ความเห็น: 5
วันนี้ของดิฉัน...กับ Class การเงินและบัญชี
วันนี้ดิฉัน มีจัด Class ให้ความรู้เรื่องระเบียบการเงินและบัญชี วิทยากรคือคุณ นิโลบล แวววับศรี ผู้อำนวยการกลุ่มงานกฏหมายและระเบียบด้านค่าใช้จ่ายในการบริหาร กรมบัญชีกลาง วิทยากรบรรยายดีมากๆ ดิฉันนั่งฟังๆ เออ...มีอะไรอีกตั้งหลายอย่างที่เราไม่รู้ในเรื่องระเบียบเบิกจ่าย...
เช่น การขออนุมัติเดินทางไปราชการโดยรถส่วนตัว
ต้อง...ขออนุมัติก่อนการเดินทาง จะกลับมาขอทีหลังกระทำมิได้ ซึ่งรายการนี้ดิฉันพบเจอประจำ...วิทยากรมาบอกเอาหน้าห้องบอกพร้อมยื่นบเสร็จค่าน้ำมัน..ว่าขอเดินทางมาเป็นวิทยากรโดยรถส่วนตัว...เบิกจ่ายค่าน้ำมันให้ กม.ละ 4 บาทตามระยะทางจากที่บ้านไปยังสถานที่ปฏิบัติราชการ (ไม่รวมแวะที่อื่นนะคะ)
การขออนุมัติใช้รถส่วนตัวไปราชการ...คนที่ได้รับอนุมัติต้องขับรถเป็น จะไปใช้สามีหรือคนใกล้ตัวขับไม่ได้ค่ะ ทันทีท่านวิทยากรพูดจบ ก็มีคำถามอื้ออึงค่ะ.... อ้าว!แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเขาขับรถเป็นหรือเปล่า? .....
ผู้อนุมัติต้องรู้ค่ะ เพราะระเบียบ..ออกไว้เพื่อค่าใช้จ่ายของผู้เดินทางไปราชการไม่ได้จ่ายให้ สามีหรือภรรยาด้วย กรณีขออนุมัติเดินทางไปราชการโดยรถส่วนตัวจะขอเบิกค่าใช้จ่ายการเดินทางไปราชการเพื่อคนขับรถอีกไม่ได้...
ค่าขึ้นทางด่วน เบิกได้เฉพาะรถของทางราชการเท่านั้นหมายความว่า...รถส่วนตัวที่ใช้เดินทางไปราชการเบิกค่าทางด่วนไม่ได้ค่ะ รวมถึงรถ TAxi ก็เบิกค่าขึ้นทางด่วนไม่ได้ค่ะ....
ค่าล่วงเวลา ครึ่งชั่วโมงก็เบิกไม่ได้นะคะต้องนับได้เต็มชั่วโมงเท่านั้น มิน่าหล่ะคุณเมตตา ถึงถูกตัดแล้วตัดอีกแบบกองคลังเรียกให้ไปคืนเงิน 20 บาท 30 บาท แบบ งง งง งง ทุกที
ใกล้ตัวอีกนิด...ระเบียบฝึกอบรม
ซึ่งก็มีหลายๆท่าน เคยถามเข้ามาเหมือนกัน สำหรับดิฉันเป็นปกติเพราะเป็นระเบียบที่ใช้ประจำอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายท่านที่ไม่ได้ทำประจำทราบหลักเกณฑ์การคิดการ คิดคำนวนงบประมาณ ไว้ก็ดีนะคะ
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนวิทยากร
การบรรยาย จ่ายค่าตอบแทนวิทยากรได้ ไม่เกิน 1 คน
การอภิปราย จ่ายค่าตอบแทนวิทยากรได้ไม่เกิน 5 คน
การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ
จ่ายค่าตอบแทนได้ไม่เกินกลุ่มละ 2 คน จำนวนกลุ่มขึ้นอยู่
กับความจำเป็น ของการจัดการครั้งนั้น
หากวิทยากรในการทำจริงเกินกว่าที่กำหนดไว้ให้เฉลี่ยจ่าย
การจ่ายค่าตอบแทนวิทยากรที่เป็นข้าราชการบำนาญ
จ่ายค่าตอบแทนตามอัตราวิทยากรเอกชน ค่ะ
ระเบียบฝึกอบรม 2549 ฉบับปัจจุบัน ที่เราใช้กันอยู่นี้ไม่ได้กำหนดอัตราอาหารว่างไว้นะคะระเบียบเปิดกว้างไว้ให้อยู่ในดุลยพินิจของส่วนราชการผู้จัดเอง (อันนี้แตกต่างจากระเบียบ 2545 เดิม) แต่ทั้งนี้ทางงานฝึกอบรมก็ยังคงใช้เกณฑ์ระเบียบ 2545 อยู่เป็นกรอบปฏิบัติ คาดว่าเร็วๆนี้มหาวิทยาลัยจะออก เกณฑ์นี้ออกมาเพื่อเป็นกรอบปฏิบัติค่ะ
ยังมีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการเงินอื่นๆอีกมากมาย ทั้งนี้หลักปฏิบัติสำคัญของการใช้จ่ายเงินของทางราชการ คือใช้จ่ายอย่างประหยัดค่ะ
รอ CoP การเงินและบัญชีมาเขียนเล่า นะคะ
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « ร่วม Swot ... วง share สีชมพู
- ใหม่กว่า » ข้อมูลการใช้งาน Share.psu.ac.th
ความเห็น
ความไม่แม่นในระเบียบ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานต้องเหนื่อยเพิ่มอีกเท่าตัว
เจ้าหน้าที่การเงินคงจะลำบากใจที่จะบอกทิปแอนด์ทริค ในขณะที่ต้องรักษาจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่การเงิน
COP ของนักจัดโครงการ นักจัดอบรม ตั้งกลุ่มพูดคุยกัน น่าจะช่วยตรงนี้ได้ .. เนอะ
ขอบคุณพี่เมตตามากค่ะ ที่ได้นำมาถ่ายทอดให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
ก่อนหน้านี้ได้เข้าร่วมอบรมกับท่านวิทยากรมาเมื่อประมาณเดือนที่แล้ว ที่จังหวัดยะลาค่ะ
ประเด็น : การขออนุมัติใช้รถส่วนตัวไปราชการ...คนที่ได้รับอนุมัติต้องขับรถเป็น ตรวจสอบได้จากคนที่ขออนุมัติใช้รถส่วนตัวต้องมีใบขับขี่รถยนต์ค่ะ จะชั่วคราวหรือตลอดชีพก็ไม่เป็นไร
ระบบราชการไทยยังเน้นการตรวจสอบอยู่มากนะครับ
สงสัยเพราะมีผู้คิดต่างไปมาก หรือกลัวการเบิกจ่ายเกินความจำเป็น
ผมคิดว่าหากดูที่ความสมเหตุสมผลก็อาจช่วยให้ภาระงานน้อยลงไป ในด้านการตรวจสอบซึ่งไม่เพิ่ม productivity
ทำไม บ.จึงยอมจ่ายค่ารถแบบเหมาจ่ายให้กับ saleman ได้
ทำไมเบิกค่า taxi ทางด่วนไม่ได้ เพราะสมมติว่าเที่ยวบินเที่ยวแรกจากหาดใหญ่-กรุงเทพ ถึง 9.00 น. มีประชุม 10.00 น. หากให้เตรียมตัวมากกว่านั้น ก็ต้องไปค้างคืน เสียค่าใช้จ่ายและเวลาทำงานมากขึ้น อย่างนี้ยอมจ่ายได้ เพราะถูกระเบียบ แต่จะไม่ประหยัด
ทำไมไม่ยืดหยุ่นการบริหารบางอย่างให้แก่ผู้บริหารแต่ละองค์กรบ้าง เพื่อความเหมาะสม
เป็นคำถามที่ฝากถามไปยังผู้ที่ดูแลระเบียบการเงินด้วยครับ
01 สิงหาคม 2552 16:39
#46862
ขอบพระคุณสำหรับความรู้ใหม่ค่ะ...
มีตั้งหลายอย่างที่ยังไม่รู้..หรือรู้แล้วแต่ทำไม่ได้..
ทำงัยดีเนี่ย