comment: 1
ว่าด้วย “ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ตามแบบฉบับองค์กร”
การจัดทำรายงานผลในแต่ละตัวบ่งชี้ ในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา มีอยู่ตัวบ่งชี้ตัวหนึ่งที่มีการกล่าวถึงค่อนข้างมาก คือ เรื่อง “การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์” ซึ่งมีผลงานเรื่องอะไรบ้างที่สามารถนำมานับได้ องค์กรที่มีผลงานหลากหลายต้องงัดกลยุทธ์ร้อยพันแปดที่จะไปขุดคุ้ย เพื่อให้ได้มาซึ่ง จำนวนผลงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
การนำไปใช้ประโยชน์อย่างไรที่จะนำมา “นับได้” กล่าวคือ หากมีการนำผลงานวิจัยไปใช้สู่ชุมชนหรือหน่วยงานภายนอก และมีการนำไปใช้ประโยชน์จริง โดยต้องเป็นหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย เท่านั้น ถือว่า นับได้ พร้อมมีการลงนาม หรือเซ็นรับรองว่า มีการนำไปใช้ประโยชน์จริง หากเป็นการนำไปใช้ภายในหน่วยงานหรือภายในมหาวิทยาลัย ถือว่า “นับไม่ได้”
เกิดแนวความคิดในการสร้างกระบวนการเพื่อติดตามผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ น่าจะมีการจัดทำให้เป็นระบบฐานข้อมูล เพื่อจะได้ทราบว่า มีผลงานอะไรบ้างที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนต่อสังคมได้อย่างแท้จริง เพื่อผลจะตกแก่บุคคลรุ่นหลัง ที่จะไปติดตามผลการดำเนินการหลังจากที่นำไปใช้ประโยชน์ เพื่อจะได้ต่อยอดใน “ผลงานวิจัย” นั้นต่อไป โดยไม่ต้องไปเริ่มต้นในงานวิจัยใหม่ ๆ ซึ่งเป็นคำกล่าวของ “ผู้บริหารนักพัฒนาท่านหนึ่ง” ที่ท่านเป็นนักพัฒนาขององค์กร
ดังนั้น การสร้างกระบวนการในเรื่อง “จำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์” เราควรจะเริ่มอย่างไร เพื่อให้เกิดแนวปฏิบัติ และมีระบบฐานข้อมูลเพื่อผลประโยชน์แก่บุคคลในอนาคต
1. การออกแบบฟอร์มในการเก็บรวบรวมข้อมูลผลงานวิจัยที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ว่า มีผลงานวิจัยเรื่องใดบ้าง
2. เก็บหลักฐานเพื่ออ้างอิง เมื่อมีการนำไปใช้ประโยชน์จริง เช่น การลงลายมือชื่อผู้ที่นำไปใช้ประโยชน์
3. นำมาจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้ภายหลัง เพื่อติดตามการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
4. อื่น ๆ ที่สามารถเก็บเป็นคลังความรู้ได้
ระบบฐานข้อมูลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน จึงเป็นเรื่องที่น่าจะลองศึกษา และนำมาจัดเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์แก่บุคคลรุ่นต่อไป ที่สามารถมาต่อยอดในผลงานวิจัยได้ง่าย ไม่ต้องไปคิดเรื่องใหม่ ๆ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างแท้จริง
และขอขอบคุณ “แนวความคิดของ ท่านผู้บริหารนักพัฒนา” เพื่อให้เห็นว่า มีประโยชน์ จึงขอนำแนวความคิดของท่านมาแบ่งปัน ณ ชานชาลาแห่งการเรียนรู้ ซึ่งในแต่ละครั้งที่นั่งร่วมประชุมกับท่าน จะพบกับแนวความคิด คิดอย่างไรให้เกิดการพัฒนาและมีความยั่งยืนค่ะ
องค์กรใด ที่มีผลงานวิจัยออกมาจำนวนมาก แต่เมื่อนำมานับประเภท "การนำไปใช้ประโยชน์" ตามเกณฑ์ที่ระบบประเมินกำหนด พบว่า มีจำนวนน้อย จุดนี้ เป็นเรื่องที่ต้องนำมาทบทวน ถึงแม้ว่า ในระยะแรกอาจจะไม่สำคัญมากเท่าที่ควร แต่ในอนาคต คาดว่า น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับบุคคลรุ่นต่อไปค่ะ.
24 Febuary 2012 17:45
#75467
จากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม คณะกรรมการได้มีข้อเสนอแนะในการนับผล
สมศ. ตัวบ่งชี้ที่ 6 ตามบันทึก ขอแค่...เข้าใจ งานวิจัยที่ใช้ประโยชน์