ความเห็น: 16
เคาะสนิม Moodle กับงานที่จะเข้ามา
ต้องออกตัวก่อนนะครับ ว่ายังใหม่มากๆ กับการกลับมาลองเล่น Moodle อีกครั้ง เพราะเคยลองเล่นเมื่อนานมาแล้วเมื่อครั้งเรียนโทอยู่ แต่ก็แค่ลองๆ ไม่ได้นำมาใช้งานจริงๆ เลยสักครั้ง
มาวันนี้มีโจทย์ที่เข้ามาจากการทำงานจริง เลยต้องกลับมาจับๆ ต้องๆ ถูๆ ดู อีกครั้งกับเจ้า Moodle
ปัจจุบันนี้มี Moodle ออกมาหลายเวอร์ชั่นแล้ว เท่าที่ลองถามจากการคุยในที่ประชุมกลุ่มย่อย มีข้อสรุปว่าให้ลองมาลงมือเล่นที่เวอร์ชั่น 1.8 จากข้อดีในเรื่องความมีเสถียรภาพของระบบและการรองรับภาษาไทย UTF-8 ที่เป็นรหัสภาษาไทยที่กำลังเป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างมากในขณะนี้
ก็เลยเข้าเว็บไซต์ http://download.moodle.org/ เพื่อเข้าไปโหลดไฟล์มาลองใช้งานดู ตอนนี้ก็โหลดลงมาลองติดตั้งในเครื่องตัวเอง แต่ต้องติดตั้ง Appserv จำลองเครื่องเป็น server ย่อมๆ ก่อน เพื่อทดสอบระบบ
Download
9.8MB
353 today
และแล้วก็เจอปัญหาบางอย่างในการติดตั้งเวอร์ชั่น Moodel 1.8.4+ นี้ ทำให้การติดตั้ยังไม่เรียบร้อยครับ เรื่องการเปิดสิทธิ และการใช้ localhost ในการติดตั้งทำไมไม่ได้หนอ? แต่พอมาใส่ชื่อเครื่องแทน กลับลงได้ แต่ก็ยังไม่เสร็จเรียบร้อยอีก ก็เลยงง อยู่ประมาณ แต่ก็จะลองทดสอบไปเรื่อยๆ ครับ
เพื่อนๆ พี่ๆ ท่านใด ที่ขึ้นขั้นเทพ Moodle แล้ว มาเล่าแจ้งแถลงไข ในการติดตั้งเจ้า Moodel 1.8.4+ ให้เป็นความรู้ด้วยนะครับ
Other Posts By This Blogger
- Older « Microsoft Producer 2003 สร้างสื่...
- Newer » การนำเข้าคำถาม ใน LMS@PSU จากไฟล์
ความเห็น
![]() |
ขอบคุณมากครับอาจารย์พี่ Kon1Kon สำหรับคำถามครับ
Moodle คืออะไร
- ความสามารถของ moodle โดยสรุป
- เป็น Open Source ที่ได้รับการยอมรับ (13544 sites from 158 countries 2549-07-19)
ตัวนี้ฟรี : สถาบันส่วนใหญ่ตัวใครตัวมัน ซื้อบ้าง พัฒนาเองบ้าง ไม่อยู่ในวิสัยทัศน์ก็มี ในอนาคตอาจหันมาใช้ตัวนี้กันหมดก็ได้ - สามารถเป็นได้ทั้ง CMS(Course Management System) และ LMS(Learning Management System)
ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหาของผู้สอน พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา และบันทึกกิจกรรมของนักเรียน - สามารถ สร้างแหล่งข้อมูลใหม่ หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น
ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย - มี ระบบติดต่อสื่อสารระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และผู้สอน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น
นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อนเข้าเรียน ก็ได้ - มี ระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบให้คะแนนที่หลากหลาย
ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel - สำรองข้อมูลเป็น .zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืนลงไปในเครื่องใดก็ได้
อย่างของผมทำวิชาระบบปฏิบัติการ แล้วเก็บเป็น .zip เปิดให้ Download ใครจะนำไปทดสอบกู้คืนในเครื่องตนเองก็ได้ - ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ และใจกว้าง ส่งเสริมเรื่องนี้เพราะ อาจารย์ได้ทำหน้าที่ นักศึกษาได้เรียนรู้ และสถาบันได้ชื่อเสียง
อาจารย์เตรียมสอนเพียงครั้งเดียว แต่นักเรียนเข้ามาเรียนกี่รอบก็ได้ จบไปเข้าแล้วกลับมาอ่านทบทวนก็ได้
แหล่งอ้างอิง : http://www.thaiall.com/e-learning/moodle.htm#1
![]() |
ขอเพิ่มเติมอีกนิดครับ ว่าทพำไมถึงต้องมาเลือกใช้งานเจ้า Moodle นี้กันครับ
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle
- การใช้ moodle ควรมีอะไรบ้าง (Requirement)
- มี Web Browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งโดยอาจารย์ และนักศึกษา
- มี Web Server ที่ให้บริการ php และ mysql
- มี ผู้ติดตั้ง ผู้ดูแล และบำรุงรักษา ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเขียนเว็บ เพราะการติดตั้งไม่ง่ายเลย
- มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยี ดังนั้น moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือครูที่ไม่มีไฟ
- มี การเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)
- จำนวนเว็บไซต์ที่ใช้ Moodle (How popular)
ข้อมูลจาก http://moodle.org/sites/
2549-07-19 : 13544 sites in Thailand 462 sites
2547-03-18 : 1216 sites in Thailand 34 sites - ผู้เกี่ยวข้องกับ Moodle (Who are them?)
- ผู้ดูแล (Admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนดสิทธ์การเป็นผู้สอน
ผู้สอน (Teacher) : เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสาร
ผู้เรียน (Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
ผู้เยี่ยมชม (Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ในการทำกิจกรรม - แหล่งข้อมูล หรือกิจกรรม (Resource and Activities)
- SCORM (แหล่งข้อมูล ที่รวม Content จากภายนอก ที่เป็นมาตรฐาน)
- Wiki (สารานุกรม ที่ยอมให้ผู้เรียนเข้ามาแก้ไข)
- อภิธานศัพท์ (Glossary : รวมคำศัพท์ จัดหมวดหมู่ สามารถสืบค้นได้)
- ห้องสนทนา (Chat : ห้องที่สามารถนัดเวลาสนทนาระหว่างครู และนักเรียน)
- กระดานเสวนา (Forum : กระดานให้ครู และนักเรียนเข้ามาฝากความคิดเห็น)
- การบ้าน (Assignment : ที่นักเรียนพิมพ์งานแล้วนำมา upload ส่งครู)
- ห้องปฏิบัติการ (Workshop : ที่นักเรียนทำงาน แล้วส่ง ซึ่งประเมินได้หลายแบบ)
- ป้ายประกาศ (Label : แสดงข้อความ เพื่อประกาศให้ทราบ)
- แบบทดสอบ (Quiz : สร้างคลังข้อสอบ แล้วเลือกมาให้ทำบางส่วน ระบบสามารถอัตโนมัติ)
- โพลล์ (Poll : แสดงความคิดเห็นตามตัวเลือก)
- แหล่งข้อมูล (Resources : text, html, upload, weblink, webpage, program)
- กิจกรรมของผู้สอน (Teacher Activities)
- สมัครสมาชิกด้วยตนเอง และรอผู้ดูแล อนุมัติ ให้เป็นผู้สอน หรือผู้สร้างคอร์ส
- ผู้สอนสร้างคอร์ส และกำหนดลักษณะของคอร์สด้วยตนเอง
- เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสม
- ประกาศข่าวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
- สามารถสำรองข้อมูลในวิชา เก็บเป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวได้
- สามารถกู้คืนข้อมูลที่เคยสำรองไว้ หรือนำไปใช้ในเครื่องอื่น
- สามารถดาวน์โหลดคะแนนนักเรียนที่ถูกบันทึกจากการทำกิจกรรม ไปใช้ใน Excel
- กำหนดกลุ่มนักเรียน เพื่อสะดวกในการจัดการนักเรียนจำนวนมาก
- สั่งยกเลิกการเป็นสมาชิกในวิชา ของนักเรียนที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม หรือเข้าผิดวิชา
- ตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน เช่น ความถี่ในการอ่านแต่ละบท หรือคะแนนในการสอบแต่ละบท
- เพิ่มรายการนัดหมาย หรือกิจกรรม แสดงด้วยปฏิทิน
- สร้างเนื้อหาใน SCORM หรือสร้างข้อสอบแบบ GIFT แล้วนำเข้าได้
- กิจกรรมของผู้เรียน (Student Activities)
- สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเอง
- รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร และเข้าเรียนได้ทันที)
- อ่านเอกสาร หรือบทเรียน ที่ผู้สอนกำหนดให้เข้าไปศึกษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
- ฝากคำถาม หรือข้อคิดเห็น หรือนัดสนทนาระหว่างเพื่อน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น ทำแบบฝึกหัด หรือส่งการบ้าน
- แก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้
- อ่านประวัติของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุ่ม
- แว้บมาดู ตกใจหมด นึกว่ามีบันทึกแนวใหม่ สามารถเขียนบันทึกซ้อนบันทึก มีเม้นท์คั่นกลางได้ ที่ไหนได้ เป็นเม้นท์พี่ต้มนี่เอง ฮ่า ๆ ยังกะบันทึกอีกอันแน่ะ เผลอ ๆ ยาวกว่า บันทึกอีก (ฮา) (แอบแซวนิด พอเป็นพิธี ฮ่า ๆ)
- สงสัยได้เวลาเคาะสนิม moodle เช่นกัน หลังจากฝึกงานที่ศูนย์คอมฯ จบ ก็ไม่เคยได้จับ moodle อีกเลยง่ะ แย่แล้ว ฮ่า ๆๆๆ
- แซวกันจริงๆ ด้วยแฮะ น้องคนนี้นี่ อิอิ
- ก็อยากให้เนื้อหาจบในบันทึกเดียวอ่ะครับ เลยเอามาลงต่อไงละ แต่เอาไปใส่ในบันทึกดีไหมหว่า คิดก่อน.....
ผมขอสนับสนุนการใช้ด้วยอีกคนครับ ด้วยเห็นข้อดีต่าง ๆ ที่เจ้าของบันทึกได้ชี้แจงไว้แล้ว ผมได้ลองใช้มาหลายปีแล้วครับ ที่ภาควิชาก็มี server สำหรับวิชาต่าง ๆ ของภาควิชาด้วยครับ ลองแวะไปเยี่ยมดูได้ครับที่นี่ครับ
้http://www.me.psu.ac.th/moodle
แต่รู้สึกว่าจะยังเป็น version 1.4 หรือ 1.5 นะครับ ยังไม่ได้ update
ข้อดีอีกประการที่ขอเสริมคือ มี modules และ plug-ins ต่าง ๆที่มีผู้ช่วยกันพัฒนาเพิ่มเติมไว้มากเลยครับ ลองไปดูได้ที่นี้ครับ
แค่กๆๆๆ
อึมม ไม่ได้ใช้เท่าไหร่ มีแต่ลงให้เพื่อนใช้น่ะ ตอนนี้ใช้สำหรับ course เรียน online อยู่ครับ แวะไปดูได้ที่นี่ครับ
น่าจะเป็น version 1.8 ลืมๆๆ ไปแล้วครับ ว่าลงตัวไหน แบบว่าลงแล้วลืม มีพวก plugin แยะ อย่างที่ อ. วรวุธ บอกล่ะครับ มีอยู่ช่วงนึง จะเปิด course online แต่ต้องมีจัดการ เรื่อง การจ่ายเงิน ก็มีตัว plugin ของ paypal แต่ก็ไม่ได้ใช้ เพราะ ค่าลงทะเบียน มันน้อย (เทียบเป็น $) แต่ถ้าจะเขียนโปรแกรม เพิ่ม ก็ทำได้ เหมือนกันครับ สรุปว่า ถ้าจะใช้ ค่อยดำน้ำเอา แต่ละครั้ง
คิก คิก คิก
เราเอง 8-)
ที่บอกว่า มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับการใส่ชื่อ localhost นั้นไม่ทราบว่า เป็นส่วนไหนครับ อ่านแล้วยังงงๆ ถ้าเป็น
$CFG->dbhost = 'localhost';
ใน config.php ผมไม่พบปัญหาเลยนะครับ ติดตั้งผ่านฉลุยครับ
อย่าลืมขั้นตอนการติดตั้ง MySQL ให้เรียบร้อยก่อนนะครับ
ลองอ่านที่คุณวิภัทรเคยเขียนไว้ใน ทดสอบการติดตั้งโปรแกรม moodle (8-2-50) และปรับให้เข้ากับรุ่นใหม่นี้ดู น่าจะช่วยได้มากครับ
![]() |
ไม่เคยใช้ moodle มาก่อนเลยค่ะ เรียน ป.โท วิชา e-buss อาจารย์ให้เอามาปรับใช้กับวิชานี้ มีพี่แนะนำว่า moodle สามารถใช้ในงานเกี่ยวกับ km ได้ ใครมีข้อมูลเรื่องนี้ บอกกันบ้างนะคะ คิดไม่ออกค่ะ
![]() |
23 Febuary 2008 21:33
#21842
เอาไว้ทำอารายเหรอน้องต้ม ไอ้เจ้ามู้ดดี้ เอ๊ย มู้ดเดิ้ลเนี่ยนะ??
แวะมาทักเพราะคิดถึงคร๊าบ..