ความเห็น: 18
การเก็บรักษาและการเตรียมเชื้อจุลินทรีย์อ้างอิง
Poisepoise ขอเขียนบันทึก การเพาะเลี้ยงเชื้อ จากการเตรียมเชื้ออ้างอิง Reference Culture เนื่องจากศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ก็กำลัง Set Lab วิเคราะห์เชื้อคิดว่าบันทึกนี้น่าจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการ Set Lab เนื่องจาก Poisepoise จำได้ว่า ตอนที่จะ Set Lab ด้านเชื้อ ข้อมูลบางอย่างก็หายากมาก ในอินเตอร์เน็ตก็ไม่มีให้สืบค้น กว่าจะได้มา ก็ต้องไปอบรมไปเรียนกันอยู่หลายยก
การเพาะเลี้ยงเชื้อ การเตรียมเชื้ออ้างอิงหรือ Reference Culture (เชื้อจุลินทรีย์มาตรฐานที่รับมาจากผู้จำหน่ายที่สามารถอ้างถึง ATCC ได้) ให้ได้เป็นเชื้ออ้างอิงมาตรฐาน (Reference Stock) และจาก Reference Stock ถ่าย Working Stock เชื้ออ้างอิงมาตรฐานที่พร้อมสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อการควบคุมคุณภาพในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา มีวิธีการดังต่อไปนี้


1) เมื่อได้ทำการจัดซื้อเชื้ออ้างอิงมาตรฐาน Reference Culture จากศูนย์การเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำการเก็บรักษาเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อใช้ในการศึกษา นำมาทำการตรวจสอบคุณสมบัติทางชีวเคมีและความบริสุทธิ์และถ่ายเป็น Stock เชื้ออ้างอิงมาตรฐาน (Reference Stock)
2) ทำการเก็บ Reference Stock ในตู้ฟรีส ที่อุณหภูมิ – 20 องศาเซลเซียส
3) นำ Reference Stock ถ่ายเป็น Working Stock เชื้ออ้างอิงมาตรฐาน ที่นำมาใช้งาน เก็บไว้ที่ในตู้ฟรีส ที่อุณหภูมิ – 20 องศาเซลเซียส
1) ทำการตัดหลอดด้วยที่ตัดหลอดแก้วที่บริเวณกึ่งกลางจุกสำลี
2) ใช้ผ้าหรือกระดาษที่สะอาดขั้นหลอดแก้วไว้แล้วทำการหัก
3) นำปลายปากที่เปิดแล้วไปลนไฟเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
4) นำจุกสำลีออก
5) นำอาหารเหลวNutrient broth เติมลงในหลอดด้วย pasture pipette และผสมเบาๆให้ละลาย
6) ดูดอาหารที่ผสมในข้อ 5 กลับมาใส่หลอด Nutrient broth หลอดเดิม
7) บ่มหลอดเพาะเลี้ยงเชื้อดังกล่าวในข้อ 6) ที่อุณหภูมิ 35+ 1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 + 2 ชั่วโมง
8) ทดสอบความบริสุทธิ์ของเชื้ออ้างอิงมาตรฐาน โดยเขี่ยเชื้อจากข้อ 6) มา 1 loop แล้ว streak ลงบนอาหาร Nutrient Agar นำเข้าบ่มที่อุณหภูมิ 35+ 1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 + 2 ชั่วโมง อ่านผลการทดสอบ โคโลนีที่ได้จะต้องแยกเดี่ยวๆ ลักษณะเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด กลม นูน บันทึกความบริสุทธิ์ของเชื้อจุลินทรีย์อ้างอิง
9) ทดสอบคุณสมบัติการเจริญของเชื้ออ้างอิงมาตรฐาน โดยเขี่ยเชื้อจากข้อ 6) 1 loop นำมา streak ลงบนอาหาร Selective Medium นำเข้าบ่มที่อุณหภูมิ 35+ 1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 + 2 ชั่วโมง อ่านผลการทดสอบ ลักษณะของโคโลนีที่ได้ว่ายังคงมีสีเดิมอยู่หรือไม่ ลักษณะของโคโลนีตรงตามคุณสมบัติของอาหารและเป็นไปตามคุณลักษณะของเชื้ออ้างอิงนั้นหรือไม่
ตัวอย่างเช่น

บันทึกผลการทดสอบ
10) ทดสอบการย้อมสีแกรมแบคทีเรีย โดยนำ 1 โคโลนีที่ได้จากข้อ 8) มาทำการย้อมแกรมตามวิธีการย้อมสีแบคทีเรีย(WI--)บันทึกผลการทดสอบ
11) ทำการทดสอบ Biochem Test โดยนำ 1 โคโลนีที่ได้จากข้อ 8) มาทำการทดสอบกับชุดทดสอบ API 20 E ผลการทดสอบที่ได้ คือต้องได้ 80% ขึ้นไป บันทึกผลการทดสอบ
12) นำหลอดตัวอย่างทดลองในข้อ 7) ทำการ Centrifuge ด้วยความเร็ว 3000 rpm เป็นเวลา 20 นาที
13) ดูด broth ส่วนใสเททิ้ง จะเหลือเซลล์ก้นตะกอน
14) ทำการล้างเซลล์ด้วย 0.85 % NaCl โดยผสม 0.85 % NaCl และเซลล์ก้นตะกอนให้เข้ากัน ทำการ Centrifuge ด้วยความเร็ว 3000 rpm เป็นเวลา 20 นาที เทส่วนใสทิ้ง ทำการล้างเซลล์ด้วย 0.85 % NaCl ทำซ้ำ 3 ครั้ง
15) ดูด broth ใน Vial tube ในข้อ (4) ใส่ใน Cell ก้นตะกอนที่ทำการล้างแล้ว ทำการผสมให้เข้ากันโดยใช้ Pasture pipette
16) ดูดเชื้อ ใส่กลับลงใน Vial tube ในข้อ (4) หลอดเดิม ทำการผสมให้เข้ากัน โดยใช้ Pasture pipette ดูดขึ้นดูดลงประมาณ 10-20 ครั้ง เพื่อให้ผสมเข้ากันดี
17) ดูด broth ใน Vial tube ทิ้งให้หมด ให้เหลือแต่เม็ด Bead เก็บไว้สำหรับ Reference Stock
18) นำเข้า Freezer temp ที่อุณหภูมิ -20 0 C ติดฉลากชื่อเชื้อจุลินทรีย์ วันเดือนปีที่เตรียม และผู้เตรียม เก็บไว้สำหรับเป็น Reference Stock
19) เมื่อต้องการนำมาใช้งานนำเม็ด Bead 1 เม็ด เขี่ยลงบน PCA NA หรือ TSA อย่างใดอย่างหนึ่ง บ่มเพาะเชื้อที่ 35 + 1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 + 2 ชั่วโมง
20) เขี่ยโคโลนีจาก PCA, NA หรือ TSA ลงใน TSB +20% Glycerol ใช้ pasture pipette ดูดเชื้อจากหลอด TSB +20% Glycerol ลงใน Eppendoft หรือ Micro Centrifuge ซึ่งสามารถทำเก็บไว้ได้ ที่ปริมาณตามที่เราต้องการ ตามความเหมาะสม และเพียงพอต่อการใช้งาน ต้องทำการตรวจสอบลักษณะโคโลนี ว่ายังให้ผลเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงถ้าเกิดเปลี่ยนแปลง ยกเลิกการใช้ Working Stock lot นั้น และทำการเตรียมใหม่
21) นำ Micro Centrifuge เก็บเป็น Working Stock ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส
22) เมื่อต้องการใช้งานนำ Micro Centrifuge มาตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง จนละลายแล้วใช้ Pasture Pipette ดูดทั้งหมดลงใน BHI 10 มิลลิลิตร บ่มเพาะเชื้อที่ 35 + 1 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 + 2 ชั่วโมง นำมาใช้งานได้สามารถเก็บไว้ได้ที่อุณหภูมิ 2 – 8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 7 วัน
23) ดูด 1 มิลลิลิตร ของ BHI ข้อ 22) มาทำการ Count ดูปริมาณเชื้อว่าอยู่ที่เท่าไร เพื่อดูว่ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป และเก็บเป็นข้อมูลไว้อ้างอิงว่าควรทำการเจือจางที่ระดับเท่าไรที่จะเหมาะกับการใช้งาน บันทึกผลการทดสอบที่ได้
Other Posts By This Blogger
ความเห็น
นี่ถ้าไม่บอกก่อนว่าทำงานด้านการตลาด คนอ่านจะนึกว่าพี่เป็นนักวิทยาศาสตร์เอาได้นะคะเนี่ย
เล่นมีความรู้ซะขนาดนี้
นี่แสดงว่าศูนย์เราโชคดีได้คนที่มีความรอบรู้หลายด้านมาทำงานด้วยนะคะเนีี่่่ย
![]() |
![]() |
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ค่ะ
และอยากสอบถามเพิ่มว่า อุณหภูมิในการจัดเก็บเชื้อ มีค่า บวก-ลบ หรือเปล่าคะ และ เราจะอ้างอิงข้อมูลนี้จากที่ไหนได้บ้าง คะ
![]() |
ดีมาเลยครับ อยากจะขอข้อมูลเกี่ยวกับ การทดสอบความใช้ได้ของวิธี ทางด้านจุลชีววิทยา นะครับ อย่างลัเอียดเลย พอจะมีไหมครับ และการทดสอบประสิทธิภาพอาหารเลี้ยงเชื้อตาม มาตรฐาน ISO 11133-2 :2000 ครับ ขออย่างละเอียดนะครับ ขอความหรุณา ส่งมาที่ MC_C08@hotmail.com
![]() |
ขอขอบคุณอย่างยิ่งกับข้อมูลดี ๆ ที่มีให้ หาข้อมูลนี้มานานแล้ว
![]() |
ไม่ทราบว่ามีข้อมูล การทดสอบอาหารเลี้ยงเชื้อก่อนนำไปใช้ หรือเปล่าค่ะ ถ้ามีรบกวนขอข้อมูลด้วยนะค่ะ
ขอความกรุณาส่งมาที่ jackza_037@hotmail.com
ขอบคุณมากๆๆๆค่ะ
![]() |
อยากทราบว่าเราจะหาซื้อเม็ด Bead จากไหนคับ รบกวนส่งข้อมูลมาที่ nakothons@eppcup.com นะคับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
![]() |
รบกวนอยากได้ข้อมูลโดยละเอียดคะ
พอดีไม่ได้จบมาทางด้านนี้เหมือนกัน
แล้วได้รับมอบหมายให้เขียน วิธีปฏิบัติ และฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับเชื้ออ้างอิงในห้องปฏิบัติการ 17025
รบกวน แนะนำหรือพอมีตัวอย่างบ้างมั้ยคะ
beersasi@hotmail.co.th
![]() |
รบกวนสอบถามเกี่ยวกับการเก็บเชื้อมาตรฐานโดยใช้เม็ดbeadและจะหาซื้อเม็ดbeadได้จากที่ไหนคะ
![]() |
รบกวนอยากได้ข้อมูลโดยละเอียดหน่อยนะคะ
แล้วได้รับมอบหมายให้ทำการจัดเก็บเชื้อจุลินทรีย์อ้างอิง
รบกวน ขอคำแนะนำพร้อมรายละเอียด
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
jackza_037@hotmail.com
![]() |
การเก็บและการรักษาเชื้อจุลินทรีย์อ้างอิงข้างต้น ไม่ทราบว่าใช้reference อ้างอิงคะ รบกวนหน่อยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าคะ napat.suk18@gmail.com
![]() |
อยากสอบถามว่า การเก็บ Reference Stock ในตู้ฟรีส ที่อุณหภูมิ – 20 องศาเซลเซียส สามารถเก็บได้ระยะเวลานานกี่ปีคะ
10 Febuary 2011 10:34
#63560