ความเห็น: 0
เตรียมเป็นวิทยากรกระบวนการ (ตอนที่ 1)
จากบันทึกนี้ขอเล่าต่อเรื่องการเตรียมทำหน้าที่เป็น"กระบวนกร"สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเตรียมกระบวนการทำให้กลุ่มใครจำนวนกี่คน อันที่จริงก็คือคำถามพื้นๆ ธรรมดาที่ต้องรู้ก่อนไปเป็นวิทยากร แต่การเป็นกระบวนกรต้องเน้น เนื่องจากจะได้กะประมาณเวลาสำหรับแต่ละกิจกรรมซึ่งส่วนใหญ่ ใช้จำนวนเวลาที่ผันแปรไปตามจำนวนคนร่วมกิจกรรม
มีวัตถุประสงค์...อะไร...ทั้ง agenda หลัก และ hidden agenda อยากมีเวทีคุยกันเรื่องเทคนิคการทำงานเลขา จากพี่สู่น้อง สำหรับ hidden คือได้มาพักผ่อนในธรรมชาติ chartbat Charge batt(er)ในการทำงานให้ตัวเองประมาณว่าได้เที่ยวแล้วจะมีแรงทำงานเพิ่มขึ้นมีเวลาเท่าไรผลที่คาดว่าจะได้รับคืออะไร จึงลงมือออกแบบกิจกรรมครั้งนี้
กิจกรรมที่ 1 ขอรู้ hidden agenda โดยให้กลุ่มผู้เข้าเขียน ความคาดหวังที่มาร่วมโครงการในครั้งนี้อะไรเป็นความคาดหวังทั้งทางตรงและทางอ้อมชั่วไม่กี่นาที...ก็เก็บแผ่นกระดาษ ความคาดหวัง อาจออกแบบ
กระดาษที่ให้เขาเขียนแบบน่ารักหน่อยแล้วให้ไปติด...ในกระดาษ flipchart ที่เตรียมไว้ก็ดูมีสีสันไปอีกแบบ ก็มากองอยู่ตรงหน้า...ขอช่วยใครสักคนให้สรุปได้ว่ากลุ่มเขาต้องการอะไร น้ำหนักทิ้งไปทางไหน หากหนักไปทางเที่ยว เราก็ปรับเนื้อหาให้แผ่วหน่อยหากที้งมาทางมุ่งมั่น..เราก็เดินเรื่องเต็ม...สตรีม...งานนี้ผสมผสานครึ่งๆ
กิจกรรมที่ 2 ทำความคุ้นเคยและสังเกตุ การฟัง..จากกลุ่มนี้คุ้นเคยกันดีอยู่แล้วส่วนของการทำความคุ้นเคย ปรับรวมกับกิจกรรม ฟัง ได้เลย เริ่มที่ให้จับคู่ รอบที่ 1 จับคู่กับคนที่ตนเองรู้จักน้อยที่สุด ให้เล่าเรื่องที่ประทับใจในวัยเด็ก โดยผลัดกันเล่า คนหนึ่งเล่าอีกคนหนึ่งฟัง มีเรื่องขำๆ ค่ะ เคยมีในรายการหนึ่งดิฉันบอกโจทย์ไม่ชัดเจน
กิจกรรมเดียวกันนี้หล่ะ.....เริ่มที่ดิฉันให้โจทย์ว่าให้เล่าเรื่องที่ประทับใจในวัยเด็กให้กันฟัง....ในเวลา 4 นาที ใช้การเป่านกหวีดเป็นสัญญาณให้เริ่มเล่า
แล้วกระบวนกรคอยสังเกตการณ์ เสียงอื้ออึงกว่าปกติ เกิดอะไรขึ้น ....ปรากฏว่าหลายคู่เล่าพร้อมๆกัน
.เอ้! แล้วใครจะฟังใครกันนี่เท่านั้นเองดิฉันก็เดินลงไปใกล้ๆทางกลุ่มบอกว่าโจทย์ไม่ชัดเจนว่าให้เล่าทีละคนจึงย้ำไปว่า "ผลัดกันเล่า" ห้ามตกเด็ดขาดในการอธิบายกิจกรรมนี้
ในกิจกรรมนี้ รอบที่ 2 ให้กลุ่มจับคู่กับคนที่ตนเองรู้จักมากที่สุด เล่าเรื่องที่ประทับใจที่สุดในการทำงาน ให้แต่ละคนสังเกต อารมณ์ความรู้สึกตัวเองระหว่างเล่าเรื่องให้คนที่ไม่คุ้นเคยกับเล่าให้คนคุ้นเคยฟัง เปรียบเทียบที่ประชุมจะแยกได้เองว่ามีความรู้สึกต่าง
จับประเด็นนี้ เข้าหลักการ CoP เลยค่ะเราจะสบายใจที่จะพูดคุยกับคนที่เราคุ้นชิน เชื่อใจจนถึงไว้วางใจ
อ่านต่อบันทึกหน้าค่ะ.....
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « จรรยาบรรณของนักฝึกอบรม
- ใหม่กว่า » อาจารย์ใหม่กับการพัฒนาสมรรถนะด้า...
ร่วมแสดงความเห็นในหน้านี้