Page Visits: 1611
comment: 2
comment: 2
ตีพิมพ์ผลงานอยู่ใน Beall’s list
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวารสารที่ใช้ตีพิมพ์ผลงานอยู่ใน Beall’s list
บทความทางวิชาการก่อนที่ท่านจะส่งไปตีพิมพ์ ท่านตรวจเช็คสำนักพิมพ์และชื่อวารสารหรือยัง ว่าไม่ได้อยู่ใน Beall’s tist
Beall’s tist คืออะไร เป็นแหล่งที่รวบรวมรายชื่อสำนักพิมพ์/วารสาร ที่นักวิจัยไม่ควรส่งบทความไปตีพิมพ์ ซึ่งมีข้อสังเกตของวารสารคือ
- เป็นวารสาร online เป็นส่วนใหญ่ อาจมีการพิมพ์เป็นเล่มบ้าง
- เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ ในราคาสูง
- มีกระบวนการพิจารณาเรื่องเพื่อตีพิมพ์ รวดเร็วทันใจ อาจมีการประเมินบทความแบบอะลุ่มอล่วยและส่งให้ปรับปรุงบ้างพอเป็นพิธี
- สำนักพิมพ์ไม่มีชื่อเสียงในวงการ
- อาจตั้งอยู่ในประเทศที่ไม่น่าเชื่อว่ามีความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขานั้นๆ (กรณีนี้ไม่จำเป็นเสมอไป หลายสำนักพิมพ์ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ยุโรปบางประเทศ)
- หลายวารสารตั้งชื่อคล้ายคลึงกับวารสารมีชื่อเสียง เช่นเติม s ไปท้ายชื่อวารสารเดิม
- ใช้ภาษาไม่ถูกต้องมากมาย (ผิดไวยากรณ์/มีคำผิด) พบทั้งใน website และเรื่องที่ตีพิมพ์ ฯลฯ
แม้จะเป็นการยากที่จะห้ามไม่ให้ตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้ แต่ถ้าท่านเลือกจะตีพิมพ์ในวารสารเหล่านี้ ท่านก็อาจพบปัญหาดังนี้
- ผลไม่เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ ทำให้เอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึง
- การขอกำหนดตำแหน่งวิชาการ
- การพิจารณาทุนวิจัย
- การพิจารณารางวัล
- การสมัครเข้ารับตำแหน่งในบางกรณี
- ฯลฯ
- ขาดโอกาสในการปรับปรุงตนเอง
- อาจตกเป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพที่หาโอกาสจากการต้องการตีพิมพ์ของนักวิจัย
http://scholarlyoa.com/2014/01/02/list-of-predatory-publishers-2014/
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สร้าง: 17 กุมภาพันธ์ 2558 09:10
แก้ไข: 17 กุมภาพันธ์ 2558 09:12
[ แจ้งไม่เหมาะสม ]
บันทึกอื่นๆ
- เก่ากว่า « กรอบวิจัย สวก.
- ใหม่กว่า » หนังสือแบไต๋ไบโอก๊าซ
comment
![]() |
เดี๋ยวนี้ มีมิจฉาชีพทางวิชาการเยอะ โดยเฉพาะวารสารที่มีค่าตีพิมพ์แพง ๆ เป็น Open Access ตีพิมพ์ง่าย เพราะมีกระบวนการพิจารณาที่แยมาก เคยได้รับการทาบทามให้พิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ จากวารสารเหล่านี้ ก็ตอบปฏิเสธไป เพราะไม่มีมาตรฐานเลย
17 กุมภาพันธ์ 2558 23:02
#102006
บทความนี้เป็นบทความที่เป็นประโยชน์มากนะครับ
"ใจสั่งมา"