comment: 3
แค่ไม่อยู่นิ่ง...คุณก็อยู่รอด
เมื่อช่วงต้นเดือน Marky ได้มีโอกาสไปดูงาน"วันพระยารัษฎา บิดายางพาราไทย และวันยางพาราแห่งชาติ ประจำปี 2558” ซึ่งงานนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 เห็นชอบให้วันที่ 10 เมษายนของทุกปี เป็น "วันยางพาราแห่งชาติ” ซึ่งตรงกับวันถึงแก่อนิจกรรมของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี เพื่อเชิดชูเกียรติและรำลึกถึงพระยารัษฎาฯ”บิดาแห่งยางพาราไทย” กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง จึงจัดงาน "วันพระยารัษฎา บิดายางพาราไทย และวันยางพาราแห่งชาติ ประจำปี 2558”ขึ้น ระหว่างวันที่ 2-10 เมษายน 2558 ณ ลานเรือพระ สนามกีฬาเทศบาลนครตรัง (ทุ่งแจ้ง) ภายใต้แนวคิด "ฝ่าวิกฤติยางพารา พัฒนาอย่างยั่งยืน”
เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ประกอบอาชีพการทำสวนยาง จำนวนมากกว่าล้านครัวเรือน และประเทศไทยส่งออกยางพาราในรูปวัตถุดิบยาง ได้แก่ ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางคอมปาวด์ น้ำยางสด รวมถึงไม้ยางพาราแปรรูป ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศปีละไม่น้อย ในช่วงภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ชาวสวนยางรายย่อยจึงได้รับผลกระทบจากราคายางที่ผันผวน การจัดงานในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสที่กระทรวงเกษตรฯ และทุกภาคส่วน จะได้บูรณาการร่วมกัน เพื่อพัฒนายางพาราทั้งระบบต้นแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ประกอบกับในปี 2557/58 ชาวสวนยางไทยตลอดจนประเทศผู้ผลิตยางทั่วโลก กำลังประสบปัญหาราคายางตกต่ำ ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และแนวคิดในการประกอบอาชีพการทำสวนยาง เพื่อความอยู่รอด โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นนโยบายที่กระทรวงเกษตรฯ กำลังเร่งผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกร ให้อยู่รอดได้ด้วยความเข้มแข็งบนหลักการพึ่งพาตนเอง เพื่อให้อาชีพการทำสวนยางมีความยั่งยืน
ในยามที่เดือดร้อน รายได้น้อยลง รายจ่ายยังคงเท่าเดิม หรือมีแนวโน้วเพิ่มขึ้นจากสภาวะเศรษฐกิจ การขอความช่วยเหลือจากภาคส่วนต่างๆ คงเป็นเพียงการช่วยเหลือแบบฉาบฉวย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่พี่น้องเกษตรกรได้แค่ระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น ทำอย่างไรพวกเขาจะสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน นั้นคือการลดรายจ่าย และเสริมรายได้ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง ที่เหลือจากการกินสามารถขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ การเลี้ยงสัตว์ การทำกิจกรรมต่างบนพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่าลืมว่าชาวสวนยางทุกท่าน มีที่ดินทำกินอยู่ในมือทั้งนั้น พื้นที่ระหว่างแถวยางคือขุมทรัพย์มหาศาล แค่ลงมือทำ แค่ไม่อยู่นิ่ง ก็สามารถอยู่รอดได้ ไม่ว่าจะเกิดสภาวะผันผวนของราคายางอีกกี่รอบก็ตาม
ภาพที่เก็บมาฝากนี้เป็นเพียงบางส่วนที่สามารถหยิบยกไปใช้ในสวนยาง รวมถึงพื้นที่ว่างเปล่าข้างบ้านทั่วไปได้
เช่น
- การเลี้ยงกบ
- การเลี้ยงปลา
- การปลูกพืชผักสวนครัว
- การเลี้ยงหมู
- การเพาะเห็ด
- การเลี้ยงวัว
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « เก็บตกสาธิตจากผู้ประกอบการ: การเ...
- ใหม่กว่า » เก็บตกสาธิตจากผู้ประกอบการ:วิธีน...
28 เมษายน 2558 14:50
#102874
มีรายรับเข้าบ้าน ประหยัดรายจ่าย ดีจัง