระบบอย่างไร (อ้างอิง)
ซูมเข้ามาใกล้ตัวสักนิด ม.อ. ของเราเองก็ยังมีหลายหน่วยงานที่ยังรัน Window Server 2003 อยู่ ซึ่งปัญหาของ Windows Server 2003 คล้ายกับ Window XP ก็คือคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าที่อัพเกรดมาใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ได้ยาก และแอพพลิเคชันที่รันอยู่ก็เก่ามากอาจจะไม่สามารถทำงานได้เมื่อทำการอัพเกรด
แต่ในแง่ของความเสถียร และปลอดภัย การปรับเปลี่ยนระบบปฏิบัติการให้เป็นรุ่นที่สูงขึ้น ก็เป็นวิธีการที่ดีและเหมาะสมที่สุด
การอัพเกรด Window Server 2003 สามารถทำได้ง่าย ๆ และไม่ซับซ้อน สามารถทำการอัพเกรดได้อย่างรวดเร็วผ่านแผ่นหรือโปรแกรมรุ่นใหม่ เพราะมีในส่วนของการให้อัพเกรดอยู่แล้ว เพียงทำการเลือกคำสั่งไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถทำการอัพเกรดได้ทันที
รุ่นของระบบปฏิบัติการที่ออกมาถัดจาก Window Server 2003 ก็คือ Window Server 2008 ลองมาดูในส่วนของข้อมูลจากตาราง
อ้างอิง Microsoft Support Lifecycle
จากข้อมูล Extended Support End Date จะทำการ Support จนถึง 1/14/2020 นั่นแสดงว่ายังมีการออกแพตช์ความปลอดภัย ให้ใช้ได้อีกอย่างน้อย 3-4 ปี หลังจากนั้นค่อยพิจารณาวางแผนกันอีกที
ส่วนหน่วยงานใดมีกำลังและต้องการวางแผนการทำงานระยะยาว ไม่ต้องการอัพเกรดระบบบ่อย ๆ สามารถพิจารณาเรื่องของระบบปฏิบัติการที่สูงกว่านี้ได้คือ Window Server 2012
อ้างอิง Microsoft Support Lifecycle
ซึ่งจากเว็บไซต์ Microsoft Support Lifecycle ยังออกแพตช์ความปลอดภัยให้ไปจนถึงปี 2023 และในปี 2016 Microsoft กำลังจะออก Window Server 2016 ตัวเต็มออกมาให้ใช้กันแล้ว หลังจากที่ได้ปล่อยเวอร์ชั่น Windows Server 2016 Technical Preview 5 ออกมาให้ทดสอบ (อ้างอิง)
สุดท้ายหากเป็นไปได้หน่วยงานต่าง ๆ ที่ยังใช้ Window Server 2003 อยู่ควรทำการอัพเกรดระบบให้สูงขึ้นจะดีที่สุด เนื่องจากระบบที่ไม่มีการสนับสนุนจากผู้ผลิตแล้วจะมีความเสี่ยงอย่างมาก ทางเทคนิคอาจจะโดนโจมตีผ่านช่องโหว่ความปลอดภัย, ความเสี่ยงที่จะถูกจารกรรมข้อมูลซึ่งไม่ปลอดภัยต่อการให้บริการ และที่สำคัญที่สุดคือโดนคดีอาญาจากการผิดกฏหมายตามกฏหมายพรบ.คอมพิวเตอร์ ปี 2550 ได้ครับ
บันทึกอื่นๆ
- ใหม่กว่า » Microsoft Support Lifecycle ตรวจ...